การปลูกและการไว้ตอของอ้อยที่ปลูกในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ อรัญญนาค ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • นงลักษณ์ เทียนเสรี ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คัทลียา ฉัตร์เที่ยง ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย, ผลผลิตอ้อย, อ้อยตอ, การไว้ตอ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การปลูกอ้อยและการตัดสินใจไว้ตออ้อยของเกษตรกร ตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี โดยใช้แบบสัมภาษณ์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่และมีประสบการณ์สูงในการปลูกอ้อย เกษตรกรมักจะปลูกอ้อยหลายพันธุ์แต่เกษตรกรเกือบทุกรายปลูกอ้อยขอนแก่น 3 ด้วย และอ้อยพันธุ์ที่เกษตรกรมักจะไว้ตอมากครั้ง คือ พันธุ์ LK92-11 และพันธุ์อู่ทอง เกษตรกรปลูกอ้อยโดยมีการไว้ตอ 3-4 ตอ จึงรื้อแปลงปลูกใหม่ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีจำนวนครั้งของการไว้ตอเท่าเดิมและมีเกษตรกรจำนวนมากที่ไว้ตอได้จำนวนครั้งน้อยลง สาเหตุที่เกษตรกรตัดสินใจรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ เนื่องจากจากดินในแปลงที่ปลูกมานานเริ่มเสื่อมสภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้ผลผลิตของอ้อยตอลดลงมาก ตออ้อยตายหรือตอไม่สมบูรณ์แตกกอน้อย รวมถึงเกษตรกรต้องการเปลี่ยนไปปลูกอ้อยพันธุ์ใหม่

References

จิรวัฒน์ เทิดพิทักษ์พงษ์. 2559. พันธุ์อ้อยที่เหมาะสม. คู่มือการจัดการไร่อ้อยอย่างยั่งยืน. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. หน้า 7-17.

ดาวรุ่ง คงเทียน, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, สมควร คล้องช้าง และ สมฤทัย ตันเจริญ. 2555. การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมเพื่อการผลิตอ้อยในดินเหนียวภาคกลาง. แก่นเกษตร 40 ฉบับพิเศษ 3 : 130-140.

ทักษิณา ศันสยะวิชัย. 2550. ปัจจัยที่มีผลในการไว้ตออ้อยในดินทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นิตยสารพืชพลังงาน 1(10) : 50-54.

ทัตสัณฑ์ชัย ตรีสัตย์ และจำนงค์ จุลเอียด. 2556. สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ และปัญหาการปลูกอ้อยของเกษตรกรในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 5(4) : 28-37.

ไพรัช เล้าสมบุรณ์, สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม และ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. 2562. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกรในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารแก่นเกษตร 47(1) : 577-584.

รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ และ สุรีย์พร ม้ากระโทก. 2555. ผลของการจัดการแปลงอ้อยระยะยาวต่อการกระจายตัวของรากและการให้ผลผลิตอ้อย. วารสารแก่นเกษตร 40(3) : 177-184.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยกับต่างประเทศ ปี 2561. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 157 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2561ก. การผลิตไฟฟ้าและไอน้ำของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย. กลุ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 29 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2561ข. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2560/61. กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 114 หน้า.

อรุณี พรมคำบุตร, อนุชา เหลาเคน และ อนันต์ พลธานี. 2557. การปลูกอ้อยในนา: วิธีการผลิต แรงจูงใจ และผลกระทบ. วารสารแก่นเกษตร 42(2) : 331-338.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ