การประเมินคุณภาพผลและปริมาณวิตามินซีในฝรั่งชนิดรับประทานผลสดเนื้อสีแดง 8 พันธุ์
คำสำคัญ:
ฝรั่ง, การปรับปรุงพันธุ์, สารต้านอนุมูลอิสระ, สารพฤกษเคมีบทคัดย่อ
ข้อมูลคุณภาพผลของฝรั่งรับประทานผลสดสีแดงมีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์ โดยเฉพาะขั้นตอนการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมที่มีคุณภาพผลเพิ่มขึ้น จึงได้ประเมินคุณภาพผลฝรั่งจำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ หงเป่าสือ หงจ้วนสือ แตงโม หงซินปาล่า เฟินหงมี่ ชมพูพันทิพ ไข่มุกแดง และสามสีกรอบ พบว่า น้ำหนักผล น้ำหนักไส้ เปอร์เซ็นต์ปริมาณเนื้อที่รับประทานได้ ความหนาเนื้อ ความแน่นเนื้อ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด และปริมาณวิตามินซี มีความแตกต่างทางสถิติ (P < 0.05) ฝรั่งพันธุ์หงเป่าสือมีปริมาณเนื้อที่สามารถรับประทานได้มากที่สุดถึง 76.87 เปอร์เซ็นต์ ชมพูพันทิพมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้มากที่สุด 13.82 องศาบริกซ์ และเฟินหงมี่มีปริมาณวิตามินซีมากที่สุด 213.05 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (P > 0.05 ) โดยข้อมูลนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเกษตรกรด้วย
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2565. การปลูกฝรั่ง. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา:https://eto.ku.ac.th/neweto/ebook/plant/tree_ fruit/guava.pdf/ (5 ธันวาคม 2565).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2566. สถิติฝรั่ง. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา:https://production.doae.go.th/ (23 มิถุนายน 2566).
ดนัย บุณยเกียรติ. 2556. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพมหานคร. 352 หน้า.
ไพโรจน์ ผลประสิทธ์. 2540. รวมกลยุทธ์ฝรั่ง. เจริญรัฐการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร. 95 หน้า.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2566. มาตรฐานสินค้าเกษตร ฝรั่ง มกษ.16-2553. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา:https://e-book.acfs.go.th/Book view/269 (1 ธันวาคม 2566).
สุพรรณิกา สงวนศิลป์, อุณารุจ บุญประกอบ และเกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์. 2554. กิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระ ฟีนอลิก
ฟลาโวนอยด์ และคุณภาพผลของฝรั่งชนิดรับประทานสด. วิทยาศาสตร์เกษตร 42(31/1) (พิเศษ):579-582.
A.O.A.C. 1990. Official Methods of Analysis. 15th ed. George Banta, Washington, DC.
Cobley, L.S. 1956. Introduction to Botany of Tropical Crops. Longman Group, New York. 357 p.
Hancock, R.D. and R. Viola. 2005. Biosynthesis and catabolism of L-ascorbic acid in plants. Critical Reviews Plant Science 24(3):167-188.
Levine, M., Y.H. Wang, S.J. Padayatty and J. Morrow. 2001. A new recommended dietary allowance of vitamin C for healthy young women. Proceedings of the National Academy of Sciences 98:9842-9846.
Menzel, C.M. 1985. Guava: an exotic fruit with potential in Queensland. Queensland Agricultural Journal 111:93-97.
Thaipong, K. and U. Boonprakob. 2006. Repeatability, optimal sample size of measurement and phenotypic correlations of quantitative traits in guava. Kasetsart Journal 40:11-19.
Youssef, M. and R. Ibrahim. 2016. Molecular makers associated with high vitamin-c content in guava.
Agricultural Chemistry and Biotechnology 7(3):49-45.
