การประเมินสัณฐานวิทยา การทนทานต่อโรคราน้ำค้าง และปริมาณสารสำคัญของเชื้อพันธุกรรมโหระพา ที่รวบรวมโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในฤดูฝน

ผู้แต่ง

  • อรสา กาญจนเจริญนนท์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อัญมณี อาวุชานนท์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทัศนัย ชัยเพ็ชร ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จำนอง โสมกุล ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุรพงษ์ ดำรงกิตติกุล ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การคัดเลือก, โรคราน้ำค้าง, สัณฐานวิทยา, สารสำคัญ

บทคัดย่อ

โหระพาเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีการบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การปรับปรุงพันธุ์และความหลากหลายของสายพันธุ์โหระพายังมีไม่มากนัก อีกทั้งสายพันธุ์ที่มีการเพาะปลูกอ่อนแอต่อโรคราน้ำค้างโดยเฉพาะการปลูกในฤดูฝน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินเชื้อพันธุกรรมโหระพาที่ได้รวบรวมไว้โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา การทนทานต่อโรคราน้ำค้างในฤดูฝน และปริมาณสารสำคัญ โดยใช้เชื้อพันธุกรรมโหระพา จำนวน 53 accessions ในการประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ ลักษณะใบ ความยาวใบ ความกว้างใบ ลักษณะช่อดอก สีของดอก การทนทานต่อโรคราน้ำค้าง และปริมาณสารสำคัญ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บี พบว่า เชื้อพันธุกรรมโหระพาส่วนใหญ่มีลักษณะรูปทรงใบเป็นแบบรูปไข่ ขอบใบแบบหยักคล้ายฟันเลื่อย และความลึกของขอบใบปานกลาง จำนวน 23 accessions ความยาวใบอยู่ในช่วง 4.1-6.8 เซนติเมตร ความกว้างใบอยู่ในช่วง 2.0-3.1 เซนติเมตร ลักษณะช่อดอกมี 2 แบบ คือ ช่อกลุ่ม จำนวน 8 accessions และ ช่อเดี่ยว จำนวน 40 accessions และพบว่า มีจำนวน 5 accessions ที่มีช่อดอกทั้งสองแบบ สีกลีบดอก มีสีไล่ระดับจากสีขาวไปม่วง 5 ระดับ มีลักษณะทนทานต่อโรคราน้ำค้างในสภาพการเกิดโรคตามธรรมชาติ จำนวน 10 accessions ได้แก่ OC015, OC142, OC145, OC145-A, OC145-C, OC145-D, OC153, OC159, OC161 และ OC161-A เชื้อพันธุกรรมทั้ง 10 accessions มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีน คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บี เฉลี่ยในช่วง 2.322-3.047  8.408-11.564 และ 2.588-3.819 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ จากนั้นทำการคัดเลือกโหระพาที่เป็นโรคราน้ำค้างแต่รักษาและฟื้นตัวให้อยู่รอดได้ จำนวน 13 accessions นำมาปลูกในสภาพโรงเรือนและภายนอกโรงเรือนเพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารสำคัญ พบว่า มีปริมาณสารเบต้าแคโรทีน คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บี เฉลี่ยในช่วง 1.814-2.253  7.419-8.76 และ 2.738-2.974 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ และคัดเลือกเชื้อพันธุกรรมโหระพาได้ 2 accessions ที่ปลูกในสภาพโรงเรือนและภายนอกโรงเรือน พบว่า ปริมาณสารเบต้าแคโรทีน คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บี ไม่แตกต่างกัน คือ OC058 และ OC07

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. การตรวจพบสารพิษตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนไปในในผลผลิตผักสดหลายชนิด. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล :http://www.doa.go.th/psco/images/Law/six teen%20plants%20in%20the%20el.pdf (13 ตุลาคม 2561)

คัทลียา ฉัตร์เที่ยง. 2542. การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการสร้างผลผลิตของพืชสกุลโหระพา 4 ชนิด. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 15 หน้า.

ธนิกพงศ์ ครองข้าวนาสาร. 2555. การวิเคราะห์ปริมาณวิตามินซี คลอโรฟิลล์ และเส้นใยอาหารของต้นทานตะวันงอก. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 19 หน้า.

ปณิตา ประสงค์ดี. 2558. การสกัดและฤกธิ์ทางชีวภาพของโหระพาไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา. 132 หน้า.

ปวีณ์นุช เลขะพันธุ์, เกษรา อนามธวัช-จอนสัน และเพลินพิศ โชคชัยชำนาญกิจ. 2560. ความหลากหลายของพฤติกรรมของโครโมโซมในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของโหระพา (Ocimum basilicum L.) ในประเทศไทย.วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 33(2): 35-50.

วรพล ลากุล. 2558. การศึกษาลักษณะทางปริมาณของสารเบต้าแคโรทีนในประชากรรุ่น F2 ของฟักทองลูกผสมระหว่างพันธุ์บึงกาฬ พันธุ์ชัยพฤกษ์และพันธุ์ Early-Price. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 21 หน้า.

วิลาสินี รามนัฏ. 2545. การศึกษาลักษณะเชื้อพันธุ์พืชสกุลโหระพา. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 31 หน้า.

ศิริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์. 2557. คุณค่าทางโภชนาการและสมบัติเชิงสุขภาพของผักพื้นบ้านไทย. 23-28 หน้า. ใน รายงานประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 1. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพฯ.

อรพรรณ วิเศษสังข์. 2560ก. โรคโหระพาที่พบการระบาดช่วงอากาศเย็น. วารสารเคหการเกษตร. 41(3): 167-170.

อรพรรณ วิเศษสังข์. 2560ข. โรคเหี่ยวของโหระพา. วารสารเคหการเกษตร. 41(4): 171-174.

Filip, S. 2017. Basil (Ocimum basilicum L.) a source of valuable phytonutrients. Int. J. Clin. Nutr. Diet.

: 118.

Nagata, M. and I. Yamashita. 1992. Simple method for simultaneous determination of chlorophyll and carotenoids in tomato fruit. J. Japan Soc. Food Sci. Technol. 39: 925-928.

Sanni, S., P.A. Onyeyili and F.S. Sanni. 2008. Phytochemical analysis, elemental determination and some in vitro antibacterial activity of Ocimum basilicum L. leaf extracts. Res. J. Phytochem. 2: 77-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ