การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ ทาบุตร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จรรยา สิงห์คำ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีการผลิต, เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว, การยอมรับเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวของเกษตรกร และ4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ในจังหวัดลพบุรี ที่ผ่านการอบรมกับกรมวิชาการเกษตร ปี 2564/65 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 134 ราย โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.46 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 9.31 ปี มีพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 21.04 ไร่ ต้นทุนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 2,000.00 บาทต่อไร่ มีรายได้จากการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 77,059.70 บาท ราคาผลผลิต เฉลี่ย 25.13 บาทต่อกิโลกรัม 2) เกษตรกรมีการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 มีอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว เฉลี่ย 8.36 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวไม่มีการใส่ปุ๋ย มีการให้น้ำในระยะกล้า มีการตรวจพันธุ์ปนในระยะติดฝัก การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด มีปริมาณผลผลิต เฉลี่ย 140.69 กิโลกรัมต่อไร่ 3) เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวอยู่ในระดับมาก ในประเด็นด้านการเก็บเกี่ยวและการปรับปรุงสภาพ และด้านการเลือกพื้นที่ปลูกและการเตรียมดิน 4) ปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ด้านการดูแลรักษา ในประเด็นขาดความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะของเกษตรกรควรได้รับการสนับสนุน ปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ควรมีการประกันราคาผลผลิต

References

ขนิษฐา สันติประชา. 2562. การปลูกถั่วเขียวหลังนา และความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกร ในอ าเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท. หน้า 1112 -1124. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ปรานอม แสงจันทร์. 2557. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 83 หน้า.

ภิรมย์ โสฬส. 2557. การผลิตถั่วเหลืองและความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 114หน้า.

ระบบสารสนเทศการผลิตทางการเกษตร. 2564. ถั่วเขียว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://mis-app.oae.go.th/product/ถั่วเขียว (11 มกราคม 2565).

วิภาพร ศรีวิไชย. 2562. ศึกษาเรื่องความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองหลังนาของเกษตรกรในอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน. หน้า 1204-1215. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

วิมลรัตน์ ดำขำ ชัยชาญ วงศ์สามัญ และประภัสสร เกียรติสุรนนท์. 2562. ศึกษาความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วเหลืองในฤดูแล้งของเกษตรกรในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร 47(4): 667-678.

ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท. 2561. การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว. เอกสารวิชาการ. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน , ชัยนาท. 50 หน้า.

ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท. 2562. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในถั่วเขียว. เอกสารวิชาการ. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน , ชัยนาท. 104 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. ถั่วเขียว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2564/43bean (11 มกราคม 2565).

World vegetable centre. 2017. International mungbean improvement network. (Online). Resources: https://avrdc.org/intl-mungbean-network/ (18 เมษายน 2565)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ