ลักษณะทางกายภาพ ปริมาณน้ำมัน โปรตีน และแอนโทไซยานินในเมล็ดถั่วพู
คำสำคัญ:
เมล็ดถั่วพู, ลักษณะทางกายภาพ, น้ำมัน, โปรตีน, แอนโทไซยานินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ ปริมาณน้ำมัน โปรตีน และแอนโทไซยานินในเมล็ดถั่วพู 14 accessions ที่เก็บรวบรวมโดย หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยประเมินลักษณะ น้ำหนักเมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต (GMD) ความเป็นทรงกลม (sphericity) รูปร่าง สี ขนาด ปริมาณโปรตีน ปริมาณไขมัน ปริมาณแอนโทไซยานิน และการศึกษาวิธีการสกัดน้ำมันในเมล็ดถั่วพู ผลการทดลอง พบว่า เมล็ดถั่วพูทั้ง 14 accessions มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกลักษณะที่ศึกษา โดยเมล็ดถั่วพูมีน้ำหนัก 100 เมล็ด อยู่ระหว่าง 30.78 - 48.85 มิลลิกรัม มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต (GMD) ของเมล็ด ระหว่าง 5.28 – 6.92 มิลลิเมตร และมีค่าความเป็นทรงกลมของเมล็ด ระหว่าง 0.78 - 0.94 เปอร์เซ็นต์ โดยเมล็ดถั่วพูที่ทำการศึกษามีรูปร่างแบบ round จำนวน 9 accessions และมีรูปร่างแบบ oval จำนวน 5 accessions และมีสีน้ำตาล น้ำตาลเข้ม น้ำตาลดำ น้ำตาลอ่อน ครีม และ ม่วงดำ ในการประเมินองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ด พบว่า ถั่วพูมีปริมาณโปรตีนในเมล็ด 31.44 – 37.63 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำมันในเมล็ด 10.37 – 14.69 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณแอนโทไซยานินที่สูงที่สุด เท่ากับ 12.73 มิลลิกรัม / 100 กรัมน้ำหนักสด และยังพบว่า การสกัดน้ำมันด้วยวิธี soxhlet extraction ทำให้สามารถสกัดน้ำมันในเมล็ดได้ 13.09 – 18.29 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าวิธี maceration extraction ที่สกัดน้ำมันจากเมล็ดถั่วพูได้ 12.64 - 14.69 เปอร์เซ็นต์
References
กมลวรรณ สุขสวัสดิ์ อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์ พิชญอร ไหมสุทธิสกุล และเหมือนหมาย อภินทนาพงศ์. 2560. ผลของวิธีการสกัดต่อคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของแป้งเมล็ดเงาะ. แก่นเกษตร 45 (3) : 479 - 486
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2558. การวิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจนและโปรตีนในอาหาร โดยวิธี Kjeldahl โดยใช้ block digest/ steam distillation/ manual titration. สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 17 หน้า
นฤมล แก้วสุทธิผล สุกัญญา แก้วพุกผา สุปราณี เชิดเกียรติกุล สมจิตร อินทรมณี และประเสริฐ เหรียญแก้ว. 2522. ผลผลิตและส่วนประกอบของโภชนาของเมล็ด เปลือกฝัก เถาและใบของถั่วพู. รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์และชีววิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 สาขาสัตว์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 - 7 กุมภาพันธ์ 2522, กรุงเทพฯ, หน้า 191 - 199
ภัทรพร ภักดีฉนวน และ ฉลอง เกิดศรี. 2556. การเก็บรวบรวมพันธุ์ และการศึกษาลักษณะประจ าพันธุ์ของถั่วพู (Psophocarpus tetragonolobus ) พันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 85 หน้า
ศจีรา คุปพิทยานันท์ ภคนิจ คุปพิทยานันท์ และอัจฉราพร แถวหมอ. 2561. ผลของน้ำมันสกัดเมล็ดถั่วพู (Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.) ต่อการป้องกันภาวะผิดปกติเนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศ. รายงานการวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. 44 หน้า
ศรีสม สุวรรณวงศ์. 2544. การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 141 หน้า.
สุธาทิพ ภมรประวัติ. 2551. บทความพิเศษถั่วพู. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.doctor.or.th/node/5672 (3 สิงหาคม 2564)
สุนันทา รามัญวงศ์ สุภัทรา มั่นสกุล และกรรณิการ์ สถาปิตานนท์. 2525. คุณลักษณะทางเคมีและกรรมวิธีการผลิตน้ำมันจากเมล็ดถั่วพู. รวมเรื่องย่อ การประชุมทางวิชาการ สาขาพืช ครั้งที่ 20 อาคารศูนย์เรียนรวม ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 - 5 กุมภาพันธ์ 2525. หน้า 121.
Abdel-Aal, E.-S.M.and P. Hucl. 1999. A rapid method for quantifying total anthocyanins in blue aleuone and purple pericarp wheats. Cereal Chemistry 76 (3): 350-354.
Adom, K.K, and R.H. Liu. 2002. Antioxidant activity of grains. Journal of Agricultural and Food Chemistry 50 (21): 6182-6187.
Allen, L.H. 2013. Legumes. Encyclopedia of Human Nutrition (Third Edition). (Online): Available source:
https://doi.org/10.1016/B978-0-12-375083-9.00170-7 (November 5, 2021)
Clemente T.E. and E.B. Cahoon. 2009. Soybean oil : Genetic approaches for modification of functionality and
total content. Plant Physiology 151 (3): 1030–1040.
Gandjar, I. 1999. Fermented foods | Fermentations of the Far East. Encyclopedia of Food Microbiology 1999 : 767 – 773. doi.org/10.1006/rwfm.1999.0625
Hu, C., J. Zawistowski, W. Ling and D.D. Kitts. 2003. Black rice (Oryza sativa L. indica) pigmented fraction suppresses both reactive oxygen species and nitric oxide in chemical and biological model systems. Journal of Agricultural and Food Chemistry 51(18): 5271-5277.
International Board for Plant Genetic Resources, 1982. Revised Winged Bean Descriptors. International Board for Plant Genetic Resources. Rome, Italy.
Moradi N., M.Rahimi, A. Moeini, and M.A. Parsamoghadam. 2018. Impact of ultrasound on oil yield and content of functional food ingredients at the oil extraction from sunflower. Separation Science and Technology 53 (2): 261-276.
Yulianah I., B. Waluyo, S. Ashari and Kuswanto. 2020. Variation in morphological traits of a selection of Indonesian winged bean accessions (Psophocarpus tetragonolobus) and its analysis to assess genetic diversity among accessions. Biodiversitas 21 (7) : 2991 – 3000.
Watada, A.E. and J.A. Abbott. 1975. Objective method of estimating anthocyanin content for determining color grade of grapes. Journal of Food Science 40: 1278-1279.