การใช้ประโยชน์เปลือกปูบดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว

ผู้แต่ง

  • ชัยสิทธิ์ ทองจู ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • เกวลิน ศรีจันทร์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อัญธิชา พรมเมืองคุก ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สิรินภา ช่วงโอภาส ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุชาดา กรุณา ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ศิริสุดา บุตรเพชร ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ชาลินี คงสุด ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ธรรมธวัช แสงงาม ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ธีรยุทธ คล้ำชื่น คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศิวโรจน์ สุวรรณโณ สถานีพัฒนาที่ดินตรัง ต.บ้านควน อ.เมือง จ.ตรัง 92000

คำสำคัญ:

ข้าว, เปลือกปูบด, ผลพลอยได้

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของเปลือกปูบดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และสมบัติบางประการของดิน โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ 8 ตำรับการทดลอง พบว่า การใส่เปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในเปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ มีผลให้ความสูงต้น จำนวนแขนงต่อกอ ค่าความเขียวของใบ จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนักรวมทั้งหมด และน้ำหนักเมล็ดทั้งหมดของข้าวมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในเปลือกปูบดอัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่ และการใส่เปลือกปูบดอัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ การใส่เปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในเปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ มีผลให้น้ำหนักเมล็ดดีของข้าวมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในเปลือกปูบดอัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่ ภายหลังการทดลอง พบว่า การใส่เปลือกปูบดอัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่ มีผลให้ค่า pH ของดินมากที่สุด รองลงมา คือ การใส่เปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในเปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ และการใส่เปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งไม่แตกต่างกับการใส่เปลือกปูบดอัตรา 75 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในเปลือกปูบดอัตรา 75 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ การใส่เปลือกปูบดอัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่ มีผลให้ค่า ECe และปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ของดินมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่เปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในเปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ขณะที่การใส่เปลือกปูบดอัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่ ยังมีผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุ แคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินมากที่สุด รองลงมา คือ การใส่เปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในเปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งไม่แตกต่างกับการใส่เปลือกปูบดอัตรา 150 กิโลกรัม/ไร่

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2558. คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางดิน ระบบโสตทัศนูปกรณ์. คณะเกษตร กำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ชัยสิทธิ์ ทองจู, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, ธนศมณท์ กุลการัณย์เลิศ, ระวิวรรณ โชติพันธ์, ธีรยุทธ คล้ำชื่น และรุจิกร ศรีแม้นม่วง. 2555. ผลของกากน้ำตาลผงชูรส (อามิ-อามิ) ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 30 (1): 99-107.

ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย และธรรมธวัช แสงงาม. 2561. ผลของกากน้ำตาลผงชูรส (อามิ-อามิ) ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 1 (1): 22-29.

ดัชนียา สิมมา, ชัยสิทธิ์ ทองจู, เกวลิน ศรีจันทร์, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, อัญธิชา พรมเมืองคุก, สิรินภา ช่วงโอภาส, สุชาดา กรุณา, ศิริสุดา บุตรเพชร, ชาลินี คงสุด, ธรรมธวัช แสงงาม, ธีรยุทธ คล้ำชื่น และศิวโรจน์ สุวรรณโณ. 2562. การใช้ประโยชน์เปลือกปูบดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 2 (2): 67-78.

ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย ชัยสิทธิ์ ทองจู และจุฑามาศ ร่มแก้ว. 2553. ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับยิปซัมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว, น. 33-42. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 7 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ, นครปฐม.

นฤพน รักขยัน ชัยสิทธิ์ ทองจู ศุภชัย อำคา จุฑามาศ ร่มแก้ว และศิริสุดา บุตรเพชร. 2556. การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือใช้จากโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อเพิ่มผลผลิตของข้าว, น. 100-110. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ, นครปฐม.

ภาณุพรรณ สระกอบแก้ว ชัยสิทธิ์ ทองจู ธงชัย มาลา ศุภชัย อำคา วิภาวรรณ ท้ายเมือง ชาลินี คงสุด ธีรยุทธ คล้ำชื่น ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์ และศิริสุดา บุตรเพชร. 2557. ประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยยูเรียชนิดต่างๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว, 1-10 น. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ, นครปฐม.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2551. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2559-2561. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

Bray, R.H. and N. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. 59: 39-45.

International Rice Research Institute (IRRI). 1996. Measurement of Methane Emissions from Rice

Fields, Principles and Operation of GC Techniques. Soil and Water science Division and Training Center (SWSD), pp. 1-13.

Pratt, P.F. 1965. Potassium. P. 1022-1030. In: C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis. Part II. Amer. Soc. of Agron, Inc. Madison, Wisconsin.

Thongjoo, C., S. Miyagawa, and N. Kawakubo. 2005. Effect of soil moisture and temperature on decomposition rates of some waste materials from agriculture and agro-industry. Plant Prod. Sci. 8(4): 475-481.

Walkley, A. and I.A. Black. 1934. An examination of Degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chronic acid titration method. Soil Sci. 37: 29-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ