การส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • พนิดา เปรมจิตติบันเทิง วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความต้องการการส่งเสริม, การผลิตลำไยนอกฤดู, อำเภอโกสัมพีนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตลำไยนอกฤดู 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตลำไยนอกฤดู 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดู และ 5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกผู้ลำไยนอกฤดูในอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2564 จำนวนรวมทั้งหมด 462 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ Taro Yamane (Yamane,1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 215 ราย และรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.03 ปี พื้นที่ปลูกลำไยนอกฤดูเฉลี่ย 10.05 ไร่ ต้นทุนการผลิตลำไยนอกฤดูเฉลี่ย 11,491.16 บาทต่อไร่ เกษตรกรใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อชักนำการออกดอกลำไยในเดือนมิถุนายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตมากที่สุดในเดือนมกราคม เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตลำไยนอกฤดูในระดับมาก ในประเด็นการปลูกและสภาพที่เหมาะสม เกษตรกรมีปัญหาระดับมากใน 2 ประเด็นคือ ขาดการสนับสนุนโครงการจากภาครัฐ และขาดการสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาด ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการส่งเสริมโครงการของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และควรมีการสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการผลิตลำไยนอกฤดูให้มีคุณภาพและสร้างความมั่นคงทางด้านรายได้จากการมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน

References

กรมวิชาการเกษตร. 2559. การผลิตลำไยนอกฤดู. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/share/ showthread.php?tid=1176 (1 กุมภาพันธ์ 2565).

จันทร์เพ็ญ จำวงค์. 2558. การผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกรอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 126 หน้า.

บุหงา จินดาวานิชสกุล. 2561. แนวทางการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ในการผลิตลำไยนอกฤดู จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 118 หน้า.

พาวิน มะโนชัย. 2561. การผลิตลำไยคุณภาพ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.arda.or.th/datas/file/การผลิตลำไยคุณภาพ.pdf (5 เมษายน 2565).

วงค์ลักณ์ วงค์ศิริ วรทัศน์ อินทรัคคัมพร สุรพล เศรษฐบุตร และเสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ. 2564. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพด้วยการตัดแต่งกิ่งและช่อผลของกลุ่มเกษตรกรลำไยแปลงใหญ่ ในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วารสารแก่นเกษตร 49(ฉบับพิเศษ1): 697-702.

สายสุนีย์ สายวังกิจ. 2558. การตัดสินใจผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 107 หน้า.

สำนักงานเกษตรอำเภอโกสัมพีนคร. 2565. แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ ปี 2565. กำแพงเพชร. 55 หน้า

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564ก. ลำไย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.agriman.doae.go.th/home/ news/2564/08longan.pdf (10 กุมภาพันธ์ 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564ข. ลำไยภาคเหนือ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว%20สศก./36986/TH-TH (5 เมษายน 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ลำไย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.agriman.doae.go.th/home/ news/2565/08longan.pdf (10 กุมภาพันธ์ 2565).

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ