ประสิทธิภาพของสารสกัดกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงแต่ละเฉดสี ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Aspergillus spp.

ผู้แต่ง

  • ภคพร สาทลาลัย ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • อุทัยวรรณ ด้วงเงิน ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน
  • อรวรรณ ชวนตระกูล ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • มณี ตันติรุ่งกิจ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • สุรัตน์วดี จิวะจินดา ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

กระเจี๊ยบแดง, กลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดง, เชื้อรา Aspergillus spp, ยับยั้งการเจริญ

บทคัดย่อ

จากการปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบแดงของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ผลผลิตกระเจี๊ยบแดงที่มีกลีบเลี้ยงเฉดสีต่างกันจากสีแดงเข้ม แดง ชมพู ไปจนถึงสีขาว คณะผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงแต่ละเฉดสีต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus และ A. niger  ซึ่งพบว่าที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัด 40 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดจากกลีบเลี้ยงทุกเฉดสีสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. flavus ได้อย่างสมบูรณ์ โดยอัตราการยับยั้งลดลงเมื่อความเข้มข้นของสารสกัดลดลง สำหรับสารสกัดจากกลีบเลี้ยงสีขาวสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. flavus ได้ดีกว่าสารสกัดจากกลีบเลี้ยงสีอื่น ในทุกๆ ระดับความเข้มข้นของสารสกัด และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดต่อการยับยั้งเชื้อรา A. niger พบว่าที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัด 40 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สารสกัดจากกลีบเลี้ยงทุกเฉดสีสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. niger ได้ต่ำกว่าร้อยละ 50

References

ดวงจันทร์ สุขประเสริฐ และวนิดา ยุรญาติ. 2545. สารอะฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนในเครื่องเทศ. วารสารสุขาภิบาลอาหาร. 4(2): 33-37.

ธนภูมิ มณีบุญ และชนัญญา ช่วยศรีนวล. 2556. ผลยับยั้งของกรดอินทรีย์บางชนิดต่อการเจริญและการสร้างสารอะฟลาทอกซินของเชื้อรา Aspergillus sp. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44: (3; พิเศษ): 343-346.

ศุภกิจ อังศุภากร, วิทยา ธรรมวิทย์ และสมพงศ์ สหพงศ์. 2520. โรคของสัตว์เศรษฐกิจที่เกิดจากพิษของเชื้อรา.

เวชชสารสัตวแพทย์. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 7(2): 127-143.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2548. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องหนังสือรับรองมาตรฐานของอาหารที่นำเข้า. เล่ม 12 ตอนพิเศษ 56ง.

อมรา ชินภูติ, ศุภรา อัคคสาระกุล, ลิลลี่ พรานุสร, ชวเลิศ ตรีกรุราสวัสดิ์, สมคิด รื่นภาควุฒิ และไพศาล รัตนเสถียร. 2551. การควบคุมการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus และยับยั้งการสร้างสารอะฟลาทอกซินโดยใช้พืชสมุนไพร. 8 ผลงานเด่น 36 ปี กรมวิชาการเกษตร. รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551-2560. คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร: 21-22.

El-Nagerabi, S.A.F., S.N. Al-Bahry, A.E. Elshafie and S. Alhilali. 2012. Effect of Hibiscus sabdariffa extract and Nigella sativa oil on the growth and aflatoxin B1 production of Aspergillus flavus and Aspergillus parasiticus strains. Food Control 25: 59-63.

Giray, B., G. Girgin, A.B. Engin, S. Aydin and G. Sahin. 2005. Aflatoxin levels in wheat samples consumed in some regions of Turkey. Food Control 18: 23-29.

Hirunpanich, V., A. Utaipat, N.P. Morales, N. Bunyapraphatsara, H. Sato, A. Herunsalee and C. Suthisisang. 2005. Antioxidant effects of aqueous extracts from dried calyx of Hibiscus sabdariffa Linn. (Roselle) in vitro using rat low-density lipoprotein (LDL). Biological and Pharmaceutical Bulletin 28(3): 481-484.

Hopkins, A.L., M.G. Lamm, J.L. Funk and C. Ritenbaugh. 2013. Hibiscus sabdariffa L. in the treatment of hypertension and hyperlipidemia: A comprehensive review of animal and human studies. Fitoterapia 85: 84–94.

Obadina, A.O. and O.B. Oyewole. 2007. Assessment of the antimicrobial potential of roselle juice (zobo) from different varieties of roselle calyx. Journal of Food Processing and Preservation 31: 607-617.

Salah A.M., J. Gathumbi and W. Vierling. 2002. Inhibition of intestinal motility by methanolic extracts of Hibiscus sabdariffa L. (Malvaceae) in rats. Phytotherapy Research 16: 283-285.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ