การเพิ่มศักยภาพการผลิตบัวบกคุณภาพสูงเพื่อเป็นพืชสมุนไพรปลอดสารพิษและโลหะหนัก

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ ทรัพย์แก้ว ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย
  • พงษ์รวี นามวงศ์ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่
  • เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย
  • ไกรสิงห์ ชูดี ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย

คำสำคัญ:

บัวบก, ระบบปลูกพืชที่ไม่ใช้ดิน, สารละลายธาตุอาหารพืช, ไตรเทอร์พีน

บทคัดย่อ

บัวบก (Centella asiatica (Linn.) Urban) เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้ประโยชน์ทางด้านเภสัชวิทยาอย่างมาก แต่พบว่าปริมาณสารสำคัญ และผลผลิตไม่คงที่เนื่องจากวัตถุดิบบัวบกมีความแปรปรวนจากฤดูกาลผลิต และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งพบสารพิษตกค้าง และโลหะหนักที่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นสารสกัดมาตรฐานได้  จึงศึกษาการผลิตบัวบกในระบบโรงเรือนและการปลูกพืชไม่ใช้ดิน โดยการเปรียบเทียบหาชนิดและสัดส่วนของวัสดุปลูก ร่วมกับสูตรสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการผลิตบัวบก พบว่า กรรมวิธีสารละลายธาตุอาหารสูตรการค้าร่วมกับการปลูกในวัสดุปลูก ทรายหยาบ:ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร ทำให้การเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และปริมาณสาร Asiaticoside และ Madecassoside ของบัวบกมีแนวโน้มสูงกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ แม้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นกับการผลิตของเกษตรกร พบว่า การผลิตบัวบกภายใต้สภาพโรงเรือนในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน บัวบกมีความยาวไหล ปริมาณผลผลิต และปริมาณสาร Asiaticoside และ Madecassoside สูงกว่ากรรมวิธีการผลิตของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามพบว่าทั้งสองกรรมวิธีไม่พบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง แต่การผลิตของเกษตรกรพบปริมาณโลหะหนักเหล็ก และตะกั่วเกินเกณฑ์มาตรฐาน

References

ชำนาญ ภัตรพานิช และสุวรรณา เหลืองชลธาร. 2548. การศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานของสมุนไพรบัวบก และสิ่งสารสกัดที่มีฤทธิ์ทางยา. รายงานการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นาและเครื่องสำอางที่มีมาตรฐานจากสมุนไพรบัวบกสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม. ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2546-2548. 100 หน้า.

นวรัตน์ อุดมประเสริฐ. 2558. สรีรวิทยาของพืชภายใต้สภาวะเครียด. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 237 หน้า.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. 2563. มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 118 ง วันที่ 20 พฤษภาคม 2563. หน้า 18.

วรพรรณ กรานกูล และศิริปะภา ภูมม. 2561. ผลของสารละลายธาตุอาหารที่ต่างกันต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดพันธุ์กรีนโอ๊คและพันธุ์เรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์. ปัญหาพิเศษ. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิตพืช) คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 77 หน้า.

วันเพ็ญ สุขการณ์. 2552. สูตรสารละลายและวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกแคนตาลูปโดยไม่ใช้ดินในภาคใต้ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขา วิทยาศาสตร์การเกษตร (พืชศาสตร์). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 99 หน้า.

โสระยา ร่วมรังษี และจำนงค์ อุทัยบุตร. 2556. การปลูกสตรอเบอรี่ในระบบไฮโดรโพนิกส์. รายงานฉบับสมบูรณ์.ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2556. 61 หน้า.

สันติ ช่างเจรจา. 2556. การปลูกพืชในวัสดุปลูก (Substrate Culture). โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี “การปลูกพืชไร้ดินต้นทุนต่ำเชิงการค้าในชุมชน”.สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 38 หน้า.

เอกรินทร์ สายฟ้า มยุรี ตันติสิริระ บุญยงค์ ตันติสิริระ ชำนาญ ภัตรพานิช รุทธ์ สุทธิศรี และสุวรรณา เหลืองชลธาร. 2548. การวิจัยและพัฒนาสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233: จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ. รายงานการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นาและเครื่องสำอางที่มีมาตรฐานจากสมุนไพรบัวบกสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม. ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2546-2548. 22 หน้า.

Alqahtani A., W. Tongkao-on, K.M. Li, V. Razmovski-Naumovski, K. Chana and G.Q. Lia. 2014. Seasonal variation of triterpenes and phenolic compounds in australian Centella asiatica (L.) Urb. Phytochemical analysis 26:436–443.

Murshidul, H., H. Ajwa, and B. Mou. 2004. Nitrogen, phosphorus, and potassium fertilizer effects on nutritional composition of lettuce. 101st Annual international conference of the American society for Horticultural Science, Austin, Texas. Horticultural Science 39(4): 872.

Resh, M.H. 1978. Hydroponics for Food Production, Woodbridge Press Publishing Company, California., 277 p.

Siddiqui, Y., T.M. Islam, Y. Naidu and S. Meon. 2011. The conjunctive use of compost tea and inorganic fertilizer on the growth, yield and terpenoid content of Centella asiatica (L.) Urban. Scientia Horticulturae 130: 289-295.

Srithongkul, J., S. Kanlayanarat, V.Srilaong, A. Uthairatanakij and P. Chalermglin. 2011. Effects of light intensity on growth and accumulation of triterpenoids in three accessions of Asiatic pennywort (Centella asiatica (L.) Urb.). Journal of Food, Agriculture & Environment 9(1): 360-363.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ