ความต้องการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • วรัฏฐยา บุญขวัญ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริม การผลิตมะม่วง มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี อำเภอประจันตคาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตมะม่วง 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากรที่ทำการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงในอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2564/65 จำนวน 238 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน มีความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 ราย โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
การจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.74 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์การผลิตมะม่วงเฉลี่ย 15.26 ปี พื้นที่ในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 17.66 ไร่ รายได้จากการผลิตมะม่วงของครัวเรือนเฉลี่ย 351,746 บาทต่อปี มีต้นทุนการผลิตมะม่วงของครัวเรือนเฉลี่ย 70,640 บาทต่อปี  สภาพการผลิตมะม่วงพื้นที่ปลูก
เป็นที่ลุ่ม ดินร่วนปนทราย ใช้น้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ใช้สารเคมีในการกำจัดโรคแมลง และเก็บเกี่ยวโดยการคัดแยกผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีมากที่สุดในด้านพื้นที่ปลูก เกษตรกรมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคลโดยต้องการให้เจ้าหน้าที่ลงไปให้ความรู้และเยี่ยมเยียนเกษตรกรในแปลง เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องการขาดเจ้าหน้าที่ลงไปให้ความรู้และเยี่ยมเยียนในแปลง ข้อเสนอแนะคือเจ้าหน้าที่ควรมีการจัดฝึกอบรมในพื้นที่ และเข้าเยี่ยมเยียนแปลงมะม่วงของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2564. รายงานทะเบียนเกษตรกรปี 2564. สืบค้นจาก http://www.farmer.doae.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไม้ผล-ไม้ยืนต้น. กรุงเทพมหานคร. 165 หน้า.

กาญจน์กนก วิหาละ. 2564. การปฏิบัติตามระบบมาตรฐานเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, สันทราย. 118 หน้า.

ธัญลักษณ์ ตาสุข. 2558. การจัดการการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 107 หน้า

ศุภพิชญ์ บุญทั่ง. 2559. การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 117 หน้า

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. 2563. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://alro.go.th/asean_data/ ewt_dl_link.php?nid=232&filename=index (10 พฤษภาคม 2565).

สำนักงานเกษตรอำเภอประจันตคาม. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ ปี 2564. ปราจีนบุรี.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2565. มาตรฐานสินค้าเกษตร. (มกษ. 5-2558). กรุงเทพมหานคร. 6 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. นำเข้า-ส่งออก 2564. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/view/1/siteunderconstruction

สุจิกา ฉิมอ่อง. 2557. เจตคติของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่ เหมาะสม และการผลิตแบบมีสัญญาซื้อขายในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 7(1): 561-585.

อรพรรณ ขันสุรินทร์. 2558. สภาพการผลิตและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 169 หน้า.

อลิษา กลิ่นประทุม, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และ สาวิตรี รังสิภัทร์. 2561. ความต้องการความรู้ เกี่ยวกับเกษตรดีที่เหมาะสม (จีเอพี) สำหรับมะม่วงของ เกษตรกร อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 7(1): 236-249.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ