การศึกษาความแปรปรวนขององค์ประกอบทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์แหล่งโปรตีน

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ ท่าน้ำตื้น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วรรณี ชิวปรีชา ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วราพันธุ์ จินตณวิชญ์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

องค์ประกอบทางโภชนะ, วัตถุดิบอาหารสัตว์, แหล่งโปรตีน

บทคัดย่อ

ความแปรปรวนขององค์ประกอบทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อค่าโภชนะของอาหารสัตว์ที่ผลิตได้ จากการรวบรวมข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในวัตถุดิบอาหารสัตว์แหล่งโปรตีน 4 ชนิด ได้แก่ กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองไขมันเต็ม กากดีดีจีเอส (DDGS) และปลาป่น ที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในสูตรอาหารสัตว์
ในประเทศไทย ซึ่งเกษตรกรและหน่วยงานภาคเอกชนนำมาขอรับบริการตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารสัตว์  พบว่ามีความแปรปรวนและคุณภาพของวัตถุดิบบางส่วนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดไว้ โดยพบว่ากากถั่วเหลืองทั้งหมด 285 ตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 97.54 มีระดับโปรตีนตามเกณฑ์มาตรฐานที่โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 42 ในขณะที่ถั่วเหลืองไขมันเต็มทั้งหมด 467 ตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 71.10 มีระดับโปรตีนตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 36 จาก DDGS ทั้งหมด 30 ตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 96.67 มีระดับโปรตีนตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 24 สำหรับปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 1, 2 และ 3 ทั้งหมด (117, 105 และ 47 ตัวอย่าง) พบว่ามีระดับโปรตีนตามเกณฑ์มาตรฐานคือที่โปรตีนมากกว่าร้อยละ 60, 55-60 และ 50–55 ตามลำดับ
ดังนั้นการวิเคราะห์องค์ประกอบทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์ก่อนนำมาใช้ผสมอาหารจึงมีความสำคัญ
เพื่อให้อาหารสัตว์ที่ผลิตได้มีองค์ประกอบทางโภชนะเป็นไปตามความต้องการโภชนะของสัตว์

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2558. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร สัตว์ควบคุมเฉพาะ ประเภทวัตถุดิบ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 (ตอนพิเศษ 322 ง). 8 หน้า.

กมลทิพย์ ประสมเพชร. 2554. คู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 105 หน้า.

เครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัยสาขาโภชนศาสตร์, 2560. ฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบ และความ ต้องการทางโภชนะที่แนะนำสำหรับสัตว์ปีกในประเทศไทย. บริษัท เมจิค พับบลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ. 168 หน้า.

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2541. ชีวเคมีทางสัตวศาสตร์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 162 หน้า.

พันทิพา พงษ์เพียรจันทร์. 2539. หลักการอาหารสัตว์ เล่ม 2 หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 576 หน้า.

วราพันธุ์ จินตณวิชญ์ และนวลจันทร์ พารักษา. 2562. ฐานข้อมูลวัตถุดิบอาหารสัตว์และวัตถุดิบทางเลือกสำหรับสัตว์ปีก และสุกร. โรงพิมพ์ กิตติวรรณการพิมพ์, นครปฐม. 136 หน้า.

วรางรัตน์ เสนาสิงห์. 2562. ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวน, CV %, Coefficient of Variation. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://uatscimath.ipst.ac.th/2021/article-mathematics/item/10626-c-v. (9 มิถุนายน 2566).

วลัยกานต์ เจียมเจตจรูญ, สุวรรณี เกศกมลาสน์ และสดุดี พงษ์เพียรจันทร์. 2559. การประเมินคุณค่าทางโภชนะของ วัตถุดิบ อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 40 หน้า.

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. 2563. เอกสารคำสอน รหัสวิชา ST2042207 รายวิชาเคมีวิเคราะห์. คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเหนือ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://web.rmutp.ac.th/woravith/? page_id=135. (9 มิถุนายน 2566).

AOAC. 2016. Salt (Chlorine as Sodium Chloride) in Seafood, Method 937.09. AOAC Official Methods of Analysis, 20th ed. Association of Official Agricultural Chemists. Washington, D.C

AOAC. 2019a. Ash of Animal Feed, Method 942.05. AOAC Official Methods of Analysis, 21th ed. Association of Official Agricultural Chemists. Washington, D.C.

AOAC. 2019b. Crude Fat in Feeds, Cereal Grains and Forages (Soxtec Method), Method 2003.05. AOAC Official Methods of Analysis, 21th ed. Association of Official Agricultural Chemists. Washington, D.C.

AOAC. 2019c. Fiber (Crude) in Animal Feed and Pet food. Fritted Glass Crucible Method, Method 978.10. AOAC Official Methods of Analysis, 21th ed. Association of Official Agricultural Chemists. Washington, D.C.

AOAC. 2019d. Loss on Drying Moisture for Feeds at 135 C for 2 hours), Dry Matter on Oven Drying for Feeds at 135 C for 2 hours), Method 930.15.

AOAC Official Methods of Analysis, 21th ed. Association of Official Agricultural Chemists. Washington, D.C.

AOAC. 2019e. Protein (Crude in Animal Feeds, Forage (Plant Tissue) Grain and Oilseeds, Block Digestion Method Using Copper Catalyst and Steam Distillation into Boric Acid, Method 2001.11 AOAC Official Methods of Analysis, 21th ed. Association of Official Agricultural Chemists. Washington, D.C.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ