ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยวิตามินซีและไคโตซานต่อความสามารถในการเก็บรักษา เมล็ดพันธุ์ทานตะวัน

ผู้แต่ง

  • ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มัณฑนา ปานศรีทอง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กรดแอสคอร์บิก, ไคติน, การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

บทคัดย่อ

เมล็ดพันธุ์ทานตะวันมีปริมาณไขมันที่เป็นอาหารสะสมในเมล็ดสูง ทำให้เกิดการเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว จึงศึกษาผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ทานตะวันพันธุ์แปซิฟิกด้วย polymer (Flare-2, Centor Thai) ร่วมกับวิตามินซีและไคโตซาน ที่ความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม) 2 4 และ 6 ppm ปริมาตร 120 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 100 กรัม เก็บรักษาในถุงพลาสติกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส พบว่า ความงอกของเมล็ดพันธุ์ทานตะวันในทุกทรีทเมนต์หลังจากเก็บรักษาเป็นเวลา 4 เดือน มีค่าไม่แตกต่างกันและไม่แตกต่างจากความงอกเริ่มต้น แต่ในเดือนที่ 5 และ 6 ชุดควบคุมมีความงอกลดลง คือ 76 % ต่ำกว่าการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยวิตามินซีและไคโตซานทุกระดับความเข้มข้น ที่มีความงอก 87-95 % ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์มีค่าลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่นานขึ้น ส่วนดัชนีความงอก การเจริญเติบโตของต้นกล้าในส่วนยอดและราก ในทุกทรีทเมนต์มีค่าลดลงตามระยะเวลาในการเก็บรักษาที่นานขึ้น จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า การเคลือบเมล็ดพันธุ์ทานตะวันด้วย polymer ร่วมกับวิตามินซีและไคโตซาน ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ทานตะวันไว้ได้นาน 6 เดือน โดยความงอก มีค่าไม่แตกต่างจากค่าเริ่มต้นและสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ทานตะวันในชุดควบคุม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ