ศักยภาพการทำสวนไม้ผลในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง : กรณีศึกษาเปรียบเทียบสภาพอากาศและสภาวะของน้ำในดินในเขตรากพืชระหว่างสวนมังคุด ในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง จ.บึงกาฬ และในเขตภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พรชัย ไพบูลย์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พรรณี ชื่นนคร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

คำสำคัญ:

ความเข้มแสง, ปริมาณและการกระจายตัวของฝน, แรงดึงระเหยน้ำของอากาศ, พลังงานความดันของน้ำในดิน, การสังเคราะห์แสง

บทคัดย่อ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศ และได้ส่งเสริมการปลูกไม้ผลยืนต้นแทนยางพารา  การศึกษานี้เพื่อประเมินศักยภาพการทำสวนไม้ผลในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง โดยวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศและสภาวะของน้ำในดินในสวนมังคุดของเกษตรกรในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง จ.บึงกาฬ เปรียบเทียบกับข้อมูลจากสวนมังคุดของเกษตรกรในเขตภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมังคุดแหล่งใหญ่ของประเทศ  จากผลการทดลองพบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2561-2563  จ.บึงกาฬ มีฝนทิ้งช่วงติดต่อกันนานถึง 6 เดือน (ตุลาคม-มีนาคม) ทำให้ดินในเขตรากมังคุด คือที่ความลึกระหว่าง 0-100 เซนติเมตร แห้ง มีค่าพลังงานความดันของน้ำในดิน (soil matric potential, ym) ต่ำมาก คือมีค่าอยู่ในช่วง -100 ถึง -200 กิโลปาสคาล และทำให้มีค่าแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ (air vapor pressure deficit, VPDair) สูงในช่วง 2-6 กิโลปาสคาล ซึ่งเป็นระดับวิกฤตที่ชักนำให้ปากใบมังคุดปิดแคบ จำกัดกระบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของใบ จึงส่งผลให้มีจำนวนชั่วโมงที่สภาพอากาศเอื้อให้ใบมังคุดทำงานเต็มที่ (optimal hour) ต่ำเพียง 1-4 ชั่วโมงต่อวัน  ช่วงแล้งนาน 6 เดือนนี้ตรงกับช่วงการออกดอกและระยะแรกของการพัฒนาผลมังคุดในพื้นที่นี้  แต่ในช่วงที่มีฝน (เมษายน-กันยายน) มี optimal hour 4-10 ชั่วโมงต่อวัน ตรงกับช่วงการพัฒนาผลถึงระยะเก็บเกี่ยว  ขณะที่สภาพอากาศ ในสวนมังคุด จ.นครศรีธรรมราช  แม้มีปริมาณฝนสะสมตลอดทั้งปีมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนดีเกือบตลอดทั้งปี  แต่ในช่วงที่ฝนตกชุกทำให้ความเข้มแสงแดดเฉลี่ยต่ำไม่ถึง 500   ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที ร่วมกับอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 100% ได้แทบทุกวันตลอดทั้งปี เป็นปัจจัยจำกัดกระบวนการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำของใบมังคุด ทำให้สวนมังคุด จ.นครศรีธรรมราช มี optimal hour ในช่วง 2-6 ชั่วโมงต่อวันเกือบตลอดทั้งปี ผลการศึกษานี้แสดงว่า เขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง จ.บึงกาฬ มีสภาพอากาศและน้ำในดินในช่วงฤดูฝนเอื้อต่อการเติบโตของต้นและการพัฒนาของผลมังคุด สามารถพัฒนาเป็นแหล่งปลูกมังคุดทดแทนยางพาราได้

References

การยางแห่งประเทศไทย. 2558. คู่มือสําหรับประชาชน : การขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน กรณีบุคคลธรรมดา. กระทรวงเกษตรและและสหกรณ์. 16 หน้า.

การยางแห่งประเทศไทย. 2559. ประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดยางพันธุ์ดี พ.ศ.๒๕๕๙. กระทรวงเกษตรและและสหกรณ์.

การยางแห่งประเทศไทย. 2563ก. ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). กระทรวงเกษตรและและสหกรณ์. 88 หน้า.

การยางแห่งประเทศไทย. 2563ข. ประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พ.ศ.๒๕๖๓. กระทรวงเกษตรและและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2564. แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสม ตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก AGRI–MAP จังหวัดบึงกาฬ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 46 หน้า.

กฤษณี พิสิฐศุภกุล. 2559. สถานการณ์ยางพาราปี 2558 และแนวโน้มราคาปี 2559. ธนาคารแห่งประเทศไทย. สำนักงานภาคใต้. 3 หน้า.

กฤษณี พิสิฐศุภกุล และขนิษฐา วนะสุข. 2559. ทางออกเกษตรกรชาวสวนยางช่วงราคายางตกต่ำ. ธนาคารแห่งประเทศไทย. สำนักงานภาคใต้. 3 หน้า.

พรชัย ไพบูลย์ และพรรณี ชื่นนคร. 2555. การติดตามถ่ายภาพระบบรากของต้นมังคุด จ.จันทบุรี. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรชัย ไพบูลย์ และพรรณี ชื่นนคร. 2561. การติดตามถ่ายภาพระบบรากของต้นมังคุด จ.ชุมพร. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรชัย ไพบูลย์, พรรณี ชื่นนคร และสุนทรี ยิ่งชัชวาลย์. 2562. สภาพอากาศและน้ำในดิน ประจำสวนมังคุดต้นแบบในพื้นที่ภาคใต้ จ.ชุมพร และ จ.นครศรีธรรมราช ปี 2561–2562. ใน: รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการประยุกต์เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิตคุณภาพมังคุดในเขตพื้นที่ภาคใต้. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 307 หน้า.

พรชัย ไพบูลย์, พรรณี ชื่นนคร, สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ และสุมิตรา ภู่วโรดม. 2564. สภาพอากาศและสภาวะของน้ำในดินในสวนไม้ผลพื้นที่ริมแม่น้ำโขง จ.บึงกาฬ และเขตพื้นที่อื่นที่ไม่ได้ปลูกไม้ผลยืนต้นเพื่อการค้า. ใน: รายงานความก้าวหน้า โครงการการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการจากไม้ผล/ประมง/ปศุสัตว์ : ทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรสวนยางในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำโขง. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 30 หน้า.

สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ และพรรณี ชื่นนคร. 2550. ข้อมูลพื้นฐานทางสรีรวิทยาของมังคุดของจันทบุรี. รายงานโครงการพัฒนาวิชาการ. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กำแพงแสน. 60 หน้า. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail/result/20015801 (1 ตุลาคม 2565).

Licor. 1990. LI–6262 CO2/H2O Analyzer: Instruction Manual. Publication No.9003–59. Licor Inc., Nebraka, U.S.A. 120 p.

Pan, J., R. Sharif, X. Xu and X. Chen. 2021. Mechanisms of waterlogging tolerance in plants: research progress and prospects. Frontiers in Plant Science. 11: 1-16.

Taiz, L., E. Zeiger, I.M. Moller and A. Murphy. 2018. Plant Physiology and Development. 6th ed. Oxford University Press, U.S.A., 761 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ