ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, มะม่วงคุณภาพ, อำเภอป่าซางบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจ และการผลิตมะม่วง 2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงคุณภาพ 3) ความคิดเห็นในการผลิตมะม่วงคุณภาพ 4) การใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพ 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพ และ6) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตมะม่วงคุณภาพของเกษตรกร ประชากร คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงกับสำนักงานเกษตรอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 368 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.06 ได้จำนวน 159 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 58.59 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 4.35 ไร่ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1,431.77 กิโลกรัม/ไร่ ราคาเฉลี่ย 7.23 บาท/กิโลกรัม 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงคุณภาพ ในภาพรวมเกษตรกรมีความรู้อยู่ในระดับมาก (=11.96) โดยได้รับความรู้จากสื่อบุคคล มากกว่าแหล่งอื่น ๆ 3) ความคิดเห็นในการผลิตมะม่วงคุณภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.68) โดยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านความอุดมสมบูรณ์ของต้นมากที่สุด รองลงมา คือ การลดต้นทุน ด้านการลดความเสี่ยง 4) เกษตรกรทั้งหมดมีการเลือกพื้นที่ปลูกเหมาะสม ดินมีการระบายน้ำดี และพื้นที่ลุ่มจัดการให้มีการระบายน้ำอย่างดี เป็นระบบร่องยกแปลงปลูกหรือพื้นที่ดอนปรับสภาพให้เรียบ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพของเกษตรกร ได้แก่ อายุ จำนวนแรงงานในครัวเรือน พื้นที่ปลูกมะม่วง ราคาเฉลี่ย และผลผลิตเฉลี่ย 6) ปัญหาของเกษตรกร ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และข้อเสนอแนะอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการผลิตและการตลาด
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. การผลิตมะม่วงแบบมืออาชีพ. เอกสารวิชาการ. กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพมหานคร. 188 หน้า.
ณัฐวุฒิ เชื้อเมืองพาน. 2556. การผลิตมะม่วงเพื่อคุณภาพตามมาตรฐานส่งออกของเกษตรกรในอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 277 หน้า
ทวีศักดิ์ แสงอุดม และ วรางคณา มากกำไร. 2561. การผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก. เอกสารวิชาการ. กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชสวน, กรุงเทพมหานคร. 74 หน้า.
ธนภูมิ เวียตตัน, นคเรศ รังควัต, พุฒิสรรค์ เครือคํา และ สายสกุล ฟองมูล. 2564. การยอมรับเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงอําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมเกษตร 3(3):81-92.
ศุภพิชญ์ บุญทั่ง, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ และจินดา ขลิบทอง. 2559. การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. หน้า 1267-1289. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
สำนักงานเกษตรอำเภอป่าซาง. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ ปี 2564. ลำพูน. 189 หน้า.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2565. วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทยรายภูมิภาค ประจำเมษายน 2565. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/wiekhraaahesrsthkicch phuumiphaakhpracchameduuenemsaay_0.pdf (10 ตุลาคม 2565).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. มะม่วง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://mis-app.oae.go.th/product/มะม่วง(10 ตุลาคม 2565).
หนึ่งฤทัย ทิพย์กรรณ. 2556. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงตามระบบการปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 182 หน้า.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1130 p.