ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราว ต่อการเพิ่มปริมาณยอดและการชักนำให้ออกรากของนกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ

ผู้แต่ง

  • อริสรา ติ๊บปะละวงศ์ หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ปวีณา ภูมิสุทธาผล หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

นกคุ้มไฟ, การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, ออกซิน, ไซโตไคนิน, ไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราว

บทคัดย่อ

นกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus) เป็นกล้วยไม้ดินที่มีใบสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ในปัจจุบันนกคุ้มไฟถูกเก็บออกมาจากป่าเป็นจำนวนมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง ในงานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์นกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ โดยในการเพิ่มปริมาณยอดได้นำชิ้นส่วนข้อเดี่ยวมาเพาะเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร ½ MS ที่เติม BAP หรือ TDZ (0.25, 0.50 และ 1.00 มิลลิกรัมต่อลิตร) เมื่อเพาะเลี้ยง 12 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า การเติม TDZ ความเข้มข้น 0.50 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้มีจำนวนยอดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 3.1 ยอดต่อชิ้นส่วน นอกจากนี้ได้เปรียบเทียบการเพิ่มปริมาณยอดในอาหารกึ่งแข็งและไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราว (temporary immersion bioreactor: TIB) แบบขวดแฝด โดยทดสอบการให้อาหารทุก 6 และ 12 ชั่วโมง ครั้งละ 5 และ 10 นาที เมื่อเพาะเลี้ยง 12 สัปดาห์ พบว่า การเพาะเลี้ยงในระบบ TIB สามารถเพิ่มจำนวนยอดและความยาวยอดได้มากกว่าอาหารกึ่งแข็ง โดยการให้อาหารเหลวทุก 12 ชั่วโมง ครั้งละ 5 นาที มีจำนวนยอดเฉลี่ยและความยาวยอดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.8 ยอดต่อชิ้นส่วน และ 4.73 เซนติเมตร ตามลำดับ ในการชักนำให้ยอดออกรากได้นำชิ้นส่วนยอดมาเพาะเลี้ยงด้วยอาหารสูตร ½ MS ที่ไม่เติมออกซิน หรือเติม IAA ความเข้มข้น 0.25, 0.50 และ 1.00 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยเพาะเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งเปรียบเทียบกับระบบ TIB เมื่อเพาะเลี้ยง 12 สัปดาห์ พบว่า การเพาะเลี้ยงในระบบ TIB ทำให้มีการเจริญเติบโตด้านต่าง ๆ มากกว่าอาหารกึ่งแข็ง โดยการเพาะเลี้ยงในระบบ TIB ด้วยอาหารที่เติม IAA ความเข้มข้น 1.00 มิลลิกรัมต่อลิตร มีจำนวนราก ความยาวราก ความสูงต้น จำนวนใบ พื้นที่ใบ น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นสูงที่สุด คือ 3.1 รากต่อต้น, 5.70 เซนติเมตร,  5.58 เซนติเมตร, 2.9 ใบต่อต้น, 595.80 ตารางมิลลิเมตร, 1384.78 มิลลิกรัม และ 99.89 มิลลิกรัม ตามลำดับ หลังจากนั้นนำต้นนกคุ้มไฟที่ออกรากมาย้ายปลูกและปรับสภาพในถ้วยพลาสติกใสบรรจุพีทมอสเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ทุกกรรมวิธีมีอัตราการรอดชีวิตสูงและไม่แตกต่างกันทางสถิติ เฉลี่ยคือ 80-100%

References

สลิล สิทธิสัจจธรรม. 2550. กล้วยไม้ป่าเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. บ้านและสวน, กรุงเทพมหานคร. 495 หน้า.

อริสรา ติ๊บปะละวงศ์ ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล เยาวนิตย์ ธาราฉาย และปวีณา ภูมิสุทธาผล. 2563. การเจริญเติบโตของนกคุ้มไฟที่เพาะเลี้ยงในระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวภายใต้การให้แสง LED. หน้า 113-120. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ ครั้งที่ 17. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

ไอรดา ถิ่นศรี และปวีณา ภูมิสุทธาผล. 2564. ผลของอาหารเพาะเลี้ยง benzylaminopurine และระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวต่อการเจริญเติบโตของเบญจมาศในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ 9(1): 14-23.

Al-Khayri, J.M. and A.M. Al-Bahrany. 2001. In vitro micropropagation of Citrus aurantifolia (lime). Current Science 81(9): 1242-1246.

Budluang, P., P. Pitchakarn, P. Ting, P. Temviriyanukul, A. Wongnoppawich and A. Imsumran. 2016. Anti-inflammatory and anti-insulin resistance activities of aqueous extract from Anoectochilus burmannicus. Food Science & Nutrition 5: 486–496, doi: 10.1002/fsn3.416.

Devi, T.R., M. Dasgupta, M.R. Sahoo, P.C. Kole and N. Prakash. 2021. High efficient de novo root-to-shoot organogenesis in Citrus jambhiri Lush: Gene expression, genetic stability and virus indexing. PLOS ONE 16(2): e0246971, doi: 10.1371/journal.pone.0246971.

Du, X. M., N. Irino, N. Furusho, H.S. Jun and Y.H. Shoyama. 2008. Pharmacologically active compounds in the Anoectochilus and Goodyera species. Journal of Natural Medicines 62(2): 132-148, doi: 10.1007/s11418-007-0169-0.

Guo, B., B.H. Abbasi, A. Zeb, L.L. Xu and Y.H. Wei. 2011. Thidiazuron: A multi-dimensional plant growth regulator. African Journal of Biotechnology 10(45): 8984-9000, doi: 10.5897/AJB11.636.

Ket, N.V., E.J. Hahn, S.Y. Park, D. Chakrabarty and K.Y. Paek. 2004. Micropropagation of an endangered orchid Anoectochilus formosanus. Biologia Plantarum 48(3): 339-344.

Klaharn, P., P. Pumisutapon, K. Songnun and S. Rodpradit. 2020. Effects of BA and TDZ for in vitro shoot multiplication of three Hedychium species. Acta Horticulturae 1298: 353-358, doi: 10.17660/ActaHortic.2020.1298.49.

Lee, S.W. 2005. Thidiazuron in the improvement of banana micropropagation. Acta Horticulturae 692: 67-74, doi: 10.17660/ActaHortic.2005.692.7

Mancilla-Álvarez, E., J.A. Pérez-Sato, R. Núñez-Pastrana, J.L. Spinoso-Castillo and J.J. Bello-Bello. 2021. Comparison of different semi-automated bioreactors for in vitro propagation of taro (Colocasia esculenta L. Schott). Plants 10(5): 1010, doi: 10.3390/plants10051010.

Martínez-Estrada, E., B. Islas-Luna, J.A. Pérez-Sato and J.J. Bello-Bello. 2019. Temporary immersion improves in vitro multiplication and acclimatization of Anthurium andreanum Lind. Scientia Horticulturae 249: 185-191, doi: 10.1016/j.scienta.2019.01.053.

Rodpradit, S., P. Klaharn and P. Pumisutapon. 2022. Shoot multiplication of three Hedychium species via immersion temporary bioreactor. Acta Horticulturae 1339: 167-171, doi: 10.17660/ActaHortic.2022.1339.22.

Sama, A.E., H.G. Hughes, M.S. Abbas and M.A. Shahba. 2012. An efficient in vitro propagation protocol of cocoyam [Xanthosoma sagittifolium (L) Schott]. The Scientific World Journal 2012(8): 346595, doi: 10.1100/2012/346595.

Sani, L.A., I.S. Usman, A.U. Nasir and M.M. Abdulmalik. 2020. Micropropagation of pineapple (Ananas comosus L. var. Smooth Cayenne) in temporary immersion bioreactor system (TIPS). Bayero Journal of Pure and Applied Sciences 12(2): 207-209, doi: 10.4314/bajopas.v12i2.29.

Sharma, N., K.P.S. Chandel and V.K. Srivastava. 1991. In vitro propagation of Coleus forskohlii Briq., a threatened medicinal plant. Plant Cell Reports 10(2): 67-70.

Singh, P. and P. Dwivedi. 2014. Two-stage culture procedure using thidiazuron for efficient micropropagation of Stevia rebaudiana, an anti-diabetic medicinal herb. 3 Biotech 4(4): 431-437, doi: 10.1007/s13205-013-0172-y.

Snyman, S.J., G.M. Meyer, J.R. Richards, S. Ramgareeb, M. Banasiak and B. Huckett. 2007. Use of the temporary immersion RITA® bioreactor system for micropropagation of sugarcane. South African Journal of Botany 2(73): 336-337, doi: 10.1016/J.SAJB.2007.02.185.

Takatsuki, S., J.D. Wang, T. Narui and T. Okuyama. 1992. Studies on the components of crude drug Kim Soan Lian. Journal of Japanese Botany 67(2): 121-123.

Teisson, C. and D. Alvard. 1995. A new concept of plant in vitro cultivation liquid medium: temporary immersion. pp. 105-110. In M. Terzi, R. Cella and A. Falavigna. (Eds). Current Issues in Plant Molecular and Cellular Biology. Current Plant Science and Biotechnology in Agriculture, volume 22. Springer, Dordrecht.

Uma, S., R. Karthic, S. Kalpana, S. Backiyarani and M.S. Saraswathi. 2021. A novel temporary immersion bioreactor system for large scale multiplication of banana (Rasthali AAB-Silk). Scientific Reports 11(1): 20371, doi: 10.1038/s41598-021-99923-4.

Zhang, A., H. Wang, Q. Shao, M. Xua, W. Zhang and M. Li. 2015. Large scale in vitro propagation of Anoectochilus roxburghii for commercial application: pharmaceutically important and ornamental plant. Industrial Crops and Products 70: 158–162, doi: 10.1016/j.indcrop.2015.03.032.

Zhang, F., L.V. Yali, H. Dong and S. Guo. 2010. Analysis of genetic stability through intersimple sequence repeats molecular markers in micropropagated plantlets of Anoectochilus formosanus HAYATA, a medicinal plant. Biological and Pharmaceutical Bulletin 33(3): 384- 388, doi: 10.1248/bpb.33.384.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ