ผลของวัสดุเพาะต่อการผลิตต้นอ่อนถั่วลันเตา
คำสำคัญ:
วัสดุเพาะ, ต้นอ่อนถั่วลันเตา, ไมโครกรีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุเพาะต่อการผลิตต้นอ่อนถั่วลันเตา วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 7 ทรีทเมนต์ คือ 1) พีทมอส 2) ขุยมะพร้าว 3) แกลบดำ 4) ดิน : แกลบดำ (1 : 1) 5) ขุยมะพร้าว : แกลบดำ (1 : 1) 6) ขุยมะพร้าว : แกลบดำ : ดิน (1 : 1 : 1) และ 7) ขุยมะพร้าว : แกลบดำ : ทราย (1 : 1 : 1) ดำเนินการวิจัยเดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ ศูนย์เรียนรู้การผลิตไมโครกรีน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผลการวิจัย พบว่าการเก็บเกี่ยวครั้งที่ 1 เมล็ดถั่วลันเตาที่เพาะในวัสดุเพาะดิน : แกลบดำ (1 : 1) ดีที่สุด โดยมีอัตราการงอก 4.00 วัน เปอร์เซ็นต์การงอก 92.00 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีความเร็วในการงอก 23.20 ความสูงของต้นอ่อน 9.95 เซนติเมตร และน้ำหนักสด 32.88 กรัม ส่วนการเก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 เมล็ดถั่วลันเตาที่เพาะในวัสดุเพาะขุยมะพร้าว : แกลบดำ : ทราย (1 : 1 : 1) ดีที่สุด ซึ่งอัตราการงอก 4.00 วัน เปอร์เซ็นต์การงอก 98.25 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีความเร็วในการงอก 19.65 ความสูงของต้นอ่อน 8.94 เซนติเมตร และน้ำหนักสด 17.56 กรัม
References
เจนจิรา ชุมภูคำ และสิริกาญจนา ตาแก้ว. 2559. ผลของวัสดุปลูกต่อการงอกของเมล็ด การรอดชีวิต และการเจริญเติบโต
ของต้นกล้ามัลเบอร์รี่พันธุ์เวียดนาม GQ2. Thai Journal of Science and Technology 5 (3): 283-295.
ดวงเดือน คุณยศยิ่ง, สตีเฟน เอลเลียต และประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์. 2553. การกระตุ้นการงอกของเมล็ดต้นไม้หายากบางชนิดเพื่อฟื้นฟูป่าไม้ในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 15 (10): 951-964.
พรประพา คงตระกูล, พรรณิภา ยั่วยล และศิริขวัญ สุดวัดแก้ว. 2558. ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Trichoderma harzianum ต่อการผลิตผักกลุ่มไมโครกรีน. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, ชุมพร. 65 หน้า.
รัชนี นิธากร, อนุรักษ์ กังขอนนอก, ศศิธร เมธาวิวัฒน์ และสุจิตรา เที่ยงสันเทียะ. 2557. การศึกษาวัสดุเพาะ
ที่เหมาะสมต่อการเพาะต้นอ่อนข้าวสาลีพันธุ์ฝาง 60 เพื่อผลิตน้ำคั้น. หน้า 469-480 ใน: การประชุมทาง
วิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กำแพงเพชร, กำแพงเพชร.
รณรงค์ อยู่เกตุ, ภัทรพล บุตรฉิ้ว และวิไลลักษณ์ ชินะจิตร. 2557. ผลของวัสดุปลูกเพาะกล้า และการแช่เมล็ดพันธุ์ที่มีต่อ
การผลิตทานตะวันงอก. แก่นเกษตร 42(3): 926-930.
วัลลภ สันติประชา. 2524. เมล็ดพันธุ์ดี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 218 หน้า.
เอกรินทร์ สารีพัว, ปริญดา แข็งขัน และชยพร แอคะรัจน์. 2561. ผลของพันธุ์และวัสดุเพาะต่อการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตในการผลิตต้นอ่อนผักบุ้ง. แก่นเกษตร 46(3): 543-548.
Di Gioia, F., P. De Bellis, C. Mininni, P. Santamaria and F. Serio. 2016. Physicochemical, agronomical and
microbiological evaluation of alternative growing media for the production of rapini (Brassica Rapa
L.) microgreens. Journal of the Science of Food and Agriculture 97: 1212–1219.