สารสกัดหยาบจากเศษเหลือเปลือกมะขาม (Tamarindus indica L.) ตะไคร้บ้าน (Cymbopogon citratus Stapf.) และตะไคร้หอม (Cymbopogon nardus Rendle.) ยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโต ของต้อยติ่ง (Ruellia tuberosa Linn.)

ผู้แต่ง

  • ศิริพรรณ สุขขัง ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • สมนึก พรมแดง ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • อตินุช แซ่จิว ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ศรีสม สุวรรณวงศ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

อัลลีโลพาธี, สารชีวภาพกำจัดวัชพืช, สารสกัดด้วยเมทานอล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากเศษเหลือเปลือกมะขาม ตะไคร้บ้าน และตะไคร้หอม ในการยับยั้งการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้อยติ่ง โดยสกัดสารด้วยน้ำและเมทานอล 80 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบผลของสารสกัดในจานเพาะเมล็ดที่ความเข้มข้น 0, 1.25, 2.5, 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบด้วยน้ำและเมทานอลจากเศษเหลือทั้ง 3 ชนิดสามารถยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของต้อยติ่งได้ สารสกัดด้วยเมทานอล 80 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตได้ดีกว่าสารสกัดหยาบด้วยน้ำ โดยมีประสิทธิภาพยับยั้งได้มากขึ้นเมื่อความเข้มข้นสูงขึ้น สารสกัดเมทานอล 80 เปอร์เซ็นต์ จากตะไคร้บ้านและตะไคร้หอม ที่ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของต้อยติ่งได้ดีที่สุด สรุปได้ว่าสารสกัดจากตะไคร้บ้านและตะไคร้หอมอาจเป็นทางเลือกในการนำไปใช้อย่างปลอดภัยสำหรับการควบคุมต้อยติ่งเพื่อลดการใช้สารกำจัดวัชพืชสังเคราะห์

References

กิติกานต์ ศรีวิชัย. 2554. ปลูกตะไคร้ตัดใบจำหน่ายสร้างรายได้งาม. แหล่งที่มา: http://poonitafarm.blogspot.com/2011/03/blog-post_09.html

อินทิรา ขูดแก้ว, กนกรัตน์ บุญรักษา และปรียานุช สำลี. 2559. ผลของสารสกัดหยาบจากไมยราบและหญ้าขนต่อการงอกและการเติบโตของต้อยติ่ง. แก่นเกษตร 44 ฉ.พิเศษ 1: 777-782.

อมลณัฐ ฉัตรตระกูล. 2555. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของมะขาม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2554. แหล่งที่มา: http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5403002.pdf

Burgos, N.R., R.E. Talbert, K.S. Kim and Y.I. Kuk. 2004. Growth inhibition and root ultrastructure of cucumber seedling exposed to allelochemicals from rye (Secale cereal). J. Chem. Ecol. 30 (3): 671-689.

Dayan, F.E., C.L. Cantrell and S.O. Duke. 2009. Natural products in crop protection. Bioorg. Med. Chem. 17: 4022–4034.

Erez, M.E. and M. Fidan. 2015. Allelopathic effects of sage (Salvia macrochlamys) extract on germination of Portulaca oleracea seeds. Allelopathy J. 35 (2): 285-296.

Farooq, M., K. Jabran, Z.A. Cheema, A. Wahid and K.H.M. Siddique. 2011. The role of allelopathy in agricultural pest management. Pest Manag. Sci. 67: 493-506.

Fujii, Y., T. Shibuya, K. Nakatani, T. Itani, S. Hiradate and M.M. Parvez. 2004. Assessment method for allelopathic effect from leaf litter leachates. Weed Biol. Manag. 4: 19–23.

Fujii, Y. 2009. Overview of research on allelochemicals. W3-01, pp. 1-4. In: Macro Symposium: Challenges for Agro-Environmental Research in Monsoon Asia 5-7 October 2009. National Institute of Agro-Environmental Sciences (NIAES), Ibaraki, Japan.

Kathiresan, R. 2012. Utility tag, farming elements and itk for sustainable management of weeds in changing climate. Pak. J. Weed Sci. Res. 18: 271-282.

Kaur, S., H.P. Singh, D.R. Batish and R.K. Kohli. 2012. Artemisia scoparia essential oil inhibited root growth involves reactive oxygen species (ROS)-mediated disruption of oxidative metabolism: In vivo ROS detection and alterations in antioxidant enzymes. Biochem. Syst. Ecol. 44: 390–399.

Krenchinski, F.H., L.P. Albrecht, A.J.P. Albrecht, P.C. Zonetti, A. Tessele, A.A.M. Barroso and H.F. Placido. 2017. Allelopathic potential of Cymbopogon citratus over beggarticks (Bidens sp.) germination. AJCS 11 (03): 277-283.

Li, Z., Q. Wang, X. Ruan, C. Pan and D. Jiang. 2010. Phenolics and plant allelopathy. Molecules 15: 8933-8952.

Lin, W.X., K.U. Kim and D.H. Shin. 2000. Rice allelopathic potential and its modes of action on Barnyardgrass (Echinochloa crus-galli). Allelopathy J. 7 (2): 215-224.

Putnam, A.R. 1988. Allelochemicals from plants as herbicides. Weed Technol. 2: 510-518.

Soltys, D., A. Rudzin´ska-Langwald, W. Kurek, A. Gniazdowska, E. Sliwinska and R. Bogatek. 2011. Cyanamide mode of action during inhibition of onion (Allium cepa L.) root growth involves disturbances in cell division and cytoskeleton formation. Planta 234: 609–621.

Suwitchayanon, P. and H. Kato-Noguchi. 2014. Allelopathic activity of leaves, stalks and roots of Cymbopogon nardus. Emir. J. Food Agric. 26 (5): 436-443.

Tiwari, P., B. Kumar, M. Kaur, G. Kaur, and H. Kaur. 2011. Phytochemicals screening and extraction: a review. Int. Pharm. Sci. 1 (1): 98-106.

Waris, A., L. Waris, M. A. Khan and A.A. Shad. 2016. Allelopathic effect of methanol and water extracts of Camellia sinensis L. on seed germination and growth of Triticum aestivum L. and Zea mays L. J. Biores. Manag. 3 (1): 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ