พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากองุ่นของไร่พีบี วัลเล่ย์ เขาใหญ่ไวน์เนอรี่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ตรีอักษร ภู่ห้อย ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • รพี ดอกไม้เทศ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และความต้องการในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากองุ่น และส่วนประสมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากองุ่นของผู้บริโภคไร่พีบี วัลเล่ย์ เขาใหญ่ไวน์เนอรี่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่มาเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์องุ่น ในเดือนพฤศจิกายน 2560 จำนวน 70 ตัวอย่าง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากองุ่นของไร่พีบี วัลเล่ย์ เขาใหญ่ไวน์เนอรี่ โดยมีพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์จากองุ่น ทั้งเพื่อรับประทานเอง และฝากบุคคลอื่น โดยจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ น้ำองุ่นสดแท้ 100% มากที่สุด รองลงมาคือ ไวน์ มูลค่าในการซื้อผลิตภัณฑ์จากองุ่นเฉลี่ย 638.28 บาท/ครั้ง โดยมีความต้องการให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจำหน่ายในร้านค้าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ไอศกรีมองุ่น เค้กองุ่น เยลลี่องุ่น และองุ่นดอง ในส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากแก้วมากที่สุด และมีขนาดเล็ก เนื่องจากสะดวกในการใช้งาน และยังสามารถนำภาชนะไปใช้ซ้ำได้ ประเด็นส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์  ด้านราคา ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากรับรองคุณภาพมาตรฐาน และรางวัลรับรองคุณภาพของสินค้าและบริการ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และชื่อเสียงของไร่ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2558. รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 10 ประจำปี 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล.www.tourismthailand.org//tourismawards (4 กุมภาพันธ์ 2560).

ณัฐธิดา ปัญญามากไพบูลย์ และพันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง. 2561. พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจเลือกซื้อผักสลัดของผู้บริโภคในสถานประกอบการ PB Valley KaoYai Winery อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 1(1): 37-46.

ธีรพงษ์ ขันทเจริญ อรพิน เกิดชูชื่น และณัฎฐา เลาหกุลจิตต์. 2553. ประสิทธิภาพการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดจากสกัดเปลือกและเมล็ดขององุ่นพันธ์ คาร์ดินัล. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(3/1): 617 – 619.

ผู้จัดการออนไลน์. 2553. สมาคมผู้ประกอบการไวน์ไทยชวนร่วมเทศการเก็บเกี่ยวพร้อมร่วมกิจกรรมต่างๆ ประจำปี 2553. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล. https://mrgonline.com/travel/detial/9530000005053 (4 กุมภาพันธ์ 2560).

เพ็ญวิภา ทรงบัณฑิต. 2553. คุณภาพการบริการของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในไร่องุ่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวทิยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา. 100 หน้า. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล. sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/12345678/4395/2/Fulltext.pdf. (5 กุมภาพันธ์ 2560).

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. 2553. คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. พิมพค์ร้ังที่ 1. กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ. 66 หน้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ