สถานการณ์การระบาดและการจัดการโรคพืชในกระบวนการผลิตมันฝรั่งฤดูแล้งของเกษตรกรจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ พูนประสิทธิ์ สำนักงานเกษตรอำเภอวังยาง กรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดนครพนม
  • วนาลัย วิริยะสุธี วิชาเอกการจัดการการผลิตพืช แขนงวิชาการจัดการการเกษตร และ ศูนย์การเรียนรู้วิชาการเกษตรในเมือง สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นิยม ไข่มุกข์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม กรมวิชาการเกษตร จังหวัดนครพนม
  • นารีรัตน์ สีระสาร แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ธำรงเจต พัฒมุข วิชาเอกการจัดการการผลิตพืช แขนงวิชาการจัดการการเกษตร และ ศูนย์การเรียนรู้วิชาการเกษตรในเมือง สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

มันฝรั่ง, โรคมันฝรั่ง, การจัดการโรค, การผลิตมันฝรั่งฤดูแล้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจและสภาพการผลิตมันฝรั่ง 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการโรคมันฝรั่งและความคิดเห็นต่อความรุนแรงของโรคมันฝรั่ง 3) การปฏิบัติและความสำคัญในการจัดการโรคมันฝรั่ง 4) การสำรวจและประเมินการเกิดโรคมันฝรั่ง และ 5) ปัญหาอื่น ๆ และข้อเสนอแนะในการจัดการโรคมันฝรั่ง โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมดของเกษตรกรผู้ผลิตมันฝรั่งในจังหวัดนครพนม ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปีการผลิต 2564/2565 จำนวน 71 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล และสำรวจและประเมินการเกิดโรคมันฝรั่ง จำนวน 10 แปลง ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 4.29 ไร่ต่อราย ใช้พันธุ์แอตแลนติก เป็นการผลิตในระบบเกษตรพันธสัญญา มีความรู้เกี่ยวกับโรคมันฝรั่งและการจัดการในระดับดี มีความคิดเห็นต่อโรคมันฝรั่งที่มีความรุนแรงในระดับมากที่สุด ได้แก่ โรคเหี่ยวเขียว โรคขี้กลากหรือแผลสะเก็ด และโรคราน้ำค้าง มีการปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การเดินสำรวจ การใช้สารเคมี เป็นต้น ให้ความสำคัญของการจัดการโรคมันฝรั่งอยู่ในระดับมาก มีประเด็นอื่น ๆ ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง จากการสำรวจแปลงพบโรคเหี่ยวเขียวและโรคโคนเน่าและแผลสะเก็ดดำ โดยแนวทางในการจัดการโรคมันฝรั่งควรมุ่งเน้นการส่งเสริมการผลิตหัวพันธุ์ปลอดโรคในพื้นที่ การจัดการโรคมันฝรั่งด้วยวิธีผสมผสานและการจัดการระบบน้ำ การบูรณาการของภาครัฐและเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และอาศัยชุมชนเป็นศูนย์กลางเพื่อถ่ายทอดความรู้และสร้างความตระหนักด้านการจัดการโรคมันฝรั่ง

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2565. สภาวะอากาศของประเทศไทย พ.ศ.2564. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (ระบบ ข้อมูลออนไลน์), แหล่งข้อมูล https://www.tmd.go.th/climate/climate.php?FileID=5 (3 มีนาคม 2565)

กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช. 2562. คู่มือ การสำรวจแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช กลุ่มข้าว พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ดอกประดับ. กรมส่งเสริมการเกษตร: 5-6, (ระบบข้อมูลออนไลน์), แหล่งข้อมูลhttp://www.ppsf.doae.go.th/wordpress/คู่มือการสำรวจแปลงติดตาม/คู่มือการสำรวจแปลงติดตาม (1 ธันวาคม 2564)

กิตติศักดิ์ กีรติยะอังกูร สุรภี กีรติยะอังกูระ และเยาวภา ตันติวานิช. 2559. GLIFT Kit เพื่อการตรวจสอบเชื้อ Potato Virus Y ในมันฝรั่ง. วารสารวิชาการเกษตร 24 (2) :168-177.

ฆริกา คันธา และ อภิรักษ์ หลักชัยกุล. 2557. คู่มือการปลูกมันฝรั่งสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมันฝรั่ง. สำนักงานส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพมหานคร. 46 หน้า.

ฐิตาภรณ์ เรืองกูล ธารทิพย์ ภาสบุตร อรทัย วงค์เมธา ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว และอรอุมา เรืองวงษ์. 2563. การประเมินความต้านทานของพันธุ์มันฝรั่งต่อเชื้อรา Phytophthora infestans ในสภาพโรงเรือน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 38(3): 28-31 (ระบบข้อมูลออนไลน์), แหล่งข้อมูล: https://li01.tcithaijo.org/index.php/MJUJN/article/download/245899/173161/906444 (1 ธันวาคม 2564)

ธนรักษ์ เมฆขยาย. 2561. การบริหารจัดการความเสี่ยงในการผลิตมันฝรั่ง ในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 6(2): 17-31.

นิพนธ์ ทวีชัย. 2561. ชุดวิชา 93257 ศัตรูพืชเบื้องต้น หน่วยที่ 13 การควบคุมและการจัดการโรคพืช. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี. 187 หน้า.

นิพนธ์ ทวีชัย. 2553. โรคของแบคทีเรียของพืชและการจัดการ. โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 291 หน้า.

วรลักษณ์ วงศ์วิวัฒน์. 2550. ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตมันฝรั่งในระบบสัญญาผูกพันในภาคเหนือ ประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. 185 หน้า (ระบบข้อมูลออนไลน์), แหล่งข้อมูล จากhttps://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CMU.the.2007.613 (10 มีนาคม 2565)

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2565. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร. 210 หน้า.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4. 2564. การจัดการความรู้ การใช้ Bacillus subtilis เพื่อการผลิตพืช. เอกสารวิชาการ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ระบบข้อมูลออนไลน์), แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/share/showthread.php?tid=2459 (20 ธันวาคม 2564).

อภิรักษ์ หลักชัยกุล. 2557. การปลูกมันฝรั่งฤดูแล้ง ปี 2556/57. รายงานผลการศึกษา. กลุ่มส่งเสริมพืชผักและเห็ด สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร. 150 หน้า

อรทัย วงค์เมธา. 2560. การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งคุณภาพ. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. เชียงใหม่. 65 หน้า.

Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2021. World Food and Agriculture – Statistical Yearbook 2021. (Online): Available Source: https://doi.org/10.4060/cb4477en (January 2, 2022)

Hayward, A.C. 1964. Characteristics of Pseudomonas solanacearum. Journal of Applied Bacteriology 27: 265- 277.

Jaimasit, P. and W. Prakob. 2011. Characterization of Phytophthora infestans population in potato crops from Chiang Mai and Tak provinces. Journal of Agricultural Technology 7(2): 431-439.

Kittipadakul, P., B. Jaipeng, A. Slater, W. Stevenson, and S. Jansky. 2016. Potato production in Thailand. American Journal of Potato Research 93(4): 380–385.

Muthoni, J., H. Shimelis and R. Melis. 2012. Management of Bacterial Wilt [Rhalstonia solanacearum Yabuuchi et al., 1995] of Potatoes: Opportunity for Host Resistance in Kenya. Journal of Agricultural Science. 4(9):64-78.

Schaad, N.W., J.B. Jones and W. Chun. 2001. Laboratory Guide for Identification of Plant Pathogenic Bacteria. 3rd ed. APS Press, Monnesota, USA. 398 p.

Tsror, L. 2010. Biology, epidemiology and management of Rhizoctonia solani on potato. Journal of Plant Pathology 10(158): 649-658.

Unartngam, J., B. Srithongkum, W. Intanoo, P. Charoenrak and C. Chamswarng. 2020. Morphological and molecular based identification of Trichoderma CB-Pin-01 biological control agent of plant pathogenic fungi in Thailand. International Journal of Agricultural Technology 16(1): 175-188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ