การใช้ผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาลเป็นแหล่งโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของมันสำปะหลัง

การใช้ผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาลในแง่ปุ๋ยโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของมันสำปะหลัง

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา จำปาทอง ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ชัยสิทธิ์ ทองจู ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อัญธิชา พรมเมืองคุก ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จุฑามาศ ร่มแก้ว ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พงษ์เพชร พงษ์ศิวาภัย ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ณัชชา ศรหิรัญ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ธีรยุทธ คล้ำชื่น คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ผงกากส่า, มันสำปะหลัง, ผลพลอยได้

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของการใช้ผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาล (ผงกากส่า) เป็นแหล่งโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 7 ตำรับทดลอง ผลการศึกษา พบว่า การใส่ผงกากส่าอัตรา 64.15 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 และ 0-46-0 อัตรา 69.33 และ 8.52 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ (VP8% K2O, T7) มีผลให้ความสูงต้นและค่าความเขียวของใบมันสำปะหลังมากที่สุด ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน และการเพิ่มปุ๋ยโพแทสเซียมอีก 100 เปอร์เซ็นต์จากอัตราเดิม (CFDOA+K100%, T4) การใส่ผงกากส่าอัตรา 48.12 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 และ 0-46-0 อัตรา 71.05 และ 8.57 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ (VP6% K2O, T6) และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน และการเพิ่มปุ๋ยโพแทสเซียมอีก 50 เปอร์เซ็นต์จากอัตราเดิม (CFDOA+K50%, T3) ขณะที่ทุกตำรับทดลองที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือการใส่ผงกากส่าร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี มีผลให้ผลผลิตหัวสด น้ำหนักเฉลี่ยต่อหัว ความกว้างและความยาวหัวสด เปอร์เซ็นต์แป้งส่วนหัวสด ผลผลิตแป้งต่อพื้นที่ ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่สะสมในส่วนหัวสดของมันสำปะหลังใกล้เคียงกัน และแตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุม (control, T1) ซึ่งมีผลให้ผลผลิตหัวสด น้ำหนักเฉลี่ยต่อหัว ความกว้างและความยาวหัวสด เปอร์เซ็นต์แป้งส่วนหัวสด ผลผลิตแป้งต่อพื้นที่ ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่สะสมในส่วนหัวสดของมันสำปะหลังน้อยที่สุด

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

น.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2558. คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางดิน ระบบโสตทัศนูปกรณ์. คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 174 น.

ชาญ ถิรพร และโชติ สิทธิบุศย์. 2537. ดินและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพกับมันสำปะหลัง, น. 128-141. ใน

เอกสารวิชาการ มันสำปะหลัง. ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง, สถาบันวิจัยพืชไร่, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวง

เกษตรและสหกรณ์, ระยอง.

ชัยสิทธิ์ ทองจู, สิรินภา ช่วงโอภาส, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, ธีรยุทธ คล้ำชื่น, สุชาดา กรุณา, เกวลิน ศรีจันทร์,

ชาลินี คงสุด และ ธรรมธวัช แสงงาม. 2564. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “การใช้ประโยชน์ของสารปรับปรุงดินโพแทสเซียมฮิวเมทสำหรับการเพิ่มผลผลิตของพืช”. นครปฐม. 188 น.

โชติ สิทธิบุศย์, ชุมพล นาควิโรจน์, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ และชัยโรจน์ วงศ์วิวัฒน์ชัย. 2529. การปลูกพืช

หมุนเวียนและการใช้ปุ๋ยเพื่อการผลิตมันสำปะหลังระยะยาว, น. 63-74. ใน เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 4 เรื่อง “เราจะพัฒนาดินอีสานกันอย่างไร” จัดโดยสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุมกรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

ณิชากร ทองมี, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, สิรินภา ช่วงโอภาส, เกวลิน ศรีจันทร์, อัญธิชา พรมเมืองคุก, สุชาดา กรุณา, ศิริสุดา บุตรเพชร, ชาลินี คงสุด, ธรรมธวัช แสงงาม และธีรยุทธ คล้ำชื่น. 2562. ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากศูนย์ปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียของสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลัง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 2 (2): 91-105.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 108 น.

ธีรยุทธ คล้ำชื่น, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ทศพล พรพรหม และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. 2560. ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจาก

ผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อผลผลิตของมันสำปะหลัง และสมบัติของดิน. วารสารแก่นเกษตร 45 (4): 711-720.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2528. หลักการผลิตและการใช้ปุ๋ย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ. 274 น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2554-2556. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 237 น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2562-2564. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 242 น.

เสฎฐวุฒิ อภิวัฒน์ตั้งสกุล, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, จุฑามาศ ร่มแก้ว, สิรินภา ช่วงโอภาส, เกวลิน ศรีจันทร์, อัญธิชา พรมเมืองคุก, สุชาดา กรุณา, ศิริสุดา บุตรเพชร, ชาลินี คงสุด, ธรรมธวัช แสงงาม และ ธีรยุทธ คล้ำชื่น. 2563. ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดผง ชนิดอัดเม็ด และชนิดปั้นเม็ดจากโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลัง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 3 (2): 34-46.

อริศชา สิงหมงคล, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, จุฑามาศ ร่มแก้ว, เกวลิน ศรีจันทร์, สิรินภา ช่วงโอภาส, อัญธิชา พรมเมืองคุก, สุชาดา กรุณา, ศิริสุดา บุตรเพชร, ชาลินี คงสุด, ธรรมธวัช แสงงาม และธีรยุทธ คล้ำชื่น. 2563. ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้ของเครื่องกำจัดเศษขยะต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของมันสำปะหลัง และสมบัติของดินบางประการ, น. 333-342. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 17 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ, นครปฐม.

ThaiBev. 2557. การบริหารจัดการน้ำเสีย. แหล่งข้อมูล:

http://www.thaibev.com/th08/aboutus.aspx?sublv1gID=39, (19 พฤศจิกายน 2565).

Soil Survey Staff. 2003. Key to Soil Taxonomy: Ninth Edition. United States Department of Agriculture, Natural Resources Conservation Service, Washington, D.C. 332 p.

Thongjoo, C., S. Miyagawa and N. Kawakubo. 2005. Effect of soil moisture and temperature on

decomposition rates of some waste materials from agriculture and agro-industry. Plant Production Science 8(4): 475-481.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ