บทบาทนักส่งเสริมการเกษตรในการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาด: กรณีศึกษาจังหวัดลพบุรี

Extension agent’s Role in Linking Smallholder Farmers to Markets: Case Study of Lop Buri Province

ผู้แต่ง

  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คนึงรัตน์ คำมณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ดนชิดา วาทินพุฒิพร ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

บทบาท, นักส่งเสริมการเกษตร, การเชื่อมโยงตลาด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทนักส่งเสริมการเกษตรในการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาดในจังหวัดลพบุรี ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักวิชาการส่งเสริมเกษตร ในจังหวัดลพบุรี จำนวน 51 คน ในปี 2562 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ผลการวิจัยพบว่า มีนักส่งเสริมการเกษตรเพียงบางส่วนที่เคยทำงานเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาด โดยนักส่งเสริมการเกษตรปัจจุบันมีบทบาทเป็นผู้ประสานงาน และมีความคิดเห็นว่าบทบาทที่ควรปฏิบัติในการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาด ได้แก่ การเป็นผู้ประสานงาน และสนับสนุนกลุ่มทางการตลาด ขณะที่บทบาทสำคัญที่นักส่งเสริมการเกษตรไม่แน่ใจว่าควรปฏิบัติ แต่เห็นควรให้มีการพัฒนาทักษะดังกล่าว ได้แก่ ช่วยปรับทักษะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการทำธุรกิจให้แก่เกษตรกร การพัฒนากลุ่มททางการตลาด และการสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่าภายในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นหากต้องการให้บทบาทของนักส่งเสริมการเกษตรสามารถเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องพัฒนาทักษะ ปรับมุมมองการทำงาน และเพิ่มการบูรณาการการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตรกับองค์กรอื่นด้านการค้า หรือการตลาด โดยกำหนดกรอบการทำงาน และบทบาทการทำงานที่ชัดเจน

References

ดุษฏี ณ ลำปาง. มปป. การส่งเสริมการเกษตรสำหรับผู้ใหญ่. ภาควิชาส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://web.agri.cmu.ac.th/extens/Course_all/course_352401.htm (27 พฤษภาคม 2561).

พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง คนึงรัตน์ คำมณี จิรัฐินาฎ ถังเงิน และเตชินทร์ ศรีเหนี่ยง. 2563. บทบาทนักส่งเสริมการเกษตรต่อการพัฒนาตลาดเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 3(3): 12-21.

พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง โชตนา ลิ่มสอน เสาวลักษณ์ ฤทธิ์อนันต์ชัย และชัยกร สีเหนี่ยง. 2559. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลาง. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ 37(2): 200 – 211.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 2561. จังหวัดอำนาจเจริญ สร้างการรับรู้เชื่อมโยงการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ตามนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://thainews.prd.go.th/th/website_th/news/news_detail/WNECO6109200010014 (20 กันยายน 2561).

สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี. 2561. อัตรากำลังของสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.lopburi.doae.go.th/humannew1.htm, (8 พฤศจิกายน 2561).

Ferris, S., P. Robbin, R. Best, D. Seville, A. Buxton, J. Shriver and E. Wei. 2014. Linking smallholder farmers to markets and the implications for extension and advisory services. MEAS Discussion Paper 4. United States Agency for International Development (USAID) project “Modernizing Extension and Advisory Services” (MEAS). 46 p. (Online): Available Source: https://www.agrilinks.org/sites/default/files/resource/files/MEAS%20Discussion%20Paper%204%20-%20Linking%20Farmers%20To%20Markets%20-%20May%202014.pdf. (27 May 2019).

Fisher, E. and M. Qaim. 2012. Linking smallholders to markets: determinants and impacts of farmer collective action in Kenya. World Development 40(6): 1255-1268.

Food and Agricultural Organization of the United Nations (FAO). 2013. The food security through commercialization of agriculture programme in the Caribbean region. Food and Agriculture 86 Organization of the United Nations. Rome. (Online): Available Source: http://www.fao.org/docrep/018/i3424e/i3424e.pd, (27 May 2019).

Mkhari, R., M. Duba, D. Chauke, E. Van Heerden, P. Maponya, N. Baloyi, A. Maluleke, D. Chauke, R. Mkhari, J. Carstens, M. Van Der Walt, L. Sole, M. Duba, J. Malebana and M. Mphahlele. 2014. The establishment of vegetable and fruit markets and nurseries: A case study in the Waterberg district, Limpopo province, South Africa. Journal of Agricultural Science 6(7). (Online): Available Source: https://doi.org/10.5539/jas.v6n7p38, (27 November 2019).

Poulton, C., A. Dorward and J. Kydd. 2010. The future of small farms: new directions for services, institutions and intermediation. World Development 38(10): 1413-1428.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ