ความพึงพอใจและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร: กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้าน ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ความต้องการของนักท่องเที่ยว, ท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้าน
2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้าน และ 3) ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้าน กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้าน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 32 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ร้อยละ 65.62เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 29.80 ปี มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 22,209 บาท พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มากับเพื่อนด้วยรถยนต์ส่วนตัว (ร้อยละ 37.50) เดินทางในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ (ร้อยละ 59.38) วัตถุประสงค์ที่มาเที่ยว คือ เพื่อสัมผัสบรรยากาศความเป็นธรรมชาติ (ร้อยละ 62.50) ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการท่องเที่ยวประมาณ 500-1,000 บาท (ร้อยละ 34.38) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่ศูนย์การเรียนรู้สวนหลังบ้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.39) โดยนักท่องเที่ยวพึงพอใจในการให้บริการมากที่สุด ( = 4.71) รองลงมาคือ ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว ( = 4.67) การจัดกิจกรรม ( = 4.10) และด้านการเดินทาง ( = 4.07) ในขณะที่นักท่องเที่ยวมีความต้องการพื้นที่นั่งพักผ่อนมากที่สุด (ร้อยละ 90.63) รองลงมา คือ ต้องการให้มีร้านอาหารเพิ่มมากขึ้น (ร้อยละ 90.63) ต้องการป้ายบอกเส้นทางที่ชัดเจน (ร้อยละ 84.37) และต้องการกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืช (ร้อยละ 40.63)
References
เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์. 2556. ความคิดเห็นและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อความจริงแท้ในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารดำรงวิชาการ. 12 (1), 109-135.
คมพล สุวรรณกูฏ, ณิชาภา เจริญรูป และ กนกวรรณ เบญจาทิกุล. 2563. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์ในจังหวัดระยองและจันทบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17 (2), 22-31.
จรรยาลักษณ์ อินตุ้ย. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดพิษณุโลก. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ธุรกิจการเกษตร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
จีรนันท์ เขิมขันธ์. 2561. มุมมองของการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(2), 162-167.
เจษฎา นกน้อย. 2559. การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: แนวคิดและประสบการณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(2), 157-169.
ชัยฤทธิ์ ทองรอด. 2561. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ล่องเรือชมสวน เลียบคลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 115-131.
พงศ์กฤต นันทนากรณ์ และ อธิป จันทร์สุริย์. 2564. พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยว เชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 8(1), 102-112.
พิมพา หิรัญกิตติ, อุดม สายะพันธุ์, เกยูร ใยบัวกลิ่น, สุพรรณี อินทร์แก้ว และ สมชาย หิรัญกิตติ. 2557. พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์. 28 (88), 362-384.
เพียงใจ คงพันธ์ และ ภัทราวรรณ วังบุญคง. 2564. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเขาศูนย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 12 (1), 15-29.
สมชาย ไชยมูลวงศ์ สายสกุล ฟองมูล นคเรศ รังควัต และ พหล ศักดิ์คะทัศน์. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาหมู่บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 37(3), 71-78.
สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2541. การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.