ผลของการใช้น้ำมันปาล์มดิบและถั่วเหลืองไขมันเต็มเป็นแหล่งไขมันในอาหารผสมครบส่วนที่มีต้นข้าวโพดฝักอ่อนหรือหญ้าเนเปียร์หมักเป็นแหล่งของอาหารหยาบต่อการหมักย่อยในกระเพาะรูเมน สมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และต้นทุนการผลิตโคนมเพศผู้ตอน
คำสำคัญ:
ถั่วเหลืองไขมันเต็ม, น้ำมันปาล์มดิบ, หญ้าเนเปียร์หมัก, ต้นข้าวโพดฝักอ่อนหมัก, โคนมเพศผู้บทคัดย่อ
การศึกษาผลของน้ำมันปาล์มดิบหรือถั่วเหลืองไขมันเต็มเป็นแหล่งไขมันในอาหารผสมครบส่วน (TMR) ร่วมกับต้นข้าวโพดฝักอ่อนหมักหรือหญ้าเนเปียร์หมักเป็นแหล่งของอาหารหยาบต่อการหมักย่อยในกระเพาะรูเมน สมรรถภาพการขุน ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และต้นทุนในการขุนโคนมเพศผู้ตอน ใช้โคลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชียน (>75 เปอร์เซ็นต์ โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน) จำนวน 40 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 510.00 ± 39.00 กิโลกรัม ทำการเลี้ยงขุนโคเป็นเวลา 5 เดือน โคได้รับอาหารผสมครบส่วนที่มีสัดส่วนของอาหารข้นร่วมกับอาหารหยาบ ในสัดส่วน 85:15 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วยอาหารทดลอง 4 กลุ่ม คือ 1) อาหารผสมครบส่วนที่มีถั่วเหลืองไขมันเต็มเป็นแหล่งไขมันและต้นข้าวโพดฝักอ่อนหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ (FSBCS) 2) อาหารผสมครบส่วนที่มีถั่วเหลืองไขมันเต็มเป็นแหล่งไขมันและหญ้าเนเปียร์หมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ (FSNS) 3) อาหารผสมครบส่วนที่มีน้ำมันปาล์มดิบเป็นแหล่งไขมันและต้นข้าวโพดฝักอ่อนหมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ (POBCS) และ 4) อาหารผสมครบส่วนที่มีน้ำมันปาล์มดิบเป็นแหล่งไขมันและหญ้าเนเปียร์หมักเป็นแหล่งอาหารหยาบ (PONS) จากการทดลองพบว่า น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันของโคที่ได้รับอาหาร FSBCS มีแนวโน้มสูงกว่าโคที่ได้รับอาหารกลุ่มอื่น (P=0.05) โคที่ได้รับอาหาร FSBCS และ POBCS มีความหนาของไขมันสันหลังมากกว่าโคกลุ่ม FSNS และ PONS (P<0.01) อย่างไรก็ตามโคที่ได้รับอาหาร FSBCS ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่าโคที่ได้รับอาหาร FSNS, POBCS และ PONS ตามลำดับ
References
ไกรลาศ เขียวทอง. 2556. คู่มือการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ นครราชสีมา, นครราชสีมา. 24 หน้า.
จุฑารัตน์ เศรษฐกุล และ ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ. 2548. คุณภาพเนื้อภายใต้ระบบการผลิตและการตลาดของประเทศไทย. บริษัท สุพีเรียพรินติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพมหานคร. 84 หน้า.
ชยพล มีพร้อม. 2556. ผลของการเสริมน้ำมันที่มีองค์ประกอบของกรดไขมันโอลิอิค (Oleic acid) อยู่สูงต่อผลผลิตโคเนื้อ คุณภาพซาก และคุณภาพเนื้อของโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 121 หน้า
ชุติพงศ์ เนตรพระ. 2556. ผลของการใช้หญ้าขนและต้นข้าวโพดสับเป็นแหล่งอาหารหยาบต่อต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซากและต้นทุนการผลิตโคอินทรีย์ในระยะสุดท้าย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 95 หน้า.
เทอดชัย เวียรศิลป์. 2548. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด, เชียงใหม่. 357 หน้า.
นพรัตน์ เหรีญทอง, สุริยะ สะวานนท์, ภูมพงศ์ บุญแสน, พีรชิต ไชยหาญ, ธีราภรณ์ ปัญญาบุญ, ปรีชา อินนุรักษ์ และ วรเทพ
ชมพูนิตย์. 2553. การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนที่ได้รับอาหารรูปแบบแตกต่างกัน. หน้า 69–76. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. กรุงเทพมหานคร.
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2546. ชีวเคมีทางสัตวศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. ธนบรรณการพิมพ์, เชียงใหม่. 202 หน้า.
พีรชิต ไชยหาญ. 2553. อิทธิพลของรูปร่างลักษณะภายนอก ระดับไขมันในอาหาร และระยะเวลาในการขุนต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และต้นทุนการผลิตของโคเนื้อลูกผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นครปฐม. 90 หน้า.
เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. ฟันนี่ พับบลิชซิ่ง, กรุงเทพมหานคร. 473 หน้า.
ศุภลักษณ์ พิศแก้ว, ภูมพงศ์ บุญแสน, คงปฐม กาญจนเสริม, ทวีพร เรืองพริ้ม และสุริยะ สะวานนท์. 2559. สมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพเนื้อโคนมเพศผู้ขุนที่ได้รับอาหารที่แตกต่างกัน. แก่นเกษตร 44 พิเศษ 2: 145–152.
สุกัญญา จัตตุพรพงษ์. 2539. การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบอาหารสัตว์. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 194 หน้า.
สุริยะ สะวานนท์ และพีรชิต ไชยหาญ. 2554. ผลของรูปร่างลักษณะภายนอก ระดับไขมันในสูตรอาหาร และระยะเวลาในการขุนต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของโคเนื้อลูกผสม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 22(3): 235–244.
สุริยะ สะวานนท์. 2551. จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 249 หน้า.
สุริยะ สะวานนท์. 2561. จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน และการใช้ประโยชน์. โครงการเพิ่มศาสตราจารย์แบบก้าวกระโดด กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 290 หน้า.
AOAC International. 2016. Official Methods of Analysis of AOAC International. 20th ed. Assoc. Off. Anal. Chem., Rockville, MD, USA.
AOAC International. 2019. Official Methods of Analysis, Association of Official Analysis Chemists. AOAC International Gaithersburg, MD, USA.
Cacere, R. A. S., M. G. Morais, F. V. Alves, G. L. D. Feijo, C. C. B. F. Itavo, L. C. V. Itavo, L. B. O’liveira and C. B. Ribeiro. 2014. Quantitative and qualitative carcass characteristics of feedlot ewes subjected to increasing levels of concentrate in the diet. Arquivo Brasileiro de Medicina Veterinaria e Zootecnia 66: 1601–1610.
Castro, T., A. Cabezas, J. De la Fuente, B. Isabel, T. Manso and V. Jimeno. 2016. Animal performance and meat characteristics in steers reared in intensive conditions fed with different vegetable oils. Animal 10: 520–530.
Choi, S. H., G. O. Gang, J. E. Sawyer, B. J. Johnson, K. H. Kim, C. W. Choi and S. B. Smith. 2015. Fatty acid biosynthesis and lipogenic enzyme activities in subcutaneous adipose tissue of feedlot steers fed supplementary palm oil or soybean oil. Journal of Animal Science 91: 2091–2098.
Croker, C. L. 1967. Rapid determination of urea nitrogen in serum or plasma without deproteinization. American Journal of Medical Technology 33: 361–365.
Filya, I. 2004. Nutritive value and aerobic stability of whole crop maize silage harvested at four stages of maturity. Animal Feed Science and Technology 116: 141–150.
Higginbotham, R. B., J. J. Huber, M. V. Wallentine, N. P. Johnston and D. Dndri. 1989. Influence of protein percentage and degradability on performance of lactating cows during moderate temperature. Journal of Dairy Science 72: 1818–1823.
Honikel, K. O. 1987. How to measure the water–holding capacity of meat? Recommendation of standardized methods. pp. 129–142. In: P. V. Tarrant, G. Eikelenboom and G. Monin (Eds.). Evaluation Control of Meat Quality in Pigs. Martinus Nijhoff, Dordrecht, The Netherlands.
Jordan, E., D. Kenny, M. Hawkins, R. Malone, D. K. Loveet and F. D O’Mara. 2006. Effect of refined soy oil or whole soybeans on intake, methane output and performance of young bulls. Journal of Animal Science 84(9): 2418–2425.
Kaneko, J. J., J. W. Harvey and M. L. Bruss. 2008. Clinical Biochemistry of Domestic Animals. Academic Press. San Deigo, California. USA. 916 p.
Kung, L. Jr. and J. T. Huber. 1983. Performance of high producing cows in early lactation fed protein of varying amounts, sources, and degradability. Journal of Dairy Science 66: 227–234.
Machado, M., J. F. Lage, A. F. Ribeiro, L. R. Simonetti, E. A. Oliveira and T. T. Berchielli. 2015. Quality of aged meat of young bulls fed crude glycerin associated with different roughage sources. Acta Scientiarum. Animal Sciences 37: 167–172.
Matsuba, K., A. Padlom, A. Khongpradit, P. Boonsaen, P. Thirawong, S. Sawanon, Y. Suzuki, S. Koike and Y. Kobayashi. 2019. Selection of plant oil as a supplemental energy source by monitoring rumen profiles and its dietary application in Thai crossbred beef cattle. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences 32: 1511–1520.
Montgomery, S. P., J. S. Drouilard, T. G. Nagaraja, E. C. Titgemeyer and J. J. Sindt. 2008. Effects of supplemental fat source on nutrient digestion and ruminal fermentation in steers. Journal of Animal Science 86: 640–650.
National Research Council (NRC). 2001. Nutrient Requirement of Dairy Cattle. 7th ed. (revised). National Academic Science, Washington, D.C. 223 p.
Orellana, C., F. Peña, A. García, J. Perea, J. Martos, V. Domenech and R. Acero. 2009. Carcass characteristics, fatty acid composition, and meat quality of Criollo Argentino and Braford steers raised on forage in a semi–tropical region of Argentina. Meat Science 81: 57–64.
Pavan, E., S. K. Duckett and J. G. Andrae. 2007. Corn oil supplementation to forage–finished steers. I. Effects on in vivo digestibility, performance, and carcass traits. Journal of Animal Science 85: 1330–1339.
Preston, R. L., D. D. Schnakanberg and W. H. Pfander. 1965. Protein utilization in ruminanats. I. Blood urea nitrogen as affected by protein intake. Journal of Nutrition 86: 281–287.
R Core Team. 2022. R: a Language and Environment for Statistical Computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. http://www.R–project.org/ (January 20, 2022).
Russell, J. B. and D. B. Wilson. 1996. Why are ruminal cellulolytic bacteria unable to digest cellulose at low pH? Journal of Dairy Science 79: 1503–1509.
Schmid, M. and V. Forstner. 1986. Laboratory Testing in Veterinary Medicine Diagnosis and Clinical Monitoring. Boehringer Mannheim GmbH, West Germany. 253 p.
Sniffen, C. J., J. D. O’Connor, P. J. Van Soest, D. G. Fox and J. B. Russell. 1992. A net carbohydrate and protein system for evaluating cattle diets: II. Carbohydrate and protein availability. Journal of Animal Science 70: 3562-3577.
Watabe, Y., Y. Suzuki, S. Koike, S. Shimamoto and Y. Kobayashi. 2018. Cellulose acetate, a new candidate feed supplement for ruminant animals: In vitro evaluations. Journal of Dairy Science 101: 10929–10938.
Weatherburn, M. W. 1967. Phenol–hypochlorite reaction for determination of ammonia. Analytical Chemistry 39: 971–974.