การคัดเลือกแคลลัสกล้วยหอมทองทนต่อสภาวะขาดน้ำในสภาพปลอดเชื้อ
คำสำคัญ:
กล้วยหอมทอง, ทนสภาวะขาดน้ำ, สภาพปลอดเชื้อบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกแคลลัสกล้วยหอมทองที่ทนต่อสภาวะขาดน้ำ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแคลลัสกล้วยหอมทองร่วมกับสาร polyethylene glycol (PEG) 6000 เพื่อคัดเลือกแคลลัสทนต่อสภาวะขาดน้ำ ในสภาพปลอดเชื้อ ผลการทดลองพบว่า เมื่อนำยอดกล้วยหอมทองที่ปลอดเชื้อมาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม BA 5 มก./ล.สามารถชักนำให้เกิดจำนวนยอดมากที่สุด และเกิดแคลลัสที่มีจุดกำเนิดยอดสีเหลืองอมเขียวที่บริเวณฐาน นำแคลลัสดังกล่าวขนาด 0.5 ซม. เลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม BA 5 มก./ล. และ PEG ความเข้มข้น 0 (control) 5,10,15 และ 20 % (w/v) เป็นเวลา 2 เดือน พบว่า อาหารสูตร MS ที่เติม BA 5 มก./ล. ปราศจากสาร PEG มีการเจริญเติบโตเกิดยอดเฉลี่ยจำนวน 5.1 ยอด สูตรอาหารที่เติม PEG ความเข้มข้น 5-15% พบว่าแคลลัสพัฒนาเกิดเป็นยอดจำนวนลดลง ที่ระดับ PEG 10 – 15% และแคลลัสเปลี่ยนเป็นสีดำ มีอัตราการตาย 50-60% และที่ระดับ PEG 20% พบแคลลัสเป็นสีดำทั้งหมด หลังจากเลี้ยงในอาหารเป็นเวลา 1 เดือน เมื่อเลี้ยงแคลลัสต่อไปในอาหารสูตรเดิมอีก 1 เดือน พบเปอร์เซนต์การตายเพิ่มขึ้น จากนั้นนำแคลลัสที่ผ่านการทดลองด้วยสาร PEG ทุกสูตร ย้ายเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม BA 5 มก./ล. ปราศจากสาร PEG พบแคลลัสที่รอดชีวิตมีการพัฒนาแตกตายอดใหม่จากอาหารสูตรที่เติมสาร PEG ความเข้มข้นตั้งแต่ 5-15% ในขณะที่แคลลัสในอาหารที่เติม PEG 20% ไม่มีการพัฒนา สรุปว่าการใช้ PEG ที่ระดับ 10-15 % มีแนวโน้มคัดเลือกแคลลัสกล้วยหอมทองที่ทนต่อสภาวะขาดน้ำได้ในระดับห้องปฏิบัติการ
References
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์.2562.สถานการณ์ปัจจุบันกล้วยหอมทอง ประจำสัปดาห์ที่1 เดือนพฤษภาคม 2562. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.kbp.ops.moc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1874 (13 กุมภาพันธ์ 2563)
พิชญา ดิลกพัฒนมงคล.2553 ตอบปัญหาเรื่องยาโดยเภสัชกรหน่วยคลังข้อมูลยา.(ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: www.phamacy.mahidol.ac.th/dic (17 กุมภาพันธ์ 2563)
รงรอง หอมหวล, เรวัติ เลิศฤทัยโยธิน รัตนา เอการัมย์ และ ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล. 2553 การคัดเลือกแคลลัสอ้อยทนแล้งโดยใช้สาร Polyethylene glycol ในสภาพปลอดเชื้อ. การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 7 น. 1681-1688.
Adkins, S.W., R. Kunanuvatchaidach and I.D. hGodwin.1995. Somaclonal variation in rice: Drought tolerance and other agronomic characters. Australian J. Bot..43: 201-209.
Cano, E.A., A. Perez., V. Moreno, M. Caro and M. Bolarin.1998. Evaluation of salt tolerance in cultivated and wild tomatospecies through in vitro shoot apex culture. Plant Cell Tiss. and Organ Cult. 53(1): 19-26.
Errabii T, C.. B. Gandonou, H. Essalmani, J. Abrini, M. Idaomar and N. Skali-Senhaji. 2006. Growth, proline and ion accumulation in sugarcane callus cultures under drought-induced osmotic stress and its subsequent relief. African J. Biotechnol. 5: 1488-1493.
Mahmound. R. A., O.S. Hassan, A. Abou-Hashish and A. Aminin. 2017. Role of trehalose during recovery from drought stress in micropropagated banana (Musa spp.) transplants. RJPBCS.8(2): 1339-1345.
Murashige. T and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco cultures. Physiol.Plant.15: 473-497.
Saeedavi. L., A. Soleimani and M.E. Amiri. 2017. Improvement of shoot-tip culture proliferation in banana using PEG6000. Iranian J.Plant Physiol. 7(3): 2105-2111.
Turner, D.W., J.A. Forstescue and D.S. Thomas. 2007. Environmental physiology of the bananas (Musa spp.) Braz. J. Plant Physiol. 19(4): 463-484.
Wagih, M.E., A. Ala and Y. Musa. 2004. Regeneration and evaluation of sugarcane somaclonal variants for drought tolerance. Soc. Sugar Res. Promot. 6(1&2): 35-40.