อายุการเก็บรักษาต่อคุณภาพและความปลอดภัยของนมผงขาดมันเนย ที่ผลิตจากน้ำนมแพะดิบแช่แข็ง

ผู้แต่ง

  • ศศิธร นาคทอง ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ภาวิณี จำปาคำ
  • ปฐมา แทนนาค ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

อายุการเก็บรักษา, นมผงขาดมันเนย, คุณภาพ, ความปลอดภัย

บทคัดย่อ

นมขาดมันเนยเมื่อนำมาทำให้แห้งจะได้เป็นนมผงขาดมันเนย สามารถเก็บไว้ในรูปแบบผงได้นาน 1-2 ปี และสามารถนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลาย การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษานมผงขาดมันเนย เป็นเวลา 6 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง (37 °C) ต่อลักษณะคุณภาพ และความปลอดภัย โดยนำน้ำนมแพะดิบที่เก็บรักษาแบบแช่แข็งมาผลิตเป็นนมผงขาดมันเนยแบ่งออกเป็น  4 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ นมผงขาดมันเนยที่ผลิตจากน้ำนมแพะดิบแช่แข็ง (-20 °C) ที่มีอายุการเก็บรักษาที่ 0 1 2 และ 3 เดือนตามลำดับ มาผ่านกระบวนการแยกครีม นำเฉพาะส่วนหางนมหรือนมขาดมันเนยมาผ่านกระบวนการทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray drier) โดยควบคุมอุณหภูมิลมร้อนขาเข้า 180 °C และอุณหภูมิลมร้อนขาออก 90 °C จากการทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์นมแพะผงขาดมันเนยทั้ง 4 กลุ่ม ตลอดอายุเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 6 เดือน ยังคงมีคุณภาพ ได้แก่ ความชื้น และการละลาย เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน Codex Standard 207-1999 และด้านคุณภาพทางจุลินทรีย์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 364) พ.ศ. 2556

References

กระทรวงสาธารณสุข. 2545. เรื่อง นมโค. ฉบับที่ 265.

______. 2556. เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค. ฉบับที่ 364.

ณัฐพล วิริยพงศ์, ตรัยคุณ คงฤทธิ์ และราม แย้มแสงสังข์. การพัฒนานมแพะผงสำหรับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. ใน การประชุมวิชาการนานาชาติวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21. 10-11 พฤศจิกายน 2554, อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. 2553. นมผง (Milk Powder). ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. แหล่งที่มา http://www.foodnetworksolution. com/wiki/word/1515/milk-powder,

ตุลาคม 2557.

ภาวิณี จำปาคำ. 2558. คุณภาพและความปลอดภัยของนมผงขาดมันเนยที่ผลิตจากน้ำนมแพะดิบแช่แข็ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม, 103 หน้า

AOAC. (2000). Official Method of Analysis. 14th ed. Washington, D.C. The Association of Official Analytical Chemists.

A/S Niro Atomizer. (1978). Analytical methods raw milk, concentrate and powder properties. page. 202- 203

BAM. 2001. Bacteriological Analytical Manual (BAM). Food and Drug Administration, U.S.

Baldwin, A. and D. Pearce. 2005. Milk Powder.

New Zealand Dairy Research Institute (NZDRI).

Celestino, E. L., M. Iyer and H. Roginski. 1997.

The Effects of Refrigerated Storage of Raw Milk on the Quality of Whole Milk Powder Stored for Different Periods. J. Dairy. 7: 119-127.

Codex Alimentarius. 1999. CODEX STANDARD

FOR MILK POWDERS AND CREAM POWDER. Codex Standard 207-1999.

Farkye, N., K. Smith and F. Tracy. 2001. An

overview of changes in the

characteristics, functionality and nutritional value of skim milk powder (SMP) during storage. U.S. Dairy Export Council.

Fonseca, C. R., K. Bordin , A. M. Fernandes , C. E. C. Rodrigues , C. H. Corassin , A. G. Cruz and C. A. F. Oliveira. 2012. Storage of refrigerated raw goat milk affecting the quality of whole milk powder. J. Dairy Sci. 96: 4716-4724.

Tamime A.Y. 2009. Dried milk products. Dairy powders and concentrated milk products. Oxford, U.K.: Blackwell Pub Ltd., pp. 231–245.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ