การประเมินคุณสมบัติเชิงปริมาณและคุณภาพของสปอร์เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae (Metchnikoff) Sorokin ที่ผ่านการแยกด้วยเครื่องแยกสปอร์เพื่อการพัฒนาชีวภัณฑ์กำจัดแมลง

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ จำรัสศรี ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
  • โสภณ อุไรชื่น ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

การควบคุมโดยชีววิธี, แมลงศัตรูอ้อย, เชื้อราก่อโรคแมลง

บทคัดย่อ

คุณสมบัติเชิงปริมาณและคุณภาพของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae (GMF) ที่ผ่านการแยกด้วยเครื่องแยกสปอร์เพื่อพัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อราเขียวที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ควบคุมหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อย Dorysthenes buqueti (SLSB) โดยผลการทดสอบพบว่าจำนวนสปอร์ของเชื้อราเขียวเมื่อทำการแยกสปอร์ออกจากข้าวสุก และกรองผ่านเครื่องแยกสปอร์มีความเข้มข้นของสปอร์ลดลง 29.84 เปอร์เซ็นต์ โดยคุณภาพการงอกก่อนและหลังผ่านเครื่องแยกสปอร์ ที่ 24 ชั่วโมงไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบการก่อโรคของเชื้อราเขียวที่ได้ทดสอบกับตัวอ่อนวัย 7 ของ D. buqueti พบว่า สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูอ้อยชนิดนี้ได้ โดยมีค่าการตาย 50-60 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการนำสปอร์เชื้อราเขียวเก็บรักษาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นเวลา 12 เดือน พบว่าเปอร์เซ็นต์การงอกของเชื้อราเขียวหลังเก็บรักษาชีวภัณฑ์ โดยกรรมวิธีใส่ดินต่อขุยมะพร้าว (3:1) ผสมผงสปอร์ 2 เปอร์เซ็นต์ มีการงอกที่มากที่สุดเท่ากับ 58.47 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเข้าก่อโรคในหนอนด้วงยาวเจาะลำต้นอ้อยได้ 60 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่รูปแบบชีวภัณฑ์แบบดั้งเดิมไม่ก่อให้เกิดการตายของ D. buqueti ดังนั้น รูปแบบชีวภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเก็บไว้ได้นานอย่างน้อย 1 ปี โดยยังคงประสิทธิภาพการก่อโรคกับหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ตุลยา กลับแก้ว. 2551. อายุการเก็บรักษาและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ Bacillus thruringensis JC50 ในการควบคุม

หนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura (Fabricius). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 88 หน้า.

ทิพย์วดี อรรถธรรม กรรณิการ์ สีนวลมาก และจีรภา ปัญญาศิริ. 2546. เชื้อราของแมลงและศักยภาพในการใช้ควบคุมกำจัดเพลี้ยไฟ. หน้า 704-717. ใน เรื่องเต็มการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 6 “หนึ่งทศวรรษแห่งการอารักขาพืชในประเทศไทย” วันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2546 จังหวัดขอนแก่น.

นริศ ท้าวจันทร์ อนุชิต ชินาจริยวงศ์ และ วิวัฒน์ เสือสะอาด. 2552. การเพิ่มปริมาณสปอร์เชื้อราเขียว Metarhizium

anisopliae (Metsch.) Sorokin ด้วยวัสดุทางการเกษตรในการเกษตรอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 40(3)

พิเศษ: 555-558.

นวลศิริ สีบุญมี วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ ปภพ สินชยกุล และจิราพร กุลสาริน. 2561. ประสิทธิภาพสาร

พาบางชนิดในการเก็บรักษาเชื้อรา Metarhizium anisopliae MRT-PCH 048 เพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. วารสารเกษตร 34(2): 227-234.

เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร และอัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ. 2550. ประสิทธิภาพของเชื้อราทำลายแมลงต่อเพลี้ยกระโดดสี

น้ำตาลและเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว. รายงานการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2550. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. กรุงเทพฯ.

วนิดา เพ็ชร์ลมลุ. 2559. การมีชีวิตรอดของสปอร์เชื้อรา Beauveria bassiana ที่ผลิตได้จากกากตะกอนดีแคนเตอร์ และ

น้ำทิ้งหลังผลิตไฮโดรเจน ภายใต้การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่างกัน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 21(1): 14-25.

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช. 2011. เชื้อราเมตตาไรเซียม (ควบคุมด้วงหนวดยาวอ้อย).

แหล่งที่มา: http://www.pmc04.doae.go.th/Myweb2011data1/14%20Metarhizium%201/14Metta01.html, 24 ตุลาคม 2561.

เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ อิศเรศ เทียนทัด เทธาสิทธิ์ คนการ และอนุสรณ์ พงษ์มี. 2561. การผลิตชีวภัณฑ์เชื้อราเขียวเมตา

ไรเซียมแบบอัดเม็ดและประยุกต์ใช้ในการกำจัดด้วงแรด (Oryctes rhinoceros L.). วารสารเกษตร 36(2): 199-210.

อารยา บุญศักดิ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และจิราพร กุลสาริน. 2558. การคัดเลือกเชื้อรา

Metarhizium anisopliae (Metschnioff) Sorokin ที่มีศักยภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว.

วารสารเกษตร 31(3): 291-299.

Daoust, R. A., M. G. Ward, and D. W. Roberts. 1983. Effect of formulation on the viability of

Metarhizium anisopliae conidia. Journal of Invertebrate Pathology 41(2): 151-160.

Doberski, J.W. 1981. Comparative laboratory studies on three fungal pathogens of the elm bark beetle

Scolytus scolytus: Effect of temperature and humidity on infection by Beauveria bassiana,

Metarhizium anisopliae, and Paecilomyces farinosus. Journal of Invertebrate Pathology 37: 195-200.

Hamid, N. H., R. Moslim, H. Salim, M.B. Wahid, N. Kamarudin, and S. Hamzah. 2005. Powder formulation of

Metarhizium anisopliae, its Stability and effects against Oryctes beetles tested in laboratory and small scale field trial. Proceedings of the PIPOC 2005 International Palm Oil Congress (Agriculture, Biotechnology and Sustainability), September 25-29, 2005, Kuala Lumpur, Malaysia.

Ibrahim, L., L. Laham, A. Touma and S. Ibrahim. 2015. Mass production, yield, quality, formulation and efficacy of

entomopathogenic Metarhizium anisopliae conidia. British Journal of Applied Science and Technology 9(5): 427-440.

Kernasa, N. 2016. Geographical Distribution of Dorysthenes buqueti Guerin (Coleoptera: Cerambycidae) and Genetic Diversity of Metarhizium anisopliae (Metchnikoff) Sorokin in Sugarcane Plantations in Thailand. Ph.D. Thesis, Kasetsart University. 56 pages.

Magan, N. 2001. Physiological approaches to improving the ecological fitness of fungal biocontrol agents. In ‘‘Fungi as Biocontrol Agents: Progress, Problems and Potential’’ (T. M. Butt, C. Jackson, and N. Magan, eds.), pp. 239–251. CABI Publishing, New York.

Roberto, T.A., R.P. Bateman, G. Jane, P. Chris and R.S. Leather. 2002. Effects of different formulations on viability and medium-

term storage of Metarhizium anisiopliae conidia. Neotropical Entomology 31(1): 91-99.

Scholte, E.J., B.N. Nliru, R.C. Smallegange, W. Takken, and B.G. Knol. 2003. Infection of malaria

(Anopheles gambiaes. s. s.) and filariasis (Culex quinquefasciatus) vector with entomopathogenic fungus Metarhizium anisopliae. Malaria Journal 2(29): doi: 10.1186/1475-2875-2-29.

Scholte, E.J., W. Takken, and B.G. Knol. 2007. Infection of adult Aedes aegypti and Ae. albophitus mosquitoes with the entomopathogenic fungus Metarhizium anisopliae. Acta Tropical 102: 151-158.

Southland Products. 2017. Sugarcane Borer Diets. 201 Stuart Island Road Lake Village, Arkansas 71653.

Uraichuen, S., N. Kernasa, T. Cheepsomsong, A. Chinajariyawong and S. Tunnakundecha. 2018. Quantitative and qualitative evaluation of muscadine fungus, Metarhizium anisopliae collected by the spore separation machine. Paper presented at the IAPSIT International Sugar Conference, March 6-9, 2018, Charoen Hotel, Udonthani, Thailand.

Wraight, S.P., R.I. Carruthers, S.T. Jaronski, C.A. Bradley, C.J. Garza and S. Galaini-Wraight. 2000. Evaluation

of the entomopathogenic fungi Beauveria bassiana and Paecilomyces fumosoroseus for microbial

control of the silverleaf whitefly, Bemisia argentifolii. Biological Control 17: 203-217.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ