คุณภาพซากโคขุนพันธุ์กำแพงแสนของสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด

ผู้แต่ง

  • สมิต ยิ้มมงคล ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ฉัตรชัย จันทร์สมบูรณ์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุรชัย เปี่ยมคล้า สหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด อ.กำแพงแสน นครปฐม

คำสำคัญ:

พ่อพันธุ์โคกำแพงแสน, โคขุนพันธุ์กำแพงแสน, ลักษณะซาก, คุณภาพซาก

บทคัดย่อ

ข้อมูลซากโคขุนพันธุ์กำแพงแสนของสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด จำนวน 1,858 ซาก จากสมาชิกจำนวน 24 ราย ที่เก็บรวบรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ถึงมกราคม พ.ศ. 2562 ได้นำมาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะและคุณภาพซากของโคขุนลูกคอกที่เกิดจากโคพ่อพันธุ์กำแพงแสนซึ่งจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) โคขุน 538 ตัวจากพ่อโคที่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพการผลิต 2) โคขุน 448 ตัวจากพ่อโคของเกษตรกร และ 3) โคขุน 872 ตัวที่ไม่ทราบพันธุ์ประวัติ โคขุนที่ศึกษามีน้ำหนักซากอุ่นโดยเฉลี่ย 334.74, 328.39 และ 328.64 กก. และ มีเปอร์เซ็นต์ซากเฉลี่ย 60.98, 61.16 และ 59.60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ  จากการศึกษาพบว่าโคขุนลูกคอกที่เกิดจากพ่อโคที่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพ และจากพ่อโคของเกษตรกร มีลักษณะและคุณภาพซากที่ดีกว่าโคขุนที่ไม่ทราบพันธุ์ประวัติ และมีราคาโดยเฉลี่ยที่จำหน่ายได้สูงกว่าโคขุนที่ไม่ทราบพันธุ์ประวัติ โดยพบว่า 5 ลำดับแรก

ของพ่อพันธุ์โคของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ให้ลูกคอกที่เมื่อนำไปขุนแล้วได้คุณภาพซากดีคือ พ เพชรน้อย 4814 D4 M0207, SD 5444  D2  M1186, BF เหลี่ยม 5257  D2  M0931, BF พนัส 5203 D2  M0856 และ KU PR 44023  D3 M0679 ส่วนพ่อพันธุ์โคของเกษตรกรคือ  CC 53072, BGM 369, AN 167, MK 001 และ SAC 47011 D1 M0668 ส่วนใหญ่เป็นพ่อโคที่มีลำดับรีนาวด์ในระดับกลาง แสดงให้เห็นว่าลูกโคจากพ่อโครีนาวด์ระดับต้นถูกใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมที่ถูกปรับปรุงและพัฒนามาเพื่อใช้เป็นพ่อ – แม่พันธุ์มากกว่า จากพ่อพันธุ์โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน ที่ทราบพันธุ์ประวัติให้คุณภาพซากที่ได้รับการยอมรับ และทำกำไรให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงมากกว่าโคขุนที่ไม่ทราบพันธุ์ประวัติ

References

จุฑารัตน์ เศรษฐกุล และ ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ. 2548. คุณภาพเนื้อโคภายใต้ระบบการผลิตและการตลาด ของประเทศไทย. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ

ชัยณรงค์ คันธพนิต. 2525. การจัดการเนื้อสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

ทวีพร เรืองพริ้ม. วิสูตร ไมตรีจิตต์. สุธิษา มาเจริญ และ สมิต ยิ้มมงคล. 2563. โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน: โค ทดสอบสมรรถภาพ 9 รุ่น (2540–2560). ฟาร์มโคเนื้อและกระบือ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 256 หน้า.

สมิต ยิ้มมงคล. 2562. จากอดีตถึงปัจจุบัน – แนวทางการพัฒนาและกิจกรรมต่างๆของโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน. แฟชั่นบนตัวโค: ร้อยเรียงเรื่องราว ผ่านภาพเก่าๆ เล่าความเป็นมาจากอดีตถึงปัจจุบันของการ พัฒนาโคเนื้อในสหรัฐอเมริกา และโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 101 หน้า

สมิต ยิ้มมงคล. 2563. เนื้อโคนำเข้าจากออสเตรเลียกับการค้าเสรีทวิภาคีไทย – ออสเตรเลีย. เก็บตกจากต่าง แดน: การเลี้ยงโคเนื้อในออสเตรเลีย “จากบันทึกการเดินทาง สู่เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการ เลี้ยง การจัดการโคเนื้อและการผลิตเนื้อโค”. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 126 หน้า.

สมิต ยิ้มมงคล. 2564. การจัดทำข้อมูลรีนาวน์ของพ่อพันธุ์โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน. สมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน, อำเภอกำแพงแสน, นครปฐม.

สมิต ยิ้มมงคล, ฉัตรชัย จันทร์สมบูรณ์, วิสูตร ไมตรีจิตต์, ทวีพร เรืองพริ้ม, ใจทิพย์ ศักดิ์ธนกุล และ วัชระ นิลเพชร. 2563. การจัดทำข้อมูลรีนาวน์ของพ่อพันธุ์โคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการ จัดการ. 1 (1): 88 – 99.

สุภาพร คชบุตร. 2562. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพซากโคขุนพันธุ์กำแพงแสนของสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อ กำแพงแสน จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุภาพร คชบุตร, สมิต ยิ้มมงคล และ ฉัตรชัย จันทร์สมบูรณ์. 2563. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพซากโคขุนพันธุ์ กำแพงแสนของสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด. สัตวแพทย์มหานครสาร 15 (2): 103-112.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2547. มาตรฐานสินค้า (เนื้อโค). สำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติ. แหล่งที่มา: http://certify.dld.go.th/certify/images/laws/standard_farm/ACFS/02.pdf, 17 มกราคม 2561.

สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด. 2554. ระเบียบสหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด ว่าด้วยการเลี้ยงโคขุน พ.ศ. 2554. สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด, นครปฐม.

สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด. 2558. มาตรฐานและราคารับซ้อซากโคขุน. สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด, นครปฐม.

สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด. 2562. ฐานข้อมูลซากโคขุน. สหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด, อำเภอกำแพงแสน, นครปฐม.

Cacere, R.A.S., M.G. Morais, F.V. Alves, G.L.D. Feijo, C.C.B.F. Itavo, L.B. Oliveira and C.B. Ribeiro. 2014. Quantitative and qualitative carcass characteristics of feedlot ewes subjected to increasing levels of concentrate in the diet. Arquivo Brasileiro de Medicina Veterina/ria e Zootechnia 66: 1601-1610.

Cole. J.W., C.B. Ramsey, C.S. Hobbs and R.S. Temple. 1968. Effect of type and breed of British, Zebu and dairy cattle on production, palatability and composition. Journal of Animal Science 22: 702-719.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ