การทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์แมงลัก (Ocimum africanum Lour)

ผู้แต่ง

  • ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อัญมณี อาวุชานนท์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนัญญา นาคะ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความงอกมาตรฐาน, อุณหภูมิ, การทำลายการพักตัว

บทคัดย่อ

เนื่องจากแมงลักมีสรรพคุณทางยา มีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เมล็ดพันธุ์แมงลักจึงมีความสำคัญทางเศรฐกิจและมีการซื้อขายอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งนี้วิธีการทดสอบความงอกที่เป็นมาตรฐานสำหรับการซื้อขายเมล็ดพันธุ์แมงลัก ยังไม่ถูกกำหนดในกฎการทดสอบความงอกของสมาคมนักทดสอบเมล็ดพันธุ์นานา ชาติ (ISTA) จึงทำการทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์แมงลัก 2 สายพันธุ์ คือ OC-033 และ OC-018 โดยวิธีการเพาะเมล็ดพันธุ์แบบ Top of paper (TP) ที่อุณหภูมิ 20, 30 และอุณหภูมิสลับ 20-30 องศาเซลเซียส และศึกษาวิธีการทำลายการพักตัว 4 วิธี คือ 1. การแช่เมล็ดในน้ำเปล่าเป็นเวลา 24 ชั่วโมง 2. การอบเมล็ดด้วยความร้อน (Preheating) ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน 3. การใช้ KNO3 0.2 เปอร์เซ็นต์ แช่กระดาษเพาะในครั้งแรก และ 4. การล้างเมล็ด (Prewashing) ด้วยน้ำไหลเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่าเมล็ดพันธุ์แมงลักสายพันธุ์ OC-033 และ OC-018 ที่เพาะแบบ TP ที่อุณหภูมิสลับ (20-30 องศาเซลเซียส) ให้ค่าความงอก (98.50 และ 85.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) และความเร็วในการงอก (14.69 และ 13.50 ตามลำดับ) มีค่าสูงสุดเมี่อเทียบกับทรีตเมนต์อื่น ๆ โดยวิธีการทำลายการพักตัวไม่มีผลให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์แมงลักสูงขึ้น เมล็ดพันธุ์แมงลักสามารถตรวจวัดความงอกได้ที่ 15 วันหลังการเพาะเมล็ด

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร “แมงลัก”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.agriinfo.doae.go.th/year59/plant/rortor/veget/6.pdf. [1 มิถุนายน 2560]

จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2521. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. กลุ่มหนังสือเกษตร, กรุงเทพฯ. 210 หน้า.

ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ. 2547. พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นอาหารและยาตอน “แมงลัก” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio46-47/46-470018.htm [30 มิถุนายน 2560]

ทวีพร สังข์เพชร. 2558. แมงลัก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://local-resource.klongchaun.go.th/020 กรณึศึกษาแมงลัก.pdf. [30 มิถุนายน 2560]

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2538. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 213 หน้า.

วัลลภ สันติประชา. 2540. เทคโนโลยีเมลด็พันธุ์พืชไร่. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สงขลา. 212 หน้า.

Association of Official Seed Analysts (AOSA). 1983. Seed Vigor Testing Handbook. Association of Official Seed Analysts. Virginia. USA. 88 p.

Basra, S.M.A., I. Afzal, R.A. Rashid and A. Hameed. 2005. Inducing salt tolerance in soybean by seed vigor enhancement techniques. Journal of Biotechnology and Biochemistry. 1: 173-179.

Caseiro, R., M.A. Bennett and J. Marcos-Filho. 2004. Comparison of three priming techniques for onion seed lots differing in initial seed quality. Seed Science and Technology. 32: 365-375.

Copeland, L.O. and M.B. McDonald. 1995. Principles of Seed Science and Technology. Chapman & Hill, New York. 409 p.

Elhindi, K., A.W. Asrar, Y.H, Dewir and E.M. Abdel-Salam. 2016. Improvement of seed germination in three medicinal plant species by plant growth regulators. American Society for Horticultural Science. 51: 887-891.

Ghobadi, M., M. Shafiei-Abnavi, S. Jalali-Honarmand, M.E. Ghobadi, and G.R. Mohammadi. 2012. Does KNO3

and hydropriming improve wheat (Triticum aestivum L) seeds germination and seedlings growth. Annals of Biological Research. 3: 3156-3160.

Hopkinson, J.M.; B.H. English and R.L. Harty. 1988. Effects of different drying patterns on quality of seed of some tropical pasture grasses. Seed Science and Technology. 16: 361-369.

Hossain, M.A., M.K. Arefin, B.M. Khan and M.A. Rahman. 2005. Effects of seed treatment on germination and

seedling growth attributes of Horitaki (Terminalia chebula Retz.) in the nursery. Journal of Agriculture and Biological Science. 1: 135-141.

Hussain, M.I., D.A. Lyra, M. Farooq, N. Nikoloudakis and N. Khalid. 2016. Salt and drought stresses

in safflower: A review of Agronomy and Sustainable Development. 36: 4–13.

International Seed Testing Association (ISTA). 2016. International Rules for Seed Testing. The International Seed Testing Association, Switzerland. 284 p.

Kumar, B. 2012. Prediction of germination potential in seed of indian basil (Ocimum basilicum L.). Journal of Crop Improvement. 26: 532-539.

Kumar, B., E. Gupta, R. Yadav and S. Singh. 2014. Temperature effects on seed germination potential of holy basil (Ocimum tenuiflorum). Seed Technology. 36: 75-79.

Putirvsky, E. 1983. Temperature and daylength influence on the growth and germination of sweet basil and oregano. Journal of Horticultural Science. 58: 583-587.

Selvarani, K. and R. Umarani. 2011. Evaluation of seed priming methods to improve seed vigour of onion (Allium cepa cv.aggregatum) and carrot (Daucus carota). Journal of Agricultural Technology. 7: 587-867.

Sivritepe, H.O. and A.M. Dourado. 1995. The effect of seed moisture content and viability on the susceptibility of pea seeds to soaking injury. Scientia Horticulturea. 61: 185-191.

Suddee, S., A.J. Paton and J.A.N. Parnell. 2005. Taxonomic revision of tribe Ocimeae Dumort (Lamiaceae) in continental South East Asia III. Ociminae. Kew Bulletin. 60: 3-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ