การศึกษารูปแบบการปลูกทุเรียนของเกษตรกร อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ธนกฤต นิ่มกาญจนา ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คนึงรัตน์ คำมณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ทุเรียน, รูปแบบการปลูกทุเรียน, การปลูกเชิงเดี่ยว, เกษตรผสมผสาน, วนเกษตร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปลูกทุเรียน ต้นทุนการผลิตทุเรียน และการวิเคราะห์ศักยภาพและสภาพแวดล้อมการปลูกทุเรียนรูปแบบต่างๆ ของเกษตรกร อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากเกษตรกร จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics)  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์ศักยภาพและสภาพแวดล้อม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการปลูกทุเรียนของเกษตรกร จำแนกได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ดังนี้ 1) การปลูกทุเรียนเชิงเดี่ยว 2) การปลูกทุเรียนแบบผสมผสาน และ 3) การปลูกทุเรียนแบบวนเกษตร ส่วนต้นทุนการผลิตทุเรียนของเกษตรกร การปลูกทุเรียนเชิงเดี่ยวมีต้นทุนสูงที่สุด รองลงมาการปลูกทุเรียนแบบผสมผสาน และสุดท้ายการปลูกทุเรียนแบบวนเกษตร มีต้นทุนต่ำที่สุด ขณะที่การวิเคราะห์ศักยภาพและสภาพแวดล้อมในการปลูกทุเรียนรูปแบบต่าง ๆ ของเกษตรกรสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) การปลูกทุเรียนเชิงเดี่ยว ให้ผลผลิต และรายได้สูง แต่ก็มีต้นทุนการผลิตที่สูง ขาดความหลากหลายของสายพันธุ์หรือชนิดพืชปลูก 2) การปลูกทุเรียนแบบผสมผสาน มีความหลากหลายของสายพันธุ์และชนิดพืชปลูก เกษตรกรมีรายได้ที่หลากหลายตลอดปี แต่ขาดการจัดการต้นทุเรียนที่ดี และ 3) การปลูกทุเรียนแบบวนเกษตร ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง มีสายพันธุ์ที่หลากหลาย ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่ขาดการจัดการดูแลที่ดี ทำให้ผลทุเรียนไม่สมบูรณ์ จะเห็นได้ว่า การปลูกทุเรียนรูปแบบที่แตกต่างกันมีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม การจัดการฟาร์ม การลงทุน และผลของการทำฟาร์มที่เกษตรกรได้รับ ดังนั้นเกษตรกรอาจเลือกปลูกทุเรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง หรือตามเป้าหมายที่ต้องการได้

References

กรมป่าไม้. 2562. คู่มือสำหรับประชาชนในการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER037/GENERAL/DATA0001/00001604.PD, (2 มกราคม 2564).

กรมวิชาการเกษตร. 2560. การปลูกทุเรียนมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://info.doa.go.th/goodgap/attachment.php?aid=13, (30 ธันวาคม 2563).

กรมวิชาการเกษตร. 2562. การผลิตทุเรียนภาคใต้ตอนล่าง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/oard8/wpcontent/uploads/2020/09/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5.pdf 4, (1 มกราคม 2564).

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER049/GENERAL/DATA0000/00000022.PD, (18 ตุลาคม 2563).

กระทรวงพาณิชย์. 2563. สถานการณ์ในการผลิตทุเรียนในปี 2562. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf, (18 มกราคม 2564).

จรัญ จันทลักขณา. 2560ก. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขมวลชนและการเกษตรยั่งยืน. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ. 151 หน้า.

จรัญ ราชนุ้ย. 2560ข. เปรียบเทียบรูปแบบในการปลูกทุเรียนในตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 185 หน้า. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11713/1/420098.pdf, (30 ธันวาคม 2563).

สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง. 2563. ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรและข้อมูลทั่วไปของจังหวัดตรัง ปี 2562. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://web.cpd.go.th/trang/images/29september2563/kk2563.pdf, (10 กุมภาพันธ์ 2564).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. พื้นที่ปลูกทุเรียนรวมทั้งประเทศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://misapp.oae.go.th/product/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99, (2 มกราคม 2564).

Radchanui, C. and P. Keawvongsri. 2017. Pattern and Production of Durian in Saikhao Community, Kokpho District, Pattani Province. International Journal of Agricultural Technology 13(6): 791-812. (Online): Available Source: http://www.ijat-aatsea.com ISSN 2630-0192 (Online) (30 December 2020).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ