การขยายพันธุ์และเพิ่มปริมาณสารเทอร์พีนอยด์รวมในจิงจูฉ่ายด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ผู้แต่ง

  • ประกาย อ่อนวิมล สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร

คำสำคัญ:

จิงจูฉ่าย, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, สารเทอร์พีนอยด์รวม, 6-เบนซิลอะมิโนพิวรีน, ซาลิไซลิก แอซิด

บทคัดย่อ

การขยายพันธุ์และการเพิ่มปริมาณสารสำคัญในพืชสมุนไพรด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถผลิตพืชสมุนไพรปลอดสารเคมีที่มีสารสำคัญอย่างสม่ำเสมอและปริมาณมากเพียงพอสำหรับรองรับการผลิต       ในระดับอุตสาหกรรมยาในอนาคตได้ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงต้น           จิงจูฉ่ายและเพิ่มศักยภาพการผลิตสารเทอร์พีนอยด์รวม โดยใช้สิ่งกระตุ้นในสภาพปลอดเชื้อ รวมทั้งการศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการชักนำให้ข้อและยอดจิงจูฉ่ายเกิดยอดจำนวนมาก โดยนำเนื้อเยื่อส่วนข้อและยอดไปเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0, 1, 2, 4, 6 และ 12 mg/l เป็นเวลา 4  สัปดาห์ พบว่า ข้อที่เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต สามารถชักนำให้เกิดยอดเฉลี่ย 12. 2 ยอด ต่อ 1 ข้อ ซึ่งให้ผลไปในทางเดียวกันกับยอด ที่สามารถชักนำให้เกิดยอดเฉลี่ย 11.6 ยอดต่อ 1 ยอด  การย้ายต้นจิงจูฉ่ายที่มีลักษณะต้นและรากสมบูรณ์ โดยนำมาปรับสภาพที่อุณหภูมิห้องก่อนย้ายออกปลูกเป็นเวลาที่แตกต่างกัน คือ 3, 5, 7  และ 10 วัน พบว่า ต้นจิงจูฉ่ายอายุ 1 เดือน มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเท่ากับ 100% ในทุกระยะเวลาการปรับสภาพ หลังจากนั้นเมื่อนำต้นจิงจูฉ่ายที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออายุ 3 เดือนซึ่งมีต้นและรากสมบูรณ์มาเลี้ยงในอาหารเหลวที่เติมสิ่งกระตุ้นคือกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ที่มีความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5, 1.0, 3.0 และ 5.0 mM (ปัจจัยหลัก) แล้วนำไปเพาะเลี้ยงเป็นเวลานาน 1, 3 และ 5 วัน (ปัจจัยรอง) จึงนำไปวิเคราะห์ปริมาณสารเทอร์พีนอยด์รวม ด้วยเครื่อง Spectrophotometer พบว่า การกระตุ้นด้วย กรดซาลิไซลิก ที่ความเข้มข้น 0.1 mM เป็นเวลานาน 1 วัน มีประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณสารเทอร์พีนอยด์รวม (total terpenoid) มากที่สุด (23.05 mg/100g) คิดเป็น 1.1 เท่าของต้นจิงจูฉ่ายที่ปลูกในสภาพธรรมชาติ

References

ยงศักดิ์ ขจรผดุงกิตติ และอัญชลี จาละ. 2557. อิทธิพลของ BA และ NAA ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนยอดต้นพรมมิ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. Thai Journal of Science and Technology 3(1): 7–14.

ศศิวิมล จันทร์สุเทพ. 2553. การผลิตสาร plumbagin จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ hairy root ของ เจตมูลเพลิงแดง (Plumbago indica Linn.) ในฟลาสก์และถังปฏิกรณ์ชีวภาพ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กทม. 114 หน้า

Bown, D. 1995. Encyclopaedia of Herbs and Their Uses. Dorling Kindersley, London. 424 p.

Chang, C.L., C. S. Lin and G. H. Lai. 2012. Phytochemical characteristics, free radical scavenging activities, and neuroprotection of five medicinal plant extracts. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. Volume 2012, Article ID 984295, 8 pages.

Jeong, G.T., and D.H. Park. 2005. Comparative evaluation of modified bioreactors for enhancement of growth and secondary metabolite biosynthesis using Panax ginseng hairy roots. Biotechnology and Bioprocess Engineering. 10: 528-534.

Jing, Z. W., Z. S. Ying and Y. Y. Yi. 2011. Analysis of chemical components of volatile oil from Artemisia lactiflora Wall in north Guizhou province of China. Medicinal Plant 2 (6): 59 -61.

Malarz, J., A. Stojakowska and W. Kisiel. 2007. Effect of methyl jasmonate and salicylic acid on sesquiterpene lactone accumulation in hairy roots of Chichorium intybus. Acta Physiologia Plantarum 29: 127-132.

Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue culture. Physiologia Plantarum 15: 473 – 479.

Worarakkulwong, T. and S. Wongsawadwech. 2012. Antiproliferation and antioxidation activities of Artemisia vulgaris var. indica. BS Thesis, Mahidol University, Bangkok. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ