อิทธิพลของไซโตไคนินร่วมกับนาโนชีทต่อการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนยอดของไพลภายใต้สภาพปลอดเชื้อ

ผู้แต่ง

  • ณัฐชนันท์ ดวงก้อน สาขาเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุกัลยา ภู่ทอง สาขาเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ไพล, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, สารควบคุมการเจริญเติบโต, ไซโตไคนิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในครั้งนี้คือศึกษาผลของไซโตไคนินร่วมกับ Nano Sheet (NS) ต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนยอดของไพล โดยใช้อาหารสูตรพื้นฐาน Murashige and Skoog (MS) ที่เติม BAP, KN และ TDZ ความเข้มข้น 1  2 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร  ร่วมกับ NS ที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร  ทำการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากผลพบว่า สูตรที่เติม BAP ความเข้มข้น 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร  ให้จำนวนยอดใหม่มากที่สุด 2.78±0.46 และ 2.78±0.43  ยอดต่อชิ้นส่วน ซึ่งแตกต่างกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่สูตร MS ที่เติม KN ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร  มีค่าเฉลี่ยความสูงของต้นใหม่สูงที่สุดคือ 3.61±0.20 cm สูตรที่เติม KN ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร  ให้ความยาวรากเฉลี่ยดีที่สุดคือ 4.52±0.52 cm ซึ่งแตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสูตรที่มีการเติม KN ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร  เพิ่มจำนวนรากได้ดีที่สุดคือ 6.56±0.87 ราก  เมื่อเทียบกับชุดควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามสูตรที่เติม BAP ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร  เป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มจำนวนยอดของหน่อไพลมากที่สุด ส่วนสูตรที่เติม KN ความเข้มข้น 1 หรือ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร  ให้จำนวนใบ ค่าความเขียวของใบ ความกว้าง  ความยาวของใบ และจำนวนรากสูงที่สุด การใช้ไซโตไคนินร่วมกับ NS ไม่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของไพล

References

พิมปกาย ใบยา และยุพา แซ่ย่าง. 2564. ผลของกรดจัสโมนิกและซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและการสร้างสาร ฟีนอลิกของปทุมมาที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ(การศึกษาค้นคว้าอิสระ). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา. 79 หน้า

แมนมนัส ศรีแก้ว และสายันต์ แสงสุวรรณ. 2563. วัสดุมหัศจรรย์แกรฟีน: กลยุทธ์การสังเคราะห์สมบัติการพัฒนาการพิสูจน์เอกลักษณ์และการประยุกต์ใช้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 22 (2): 39-49.

รัตนา ขามฤทธิ์ และ จิตรกร ปรีแม่น. 2562. การฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวและการชักนำให้เกิดต้นจากไรโซมของไพลในหลอดทดลอง. แก่นเกษตร 47 (1): 1393-1398.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2553. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับไม้ดอกกลุ่มปทุมมาและกระเจียว. แหล่งที่มา: https://www.acfs.go.th/files/files/commoditystandard/20190608151819_815085.pdf, 5 กรกฎาคม 2565.

Asghari, F., B.Hossieni, A. Hassani and H. Shirzad. 2012. Effect of explants source and different hormonal combinations on direct regeneration of basil plants (Ocimum basilicum L.). Australian Journal of Agricultural Engineering 3(1): 12-17.

Chirangini, P. and G.J.Sharma. 2005. In vitro propagation and microrhizome induction in Zingiber cassumunar (Roxb.) an antioxidant-rich medicinal plant. Journal of Food, Agriculture and Environment 3(1): 139-142.

Jafari, N., R. Y. Othman, and N. Khalid. 2011. Effect of benzylaminopurine (BAP) pulsing on in vitro shoot multiplication of Musa acuminata (banana) cv. Berangan. African Journal of Biotechnology 10(13): 2446-2450.

Jeenapongsa, R., K. Yoovathaworn, K.M. Sriwatanakul, U. Pongprayoon, and K. Sriwatanakul. 2003. Anti-inflammatory activity of (E)-1-(3, 4-dimethoxyphenyl) butadiene from Zingiber cassumunar Roxb. Journal of Ethnopharmacology 87(2-3): 143-148.

Keng, C. L., and T. W. Hing. 2004. In vitro propagation of Zingiberaceae species with medicinal properties. Journal of Plant Biotechnology 6(3): 181-188.

Khairudin, N. A., Z. Haida and M. Hakiman. 2020. In vitro shoot and root induction of

Kaempferia parviflora (Zingiberaceae) rhizome using 6-Benzylaminopurine. Journal of Tropical Plant Physiology 12(2): 23-32.

Labrooy, C., T.L. Abdullah and J. Stanslas. 2020. Influence of N6-benzyladenine and sucrose on in vitro direct regeneration and microrhizome induction of Kaempferia parviflora Wall. ex Baker, an important ethnomedicinal herb of Asia. Tropical Life Sciences Research 31(1): 123.

Li, M.-X., X. Bai, Y.-P. Ma, H.-X. Zhang, N. Nama, S.-J. Pei and Z.-Z. Du. 2019. Cosmetic potentials of extracts and compounds from Zingiber cassumunar Roxb. rhizome. Industrial Crops and Products 141: 111764.

Mandeh, M., M. Omidi and M. Rahaie. 2012. In Vitro influences of TiO2 nanoparticles on barley (Hordeum vulgare L.). Tissue Culture. Biological trace element research 150: 376–380. https://doi.org/10.1007/s12011-012-9480-z

Rajkumari, S. and Sanatombi, K. 2017. Biotechnology of Zingiber montanum (Koenig) link ex A. Dietr.: A review. Journal of Applied Research on Medicinal and Aromatic Plants 4: 1-4.

Rajkumari, S. and K. Sanatombi. 2020. Secondary metabolites content and essential oil composition of in vitro cultures of Zingiber montanum (Koenig) Link ex A. Dietr. Biotechnology Letters 42 (7): 1237-1245.

Ren, W., H. Chang, L. Li. and Y. Teng. 2020. Effect of graphene oxide on growth of wheat seedlings: insights from oxidative stress and physiological flux. Bulletin of Environmental Contamination and Toxicology 105: 139–145. https://doi.org/10.1007/s00128-020-02888-9

Sukarnih, T., Y. Rudiyana, N.F. Hanifah and N. Sa’adah. 2021. Micropropagation of red ginger (Zingiber officinale Rosc. Var. rubrum) using several types of cytokinins. In Journal of Physics: Conference Series 1751 (1): 012051. IOP Publishing.

Zhang, W., R. Swarup, M. Bennett, G. E. Schaller and J.J. Kieber. 2013. Cytokinin induces cell division in the quiescent center of the Arabidopsis root apical meristem. Current Biology

(20): 1979-1989.

Zulkhairi, A.M., S.M. Aspollah, E. Lian and A.A. Bustamam. 2017. Phytochemicals and cytotoxic studies of Zingiber cassumunar Roxb. Journal of Tropical Agriculture and Food Science

:187-197.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ