ธาตุอาหารในใบ เนื้อและเปลือกทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในชุดดินคลองซาก

ผู้แต่ง

  • วิภาวรรณ ท้ายเมือง ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จิรวัฒน์ บุญจันทร์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ษมาภร สิงหพันธุ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ทุเรียน, ความเข้มข้นธาตุอาหาร, ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

บทคัดย่อ

ศึกษาปริมาณธาตุอาหารในใบ เนื้อ และเปลือกทุเรียน ที่ปลูกในชุดดินคลอกซาก อำเภอเมือง จังหวัดตราด ต้นทุเรียนอายุ 4 ปี รัศมีทรงพุ่ม 5 ม. ใส่ปุ๋ยอัตรา 5 กก. N/ต้น/ปี 1.2 กก. P2O5/ต้น/ปี 5 กก. K2O/ต้น/ปี 1.5 กก. CaO/ต้น/ปี 2.5 กก. MgO/ต้น/ปี และ 1.3 กก.S/ต้น/ปี สุ่มเก็บตัวอย่างดินและใบ 6 สัปดาห์หลังติดผล และสุ่มเก็บผลผลิตทุเรียนต้นละ 1 ลูก จำนวน 7 ต้น พบว่า ธาตุอาหารในดินอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงมาก ธาตุอาหารเสริมอยู่ในระดับต่ำมากถึงสูง ผลทุเรียนมีขนาด 1.69-2.17 กก./ผล น้ำหนักเนื้อ 0.48-0.77 กก./ผล น้ำหนักแห้ง >35% และความหวาน 22.5-29.5%brix ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส ในใบอยู่ในระดับที่เพียงพอ แต่แคลเซียม ทองแดง และสังกะสีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์  ส่วนในเนื้อทุเรียนสดจะพบไนโตรเจนและโพแทสเซียมในปริมาณสูงกว่าธาตุอื่น และในเปลือกทุเรียนจะมีธาตุโพแทสเซียมสูง และความหวานทุเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณแคลเซียมในใบ ส่วนความหนาเปลือกทุเรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณฟอสฟอรัสและกำมะถันในใบ แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับแคลเซียม

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการลำดับที่ 001/2553, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ

กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน. 2559. รายงานการสำรวจดินเพื่อการเกษตรจังหวัดตราด มาตรส่วน 1:25,000. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการ การวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 108 หน้า

แผนที่แสดงปริมาณฝนสะสม (มิลลิเมตร) ของประเทศไทย. 2562. กรมอุตุนิยมวิทยา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://climate.tmd.go.th/gge/gge/accumrain_sum_th.png (1 ธันวาคม 2562).

มาตรฐานสินค้าเกษตร 3. 2546. ทุเรียน. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. กรุงเทพฯ 19 หน้า

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6. 2564. ข่าวเศรษฐกิจการเกษตร(แยกเป็นรายเดือน) เดือนมิถุนายน.(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://oaezone.oae.go.th/view/15/index/TH-TH (14 ตุลาคม 2564).

สำนักเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. สถิติการส่งออกทุเรียนสด ตั้งแต่มี 2560 ถึง 2564.(ระบบวารสารออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2560&E_YEAR=2564&PRODUCT_GROUP=5252&PRODUCT_ID=4977&wf_search=&WF_SEARCH=Y#export (14 ตลคม 2564).

สุพัฒน์ ทองแก้ว, พัฒนา สุขประเสริฐ, และเฉลิมพล จตุพร. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนในภาคตะวันออกของประเทศไทย: กรณีศึกษาผู้บริโภค. แก่นเกษตร 45 (4): 593-600.

Bray R.H. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science 59: 39-45.

Jones Jr., J.B. 2001. Laboratory Guide for Conducting Soil tests and Plant Analysis. Boca Raton, Fla. CRC Press, 384 p.

Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Dept. of Land Development, Min. of Agri. and Coop., Bangkok.

Loeppert, R.H. and W.P. Inskeep. 1996. Iron. p.639-664. In D.L. Sparks, A.L. Page, R.H. Helmke, R.H. Leoppert, P.N. Soltanpour, M.A. Tabatabai, C.T. Johnston and M.E. Sumner (eds). Method of Soil Analysis. Part 3: Chemical Methods. Soil Science Society of America, Inc. U.S.A.

Poovarodom, S., N. Tawinteung. and P. Ketsayom. 2002. Development of leaf nutrient concentration standards for durian. Acta Horticulturae 594: 399-404.

Thomas, G.W. 1982. Exchangeable cations, pp. 159-165. In A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney, eds. Methods of Soil Analysis: Part 2 Chemical and Microbiological Properties, 2nd eds. American Society of Agronomy–Soil Science Society of America, Madison, USA.

Walkley, A. and I.A. Black. 1934. An examination of the Degtjareff method, for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science 37: 29–38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ