ผลของการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ต่อผลผลิตและเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 ในระบบผลิตพืชอินทรีย์

ผู้แต่ง

  • ณภาส์ณัฐ อู๋สูงเนิน ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วรพจน์ ศตเดชากุล ภาควิชาวิศวเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ไชยยงค์ หาราช ศูนย์จักรกลการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

มูลสัตว์, หญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1, ผลผลิต, โปรตีน, ระบบผลิตพืชอินทรีย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองของผลผลิตและเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 (Pennisetum purpureum cv. Pakchong 1) ต่อวิธีการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์รูปแบบต่างๆ และอายุการตัดที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตพืชอาหารสัตว์อินทรีย์  โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยแรก คือ การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์รูปแบบต่างๆ คือ T1) ไม่ใส่ปุ๋ย (control), T2) ใส่มูลโคหมักทางดิน อัตรา 680 กิโลกรัมต่อไร่ T3) ใส่มูลโคหมักทางดิน อัตรา 680 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับฉีดพ่นน้ำหมักมูลสุกรทางใบ(สัดส่วน 1: 100) จำนวน 2 ครั้ง T4) ใส่มูลโคหมักทางดิน อัตรา 680 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับให้น้ำทิ้งจากฟาร์มโคทางดิน อัตรา 1,000 ลิตร/ไร่ จำนวน 2 ครั้ง ปัจจัยที่ 2 คือ อายุการตัดหญ้าที่ 45, 60 และ 75 วัน ผลการทดลองพบว่า ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างวิธีการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์รูปแบบต่างๆ และอายุในการตัดต่อผลผลิตหญ้าเนเปียร์ พันธุ์ปากช่อง 1 (P≥0.05) โดยการใช้มูลโคหมักร่วมกับน้ำทิ้งจากฟาร์มโคทางดิน (T4) การใช้มูลโคหมักร่วมกับการฉีดพ่นน้ำหมักมูลสุกรทางใบ (T3) และการใช้มูลโคหมักทางดิน (T2) ให้ผลผลิตน้ำหนักสดมากกว่าแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ย (T1) (P<0.05)  อีกทั้งการเพิ่มอายุการตัดหญ้าเนเปียร์ทำให้ผลผลิตน้ำหนักสดเพิ่มขึ้น (P<0.01) ดังนั้น การเก็บเกี่ยวหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ที่เหมาะสมสำหรับการใช้เป็นอาหารสัตว์ คือช่วงอายุ 45 วัน เนื่องจากหญ้าให้โปรตีนสูงที่สุด (P<0.01)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2550. มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง) ของกรมพัฒนาที่ดิน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www1.ldd.go.th/ldd/Fertilizer/Organic_Fertilizer.pdf, (19 ตุลาคม 2564)

กรมวิชาการเกษตร. 2548. คู่มือปุ๋ยอินทรีย์ (ฉบับเกษตรกร). สำนักงานเลขานุการกรม กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพมหานคร. 62 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร. 2557. ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2019/11/FEDOA11.pdf, (19 ตุลาคม 2564)

ไกรลาศ เขียวทอง. 2553. คู่มือการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา. 24 หน้า.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 547 หน้า.

ชาญชัย มณีตุลย์. มปป. พืชอาหารสัตว์และการปรับปรุงทำเลเลี้ยงสัตว์. เอกสารวิชาการ. กองส่งเสริมการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์, กรุงเทพมหานคร. 28 หน้า.

ปฏิมา อู๋สูงเนิน สิทธิชัย แก้วสุวรรณ และสุกัญญา จัตตุพรพงษ์. 2557. การตอบสนองของหญ้าแพงโกล่าต่อการให้ปุ๋ยยูเรียทางดินและการให้น้ำสกัดมูลโคนมเป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ. หน้า 430-437. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาพืช ครั้งที่ 52 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ปฏิมา อู๋สูงเนิน และวรพจน์ ศตเดชากุล. 2565. สมบัติทางเคมีและปริมาณธาตุอาหารพืชในของเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ในระบบผลิตพืชอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 5(1): 34-43.

ธิดารัตน์ กันฮะ อิทธิพล เผ่าไพศาล และกฤตพล สมมาตย์. 2558. อิทธิพลของอายุตัดเก็บเกี่ยวหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ต่อองค์ประกอบทางเคมี ความสามารถในการย่อยได้ พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้และการปลดปล่อยแก๊สมีเทนจากการปลดปล่อยแก๊สมีเทนจากกระเพาะหมักของโคเนื้อ. วารสารแก่นเกษตร 43 (3): 565-572.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 548 หน้า.

วิณากร ที่รัก และวนิดา วัฒนพายัพกุล. 2561. อิทธิพลของการใช้ปอเทืองร่วมกับมูลโคต่อการผลิตและคุณค่าทางโภชนะของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 27(5): 866-873.

ศรีสม สุวรรณวงศ์. 2544. การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 141 หน้า.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 252 หน้า.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2552. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9000 เล่ม 1-2552. เกษตรอินทรีย์ เล่ม 1: การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 40 หน้า.

อภิพรรณ พุกภักดี สุวนารถ สุขะเกต และสายัณห์ ทัดศรี. 2539. ผลผลิตหญ้าและคุณภาพหญ้าเขตร้อนบางชนิด. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ 30(3): 293-302.

อานัฐ ตันโช. 2549. คู่มือ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโพนิคส์). พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัททรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด, เชียงใหม่. 66 หน้า.

A.O.A.C. 1990. Official Method of Analysis of AOAC International. 15th ed., A.O.A.C. International, Arlington, Virginia, U.S.A.

A.O.A.C. 2016. Official Method of Analysis of A.O.A.C. International. 20th ed., A.O.A.C. International, Gaithersburg, Maryland, U.S.A.

Ausungnoen, P., W. Jintanawich and S. Juttupornpong. 2014. Effects of storage on pathogenic bacteria content of pig manure extract. pp. 2249-2254. In: Proceedings of the 11th International KU-KPS Conference. December 8-9, 2014, Kamphengsane, Thailand.

Bremner, J.M. and M.A. Tabatabai, 1972. Use of an ammonia electrode for determination of ammonia in Kjeldahl analysis of soil. Communication Soil Science and Plant Analysis 3(2): 159-165.

Walkley, A. and I.A. Black. 1934. An examination of the degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science 37: 29-38.

Whitehead, D.C. 2000. Nutrient Elements in Grassland: Soil-Plant-Animal Relationships. CABI Publishing, New York, USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ