ชนิดของเพลี้ยอ่อน (Hemiptera: Aphididae) กับพืชอาหารและมดที่อยู่ร่วมกัน ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • มณีมัย ชยานนท์กุล ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

เพลี้ยอ่อน, การจำแนก, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการสำรวจเพื่อจำแนกชนิดของเพลี้ยอ่อน พืชอาหารและชนิดมดที่อาศัยอยู่ร่วมกับเพลี้ยอ่อนที่พบในป่าธรรมชาติของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว กำหนดเส้นทางสำรวจแบบ line transect จำนวน 4 เส้นทางตามแนวถนนในพื้นที่ป่าดิบเขาและป่าดิบแล้ง แต่ละเส้นทางสำรวจยาว 1,000 เมตร เก็บตัวอย่างเพลี้ยอ่อน มดและพืชอาหารตลอด 2 ข้างทางสำรวจทุกๆ 3 เดือน ในปี พ.ศ. 2561 เก็บรักษาเพลี้ยอ่อนในน้ำยาดอง (เอทิลแอลกอฮอล์ 75 เปอร์เซ็นต์ + กรดแกลเชียลอะซิติก) และมดในเอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ และชิ้นส่วนของพืชอาหารนำมาทำพรรณไม้แห้ง นำเพลี้ยอ่อนไปทำสไลด์ถาวรเพื่อใช้ในการจำแนกชนิด รวมทั้งจำแนกชนิดของมดและพืชอาหาร จากการศึกษาจำแนกเพลี้ยอ่อนได้ 4 วงศ์ย่อย 13 สกุลและ 19 ชนิด โดยพบในป่าดิบแล้งมากกว่าป่าดิบเขา ส่วนพืชอาหารจำแนกได้ทั้งหมด 26 วงศ์ 32 สกุล 41 ชนิด จัดอยู่ในวงศ์ Annonaceae มากที่สุด เพลี้ยอ่อนชนิด Greenidea formosana พบในพืชอาหารมากที่สุดถึง 7 ชนิด ส่วน Astegopteryx bambusae พบเฉพาะเจาะจงในไผ่ป่าเท่านั้น สำหรับแมลงที่พบอยู่ร่วมกับเพลี้ยอ่อนเป็นมดในวงศ์ Formicidae 6 สกุล 7 ชนิด โดยมดชนิด Dolichoderus thoracicus พบอยู่ร่วมกับเพลี้ยอ่อนหลายชนิดที่สุด งานวิจัยนี้ทำให้ทราบว่าเพลี้ยอ่อนบางชนิดมีการแพร่กระจายกว้างทั้งในพืชทางการเกษตรและป่าไม้ และหลายชนิดพบเฉพาะในป่าธรรมชาติเท่านั้น รวมทั้งพืชอาหารหลายชนิดรายงานเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

References

พัชรินทร์ ครุฑเมือง. 2555. เพลี้ยอ่อนแมลงพาหะนำโรคพืช Transmission of plant virus by aphid vectors, ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

นุชจิรา ไชยวัน, รุจ มรกต และ จริยา รอดดี. 2562. การเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของ แมลงศัตรูเมล่อน. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ส านักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. แก่นเกษตร 47(1): 937-946.

มงคล คำสุข. 2559. พรรณไม้ป่าดิบเขาภูเขียว-น้ำหนาว. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สไตล์ ครีเอทีฟ เฮ้าส์ จำกัด, กรุงเทพมหานคร.

ลักขณา บำรุงศรี, สุนัดดา เชาว์ลิต, ชมัยพร บัวมาศ, อิทธิพล บรรณาการ และ ชฎาภรณ์ เฉลิมวิเชียรพร. 2555. อนุกรมวิธานของเพลี้ยอ่อนวงศ์ย่อย Hormaphidinae Taxonomy of Aphids Subfamily Hormaphidinae. หน้า 1705-1707 ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2555. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.

ลักขณา บํารุงศรี, ศิริณี พูนไชยศรี, ชลิดา อุณหวุฒิ, ยุวรินทร์ บุญทบ, ณัฐวัฒน์ แย้มยิ้ม และ สิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์. 2559. อนุกรมวิธานของเพลี้ยอ่อนวงศ์ย่อย Aphidinae Taxonomy of Aphids Subfamily Aphidinae. หน้า 2076-2086 ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2555. กลุ่มกีฏและสัตววิทยาสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.

วิธุวดี แสงท้าว, ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์, วียะวัฒน์ ใจตรง และ ไสว บูรณพานชพันธุ์. 2561. ชนิดและความสัมพันธ์ของมดที่อาศัยอยู่ร่วมกับเพลี้ยหอยสีเขียวบนต้นกาแฟอะราบิกา ในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารเกษตร 34(3): 469-480

Bänziger, H. 1980. Aphids (Homoptera, Aphidoidea) collected in Thailand (1974-1977). Journal of the Swiss Entomological Society 53:143-150.

Blackman, R.L. and V.F. Eastop. 2000. Aphids on the World’s Crops: An Identification and Information Guide. John Wiley & Sons Ltd. Chichester.

Blackman, R. L. and V. F. Eastop. 2006. Aphids on the World's Herbaceous Plants and Shrubs. Wiley, New York.

Bolton, B. 2007. Taxonomy of the Dolichoderine ant genus Technomyrmex Myar (Hymenoptera: Formicidae) based on the worker caste. Contributions of the American Entomological Institute 35(1): 1-149.

Hutacharern C. and N. Tubtim. 1995. Checklists of Forest Insects in Thailand. Office of Environmental Policy and Planning, Bangkok, Thailand.

Sirikajornjaru W. 2002. Taxonomic study of aphids (Homoptera: Aphididae) in northern Thailand. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy (Biology), Mahidol University, Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ