ข้าวไร่กับความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง
  • นิพนธ์ บุญมี ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง
  • วิสุทธิ์ กีปทอง ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง
  • สุมาลี มีปัญญา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง
  • ศิลาวัน จันทรบุตร ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง
  • จารุวี อันเซตา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง
  • อาทิตยา ยอดใจ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ข้าวไร่, ความมั่นคงทางอาหาร, กลุ่มชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมั่นคงทางอาหาร และแนวทางในการสร้างความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ผู้นำชุมชน เกษตรกร หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปลูกข้าวในครัวเรือน จำนวน 41 หมู่บ้าน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและสูงสุด ค่ามัธยฐาน และเปอร์เซ็นไทล์ จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรจากกลุ่มตัวอย่างยังต้องการข้าวเพิ่มอีก 103 ตันข้าวเปลือกต่อปี เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภค โดยความเป็นไปได้ในปัจจุบันที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ 1) เพิ่มผลผลิตข้าวไร่ 2) การทำนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง และ 3) เคลื่อนย้ายข้าวจากพื้นที่ราบขึ้นไปบริโภคบนพื้นที่สูง จึงควรพิจารณาผสมผสานทางเลือกขึ้นอยู่กับว่าทางเลือกใดจะเหมาะสมกับพื้นที่และสถานะของประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ อีกทั้งความจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูงบนแนวคิดของการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ควบคู่กันไป

References

กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบน. 2553. เทคโนโลยีการทำนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, กรุงเทพฯ. 82 หน้า.

ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ์. 2555. ข้าวไร่กับการสร้างความมั่นคงทางอาหารบนพื้นที่สูง. หน้า 1-28. ใน: รายงานการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 2. โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด, กรุงเทพฯ.

ถาวร กัมพลกูล. 2547. ไร่หมุนเวียนในวงจรชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอ. บี.เอส.ดี. การพิมพ์, เชียงใหม่. 223 หน้า.

พิชัย สุรพรไพบูลย์ พิกุล สุรพรไพบูลย์ สุนทร มีพอ และ สริตา ปิ่นมณี. 2558. การทดสอบผลผลิตพันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่จริม จังหวัดน่าน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23(5): 817-824.

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. 2561. รายงานสภาพอากาศทั่วไป. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.cmmet.tmd.go.th/index1.php (25 พฤศจิกายน 2561).

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2561. แนวโน้มคนไทยบริโภคข้าวลดลง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.apecthai.org/index.php/จับกระแสเศรษฐกิจ-2558/11774-แนวโน้มคนไทยบริโภคข้าวลดลง.html (25 พฤศจิกายน 2561).

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2561. ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://gis.hrdi.or.th/index.php (25 พฤศจิกายน 2561).

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. 2555. เทคโนโลยีการปลูกข้าวไร่อย่างยั่งยืน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 116 หน้า.

อนันท์ กาญจนพันธุ์ ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ทวิช จตุวรพฤกษ์ ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ์ อัจฉรา รักยุติธรรม วิเชียร อันประเสริฐ สกุณี ณัฐพูลวัฒน์ มณฑล จำเริญพฤกษ์ พสุธา สุนทรห้าว และ สุรินทร์ อ้นพรม. 2547. ระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน: สถานภาพและการเปลี่ยนแปลง. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 334 หน้า.

Best, J. W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey. 384 p.

Yamane, T. 1973. Statistics an Introduction Analysis. 3rd Edition. Harper & Row Publishers, Inc., New York. 400 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ