วีธีการทดสอบความงอกที่เหมาะสมของเมล็ดพันธ์ุมะละกอ

ผู้แต่ง

  • ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนพล เตชะวัฒนวรรณา ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การทดสอบความงอก, อุณหภูมิสลับ, มะละกอ

บทคัดย่อ

ปัจจบุัน ยังไม่มีวิธีทดสอบความงอกตามหลักการทดสอบความงอกสากลสําหรับเมล็ดพันธ์ุมะละกอเพื่อการซื้อขาย การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาวิธีทดสอบความงอกที่เหมาะสมของเมล็ดพันธ์ุมะละกอ โดยทําการทดลองในเมล็ดพันธ์ุมะละกอพันธ์ุปลักไม้ลาย ใช้วิธีการเพาะแบบ Between Paper (BP) และการเพาะด้วยทราย (Sand) ที่อุณหภูมิ 25 30 และอุณหภูมิสลับ (20-30)°C วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) พบว่า วิธีการเพาะด้วยทรายอุณหภูมิสลับ 20-30°C ให้ค่า%ความงอกสูงที่สุดเท่ากับ 91.00% รองลงมาคือการเพาะด้วย BP อุณหภูมิสลับ 20-30°C ทราย 30°C ทราย 25°C BP 30°C และ BP 25°C มีค่าเท่ากับ 77.50 9.50 2.50 0.50 และ 0.00% ตามลําดับ นําวิธีการที่เหมาะสมที่สุด 2 วิธีได้แก่วิธีการเพาะด้วยทราย และการเพาะแบบ BP ที่อุณหภูมิสลับ 20-30°C  มาทดสอบในมะละกอพันธ์ุแขกดํา และแขกนวล เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี t-test พบว่าการเพาะในทราย อุณหภูมิสลับ 20-30°C ให้ ค่า%ความงอกสูงกว่าการเพาะแบบ BP ที่อุณหภูมิสลับ 20-30°C ในทั้งสองพันธ์ุแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญยิ่งทางสถิติ จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ ว่าการเพาะในทรายที่อุณหภูมิ 20-30°C เป็นวิธีทดสอบความงอกที่เหมาะสมสําหรับเมล็ดพันธ์ุมะละกอ โดยสามารถตรวจนับความงอกครั้งแรก (First Count) ที่ 15 วันหลังเพาะเมล็ด และตรวจนับความงอกครั้งสุดท้าย (Final Count) ที่ 22 วันหลังเพาะเมล็ด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ