ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • โยธา ชุมนิรัมย์ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บำเพ็ญ เขียวหวาน วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การขึ้นทะเบียนเกษตรกร, ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร, จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคม และสภาพเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ความเข้าใจของเกษตรในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร (3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และ (4) ปัญหา ข้อเสนอแนะของการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปี 2563 จำนวน 5,377 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 373 คน และสุ่มตัวอย่างเกษตรกรของแต่ละตำบลโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57.10) เป็นเพศหญิง  อายุ เฉลี่ย 56 ปี มีประสบการณ์ในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เฉลี่ยประมาณ 15 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 43.40) พื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 10.49 ไร่ มีแรงงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 3.50 ต่อครอบครัว มีรายได้จากภาคการเกษตร เฉลี่ย 128,335.53 บาทต่อปี มีต้นทุนการทำการเกษตร เฉลี่ย 67,544.83 บาทต่อปี (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการขึ้นทะเบียนในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 80.59) และมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานการขึ้นทะเบียนในระดับน้อยที่สุด (ร้อยละ 55.92) (3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร มีตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร ประกอบด้วย 1)ความรู้ความเข้าใจการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 2) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และ 3) รูปแบบช่องทางการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร มีผลต่อความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีตัวแปรอิสระ 1 ตัวแปร คือด้านรายได้จากภาคการเกษตร ที่มีผลความสัมพันธ์เชิงลบต่อความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการเตรียมเอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร มากที่สุด และมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่เตรียมการก่อนเริ่มดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ลดความซับซ้อนในการเตรียมเอกสาร และประชาสัมพันธ์ให้รวดเร็วและทั่วถึง

References

กรมส่งเสริมการเกษตร 2563ก. คู่มือการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2563 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กรุงเทพมาหานคร. 78หน้า

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563ข ระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.farmer.doae.go.th/farmer/report_all. (1 ธันวาคม 2563).

กิตติยา นวลหิน. 2557. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ในอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 123 หน้า.

ภารณี กฤษฎาเรืองศรี. 2556. ความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 111 หน้า.

ศศกร บุณยานันต์. 2558. แนวทางการพัฒนาการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 166 หน้า.

สำนักงานเกษตรอำเภอโพธาราม. 2563. แผนพัฒนาการเกษตรอำเภอโพธาราม 5 ปี (2561-2565 ฉบับทบทวน), ราชบุรี. 170 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. ภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/view/1ภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร/TH-TH. (15 ธันวาคม 2563).

อังคณา คล้ายสุบรรณ. 2562. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรของอาสาสมัครเกษตรในจังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 127 หน้า.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ