การทำนายลักษณะซากของกระบือปลักขุนอายุหนึ่งปีในขณะมีชีวิตด้วยเครื่องอัลตราซาวน์

ผู้แต่ง

  • ทวีพร เรืองพริ้ม ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วิสูตร ไมตรีจิตต์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุธิษา มาเจริญ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ณชัย ศราพันธุ์ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

คำสำคัญ:

กระบือปลักขุน, อายุหนึ่งปี, ลักษณะซาก, เรียล-ไทม์อัลตราซาวน์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายลักษณะซากในขณะมีชีวิตของกระบือปลักขุนที่อายุหนึ่งปีโดยเรียล-ไทม์อัลตราซาวน์ การทดลองใช้กระบือปลักจำนวน 19 ตัว แบ่งออกเป็นกลุ่มเพศเมียและกลุ่มเพศผู้ การศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของลักษณะซากได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไขมันแทรก (IMF) พื้นที่หน้าตัดกล้ามเนื้อสันนอกส่วนริบอาย (REA) ความหนาไขมันสันหลังที่บริเวณกระดูกซี่โครงที่ 12-13 (RIBFT) ความหนาไขมันที่บริเวณสะโพก (RMPFT) และความลึกของกล้ามเนื้อ gluteus medius ที่สะโพก (RMPDEPTH) มีค่าเท่ากับ 3.15%, 7.37 นิ้ว2, 0.28 นิ้ว, 0.25 นิ้วและ 3.82 นิ้วตามลำดับ ของกระบือกลุ่มเพศเมียและ 2.82 %, 7.75 นิ้ว2, 0.37 นิ้ว, 0.27 นิ้วและ 3.73 นิ้วตามลำดับของกลุ่มเพศผู้ ซึ่งค่าเฉลี่ยของลักษณะซากทั้งสองกลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)  ผลจากการทำนายลักษณะซากของกระบือปลักขุนที่อายุหนึ่งปีทั้งสองเพศ ได้แก่  IMF, REA, RIBFT, RMPFT และ RMPDEPTH มีค่าเท่ากับ  2.75 %, 7.44 นิ้ว2, 0.33 นิ้ว, 0.28 นิ้วและ 3.77 นิ้ว ตามลำดับ  ซึ่งมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการประมาณค่าเท่ากับ 0.394 %, 1.242 นิ้ว2, 0.087 นิ้ว, 0.054 นิ้ว และ 0.091 นิ้ว ตามลำดับ สรุปได้ว่าเรียล-ไทม์อัลตราซาวน์สามารถนำมาใช้วัดลักษณะซากของกระบือปลักขุนในขณะมีชีวิต และสามารถทำนายลักษณะซากของกระบือปลักขุนเมื่ออายุหนึ่งปี ดังนั้นข้อมูลของอัลตราซาวน์จะเป็นประโยชน์ในการจัดลำดับกระบือสาวหรือกระบือหนุ่มเพื่อคัดเลือกไว้ทำพันธุ์หรือจัดการในการขุน

References

Chambaz, A., P.A. Dufey, M. Kreuzer and J. Gresham. 2002. Sources of variation influencing the use of real-

time ultrasound to predict intramuscular fat in live beef cattle. Can. J. Anim. Sci. 82: 133-139.

Crews, D. H. Jr., E. J. Pollak and R. L. Quaas. 2004. Evaluation of Simmental carcass EPD estimated using live

and carcass data. J. Anim. Sci. 82:661-667.

Hassen, A., D.E. Wilson, V.R. Amin, G.H. Rouse and C.L. Hays. 2001. Predicting percentage of intramuscular

fat using two types of real-time ultrasound equipment. J. Anim. Sci. 79: 11-18.

Herring, W.O., D.C. Miller, J.K. Bertrand and L.L. Benyshek.1994. Evaluation of machine, technician, and

interpreter effects on ultrasonic measures of backfat and longissimus muscle area in beef cattle. J. Anim. Sci. 72: 2216-2226.

Houghton, P.L. 1988. Application of ultrasound in commercial feedlots and beef breeding programs. Pp 89-99.

Beef Improvement Federation Proc. Albuquerque. NM.

Houghton, P.L. and L.M. Turlington. 1992. Application of ultrasound for feeding and finishing animals: A review.

J. Anim. Sci. 70: 930.

Jorge, A.M., C. Andrighetto, C.D.L. Francisco, A.P. Neto, R.D.C. Mourao and D.A. Bianc. 2007. Predicting

beef carcass retail products of Mediterranean buffaloes by real-time ultrasound measures. Ital. J.

Anim. Sci. 6(2): 1157-1159.

Lambertz, C., P. Panprasert, W.Holtz, E. Moors, S. Jaturasitha, M. Wick and M. Gauly. 2014. Carcass

Characteristics and Meat Quality of Swamp Buffaloes (Bubalus bubalis) Fattened at Different Feeding

Intensities Asian Australas. J. Anim. Sci.27: 551-560

Li, Q., Y. Wang, L. Tan, J. Leng, Q. Lu, S. Tian, S. Shao, C. Duan, W. Li and H. Mao. 2018. Effects of age

on slaughter performance and meat quality of Binlangjang male buffalo. Saudi J. Biol. Sci. 25: 248-

Lusk, J.L., R. Little, A. Williams, J.D. Anderson and B. McKinley. 2003. Utilizing ultrasound technology to

improve livestock marketing decisions. Review of Agricultural Economics.25: 203-217

Perkins, T.L., R.D. Green, K.F. Hamlin, H.H. Shepard and M.F. Miller. 1992. Ultrasonic prediction of carcass

merit in beef cattle: evaluation of technician effects on ultrasonic estimates of carcass fat thickness

and longissimus muscle area. J. Anim. Sci. 70: 2758-2765.

Savell, J.W., H.R. Cross and G.C. Smith.1986. Percentage ether extractable fat and moisture content of beef

longissimus muscle as related to USDA marbling score. J. Food Sci. 51: 838.

Wall, P.B., G.H. Rouse, D.E. Wilson, R.G. Tait.Jr.and W.D. Busby. 2004. Use of ultrasound to predict body

composition changes in steers at 100 and 165 days before slaughter. J. Anim. Sci. 82: 1621-1629.

Wilson, D.E., G. Rouse, K. Steinkamp, S. Greiner, H. Chang and C. Crawley.1995. Real-time ultrasound

measurements for body composition traits in the Iowa Cattlemen’s Association test station bulls. A.S.

Leaflet 215.1995 Beef Research Report. Iowa State University. Ames, Iowa.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ