การวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและการก่อให้เกิดโรคเน่าแห้ง- เน่าดำมันสำปะหลังที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium solani และ Neoscytalidium hyalinum

ผู้แต่ง

  • พรปวีณ์ ธิวัฒน์วรานิกุล ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ภาณุวัฒน์ มูลจันทะ ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง จังหวัดระยอง
  • วรรณวิไล อินทนู ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน
  • จินตนา อันอาตม์งาม ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

โรคเน่าแห้ง, โรคเน่าดำ, Fusarium solani, Neoscytalidium hyalinum, ISSR

บทคัดย่อ

โรคเน่าแห้งและเน่าดำเป็นเป็นปัญหาหลักต่อการผลิตมันสำปะหลังของประเทศไทย โรคนี้เกิดจากเชื้อราสาเหตุ       2 สกุล ได้แก่  Fusarium sp.และ Neoscytalidium sp. ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างมันสำปะหลังที่เป็นโรคเน่าแห้งและเน่าดำจากแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญในจังหวัดระยองและจังหวัดตากนำมาแยกเชื้อด้วยวิธี Tissue transplanting method จากการศึกษาด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา จำแนกเชื้อราได้ 2 ชนิด ได้แก่ F. solani และ N. hyalinum การวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของเชื้อรา F. solani และ N. hyalinum ด้วยเครื่องหมาย ISSR โดยใช้ไพรเมอร์ P3: GTG(CGA)5, P4: GCG(CGA)5, P5: AAT(CGA)5 ,P6: ATC(CGA)5, (GTG)5, (CGA)5 และ (CAG)5 พบว่า เชื้อราทั้งสองชนิดนี้ความหลากหลายทางพันธุกรรมในแต่ละแหล่งของเชื้อรา อย่างไรก็ตามในบางไอโซเลตของเชื้อราทั้ง 2 ชนิดพบว่ามีความเหมือนกันแม้จะเป็นตัวอย่างที่มาจากพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน  จากนั้นนำเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ จำนวน 4 ไอโซเลต ได้แก่ RYG2, TAK14, RYG5, TAK19 ไปทดสอบการก่อเกิดโรคกับพันธุ์มันสำปะหลังจำนวน 13 พันธุ์ พบว่า พันธุ์ระยอง72 มีเปอร์เซ็นต์ดัชนีการเกิดโรคต่ำสุดเมื่อปลูกเชื้อราทั้ง 4 ไอโซเลต และพบว่ามีความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันเมื่อปลูกเชื้อราไอโซเลตต่างๆ บนพันธุ์ทดสอบโรค ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างหรือความหลากหลายทางพันธุกรรมในเชื้อรา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ