การประเมินคุณภาพผลและสารเบต้าแคโรทีนในประชากรฟักทอง F3-Pach และ F4-Paka ที่พัฒนามาจากฟักทองพันธุ์พื้นเมือง
คำสำคัญ:
ปรับปรุงประชากร, เบต้าแคโรทีน, เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง, ของแข็งที่ละลายน้ำได้, พันธุ์พื้นเมืองบทคัดย่อ
ประเมินประชากรฟักทองชั่วที่ 3 และ 4 จำนวน 17 ประชากร ที่ได้รับการปรับปรุงประชากรมาจากฟักทองพันธุ์พื้นเมือง เพื่อพัฒนาคุณภาพผลและเพิ่มปริมาณสารเบต้าแคโรทีน เปรียบเทียบกับฟักทองพันธุ์พื้นเมือง 1 สายพันธุ์ และพันธุ์การค้า 1 สายพันธุ์ ประชากรฟักทองที่ได้รับการปรับปรุง มีความหลากหลายของลักษณะคุณภาพผลผลิต มีเนื้อ สีเหลือง เหลืองส้ม และส้มเหลือง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.98-14.73 องศาบริกซ์ เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง 6.75-21.28 เปอร์เซ็นต์ ความแน่นเนื้อ 0.85-2.86 kg/cm2 และปริมาณสารเบต้าแคโรทีน 0.129-1.330 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด จากการวิเคราะห์ Principal component analysis ใช้ลักษณะของคุณภาพผลผลิต 10 ลักษณะ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ฟักทองกลุ่มที่มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูง (> 0.7 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด) ได้จำนวน 44 สายพันธุ์ จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ฟักทองพันธุ์พื้นเมืองสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงประชากร เพื่อสร้างความหลากหลายและปรับปรุงคุณภาพผลผลิตฟักทองให้แตกต่างจากพันธุ์การค้าได้ รวมถึงได้คัดเลือกฟักทองที่มีศักยภาพนำมาพัฒนาเป็นฟักทองสายพันธุ์ใหม่ต่อไป
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2562. รายงานสถานการณ์การเพาะปลูกฟักทอง. 2561. แหล่งที่มา: http://production.doae.go.th/, 2 มีนาคม 2565.
ชเนษฎ์ ม้าลำพอง. 2562. หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 342 หน้า.
นิติกร อินทวารี, กมล เลิศรัตน์ และพลัง สุริหาร. 2557. การตอบสนองต่อการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์จำนวน 3 รอบเพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองในประชากรแตงกวา. แก่นเกษตร 42(4): 473-480.
ปณาลี ภู่วรกุลชัย. 2555. การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฟักทองพันธุ์ผสมเปิดด้วย SRAP marker. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ประกาศิต ดวงพาเพ็ง, พลัง สุริหาร และกมล เลิศรัตน์. 2558. การตอบสนองต่อการคัดเลือก 2 วิธีของลักษณะเมล็ดในประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง. แก่นเกษตร 43(4): 635-642.
ภูวไนย ไชยชุมภู. 2562. การเปรียบเทียบพันธุ์ฟักทองลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 ที่เหมาะสมต่อการแปรรูปและการประเมินคุณภาพผลในสองฤดูกาล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพมหานคร. 83 หน้า.
อัญมณี อาวุชานนท์ และปณาลี ภู่วรกุลชัย. 2559. การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฟักทอง 29 สายพันธุ์ ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ AFLP. แก่นเกษตร 44 (2): 237-246.
อัญมณี อาวุชานนท์, พจนา สีมันตรา, บุพผา คงสมัย และธนัฐฐา พันธุ์เปรม. 2556. คุณภาพที่สำคัญบางประการของผลฟักทอง 12 สายพันธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43(3): 117-120.
อุทิศ สุภาพ. 2555. การใช้เทคสิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีในการหาปริมาณสารเบต้าแคโรทีนเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ฟักทอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, กรุงเทพมหานคร. 108 หน้า
Harvey, W. J., G, D. Grant and J. P. Lammerink. 1997. Physical and sensory changes during the development and storage of buttercup squash. New Zealand Journal of Crop and Horticultural Science 25: 341-351.
Tanumihardjo, S. 2013. Carotenoids: Health effects. Encyclopedia of Human Nutrition 1: 292-297.
Nagata, M. and I, Yamashita. 1992. Simple method for simultaneous determination of chlorophyll and carotenoids in tomato fruit. Journal of the Japanese Society for Food Industry 39: 925-928.