ผลของการเสริมแร่ธาตุก้อนต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและต้นทุนการผลิตโคนมเพศผู้ตอนในระยะรุ่น

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ แพงคำศรี ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
  • อัญชลี คงประดิษฐ์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ภูมพงศ์ บุญแสน ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
  • วิสูตร ไมตรีจิตต์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
  • สุริยะ สะวานนท์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

แร่ธาตุก้อน, โคนมเพศผู้ตอน, สมรรถภาพการเจริญเติบโต, ต้นทุนการผลิต

บทคัดย่อ

ลูกโคนมเพศผู้ที่เกิดมาไม่เป็นที่ต้องการของผู้เลี้ยงโคนม และมีสมรรถภาพการเจริญเติบโต รวมทั้งประสิทธิภาพการใช้อาหารต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับโคเนื้อ เนื่องจากศักยภาพทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันของโคเนื้อและโคนม และยังอาจมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงโคนมเพศผู้ในประเทศไทยมักได้รับโภชนะไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะแร่ธาตุที่จำเป็น ซึ่งเกษตรกรไม่ได้ให้ความสำคัญในการให้โคได้รับอย่างเพียงพอ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการเสริมแร่ธาตุก้อนในโคนมเพศผู้ตอนระยะรุ่นต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและต้นทุนการผลิต โดยใช้โคนมเพศผู้ตอนลูกผสมพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยน (ระดับสายเลือดสูงกว่า 75 เปอร์เซ็นต์) น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 175.00±19.38 กิโลกรัม จำนวน 36 ตัว แบ่งโคออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 18 ตัว กลุ่มที่ 1 โคได้รับอาหารข้นที่มีโปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ 1.5 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว 100 กิโลกรัม และให้หญ้าเนเปียร์หมักกินอย่างเต็มที่ กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารข้นที่มีโปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ 1.5 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว 100 กิโลกรัม และให้หญ้าเนเปียร์หมักกินอย่างเต็มที่ และเสริมด้วยแร่ธาตุก้อนให้สัตว์เลียได้อย่างอิสระ ใช้เวลาในเลี้ยงนาน 3 เดือน พบว่าน้ำหนักตัวของโคกลุ่มเสริมแร่ธาตุก้อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวมีแนวโน้มดีกว่าโคกลุ่มที่ไม่เสริมแร่ธาตุก้อน ขณะที่โคที่ได้รับการเสริมแร่ธาตุก้อนมีต้นทุนค่าอาหาร (อาหารข้น อาหารหยาบ และแร่ธาตุก้อน) และต้นทุนในการผลิตทั้งหมดต่ำกว่าโคที่เลี้ยงโดยไม่ได้เสริมแร่ธาตุก้อน (0.74 และ 1.26 บาทต่อน้ำหนักตัวเพิ่ม 1 กิโลกรัม ตามลำดับ) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเสริมแร่ธาตุสามารถเพิ่มสมรรถภาพการเจริญเติบโต และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้

References

คงปฐม กาญจนเสริม ภูมพงศ์ บุญแสน อัญชลี คงประดิษฐ์ ชนณภัส หัตถกรรม และสุริยะ สะวานนท์. 2562. ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อโคนมเพศผู้และโคกำแพงแสนเพศผู้ขุน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37 (2): 313 – 323.

จีระชัย กาญจนพฤฒิพงศ์. 2549. การจัดการฝูงโคนม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชนณภัส หัตถกรรม คงปฐม กาญจนเสริม ภูมพงศ์ บุญแสน และสุริยะ สะวานนท์. 2560 (ก). ผลของระดับอาหารข้นต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและต้นทุนการผลิตโคนมเพศผู้ตอนในระยะรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร (ฉบับพิเศษ) 48(2): 572-579.

ชนณภัส หัตถกรรม คงปฐม กาญจนเสริม ภูมพงศ์ บุญแสน และสุริยะ สะวานนท์. 2560 (ข). ผลของการได้รับอาหารข้นที่ระดับโปรตีนแตกต่างกันต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและต้นทุนการผลิตโคนมเพศผู้ตอน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6(3): 1 – 12.

สุมน โพธิ์จันทร์. 2551. การให้อาหารโคนมเพศผู้เพื่อผลิตเนื้อ. แหล่งที่มา: http://agebook.lib.ku.ac.th/ebooks/2011/ 2011-013-0064/index.html, 15 กันยายน 2562.

สุริยะ สะวานนท์ ภูมพงศ์ บุญแสน และอัญชลี คงประดิษฐ์. 2560. คู่มือ การผลิตเนื้อโคคุณภาพสูงจากโคนมเพศผู้ขุน. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 31 น.

สุริยะ สะวานนท์. 2561. จุลินทรีย์วิทยาในกระเพาะรูเมนและการใช้ประโยชน์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 290 น.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2563. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

ศุภลักษณ์ พิสแก้ว ภูมพงศ์ บุญแสน คงปฐม กาญจนเสริม ทวีพร เรืองพริ้ม และสุริยะ สะวานนท์. 2559. สมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพเนื้อโคนมเพศผู้ขุนที่ได้รับอาหารที่แตกต่างกัน. แก่นเกษตร (ฉบับพิเศษ) 44(2): 146-153.

อัญชลี คงประดิษฐ์ วาณี ชัยวัฒนสิน ภูมพงศ์ บุญแสน และสุริยะ สะวานนท์. 2560. ผลของระดับโปรตีน และปริมาณอาหารข้น ต่อสมรรถภาพการผลิตของโคนมเพศผู้ตอนในระยะโครุ่นที่ได้รับฟางข้าวเป็นแหล่งของอาหารหยาบ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร (ฉบับพิเศษ) 48(2): 124 – 132.

AOAC. 2016. Official Methods of Analysis of AOAC International. 20th. Association of Official Analytical Chemists. Rockville. Maryland, USA.

National Research Council (NRC). 1988. Nutrient Requirement of Dairy Cattle. National Academy of Science. Washington, D.C., U.S.A. 157 p.

R Core Team. 2019. R: a Language and Environment for Statistical Computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria.

Van Soest, P.J., J.B. Robertson and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. J. Dairy Sci. 74: 3583 – 3597.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ