ผลของการลดปริมาณโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตและการสะสมธาตุอาหารของคะน้าที่ปลูกในทราย
คำสำคัญ:
คะน้าโพแทสเซียมต่ำ, ผู้ป่วยโรคไต, วัสดุทรายบทคัดย่อ
งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมในการลดปริมาณโพแทสเซียมสะสมในคะน้าอยู่ในเกณฑ์แนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตบริโภคได้ โดยการจัดการธาตุโพแทสเซียมลดลงจากอัตราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design) มี 4 ตำรับการทดลองของการใส่ปุ๋ยสูตร N-P-K ที่ต่างกัน จำนวน 5 ซ้ำ ดังนี้ ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ตำรับการทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-8-4 ตำรับการทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-8-6 ตำรับการทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-8-8 ในอัตรา 60 กก.ต่อไร่ ในตำรับการทดลองที่ 2-4 แบ่งใส่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละเท่าๆกัน ปลูกคะน้าในกระถางขนาด 7 นิ้วบรรจุทรายน้ำหนัก 3 กก.เท่าๆกันทุกกระถาง จัดการปุ๋ยธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมในสัดส่วนที่เท่ากันทุกตำรับการทดลอง ส่วนการให้น้ำให้ตามค่าสภาพความชื้นภาคสนาม เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต วิเคราะห์น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมและโซเดียมที่สะสมในต้นคะน้า ผลการทดลองพบว่าการลดปริมาณโพแทสเซียมในตำรับการทดลองที่ 2 ให้ผลผลิตลดลงถึงกว่าร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับตำรับการทดลองที่ 4 ซึ่งเป็นตำรับที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ แต่เมื่อเทียบปริมาณโพแทสเซียมที่สะสมในคะน้า พบว่าตำรับการทดลองที่ 1 และ 2 มีปริมาณการสะสมโพแทสเซียมที่น้อยลงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่ที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตบริโภคได้ (น้อยกว่า 200 มก.ต่อ 100 กรัม นน.สด) สำหรับปริมาณโซเดียมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยตำรับการทดลองที่ 1, 2 และ 3 มีปริมาณการสะสมโซเดียมในคะน้าอยู่ในเกณฑ์ที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตรับประทานได้เช่นกัน (น้อยกว่า 50 มก.ต่อ100 กรัม นน.สด) จากการทดลองสรุปได้ว่าการจัดการปุ๋ยสูตร 12-8-4 ในอัตรา 60 กก.ต่อไร่ ในวัสดุทรายสามารถผลิตคะน้าที่มีปริมาณโพแทสเซียมและโซเดียมต่ำอยู่ในเกณฑ์ที่แนะนำได้
References
กนกพร มานันตพงศ์, ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย, รัฐพล ไกรกลาง, พรทิวา กัญยวงศ์หาและ อนงนาฏ ศรีประโชติ. 2562. การลดปริมาณโพแทสเซียมในผักที่ปลูกด้วยระบบไฮโดรพอนิกส์. วารสารดินและปุ๋ย 41:17-25.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
จันทร์จรัส วีรสาร, อรุณศิริ กำลัง และสุวรรณี เพียรทำดี. 2551. ผลของการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในผักใบเขียวต่อปริมาณโพแทสเซียมในการบริโภค (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.ku.ac.th/emagazine/nov51/agri/agri2.htm. สืบค้นวันที่ 16 สิงหาคม 2562.
ชวลิต รัตนกุล. 2561. อาหารบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนฟอกเลือด (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http:// www.nephrothai.org/images/3.%EA5%E %B8%94.pdf. สืบค้นวันที่ 16 ธันวาคม 2562.
นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. ไม่ปรากฎปีพิมพ์. ผักผลไม้.. ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ในบทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ม.มหิดล คณะเภสัชศาสตร์ แหล่งที่มา: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/141/ผักผลไม้ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2563
ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ภัทรวรรณ รัตนสิริลักษณ์. 2562. การลดปริมาณโพแทสเซียมในผักกวางตุ้งที่ปลูกในชุดดินน้ำพอง. ปัญหาพิเศษ ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเจตกำแพงแสน.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 2563. เผยสถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน . วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/Content/51283-เผยสถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน.htm สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2563
Calforlife. 2020. ฐานข้อมูลพลังงานและสารอาหาร: คะน้า. แหล่งที่มา: https://www.calforlife.com/calories/broccoli-chinese สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2563
Chandrappa, G., A.A. Ahmad., N.V. Hue and T.J.K. Radovich. 2016. A correlation of rapid cardy meter sap test and ICP spectrometry of dry tissue for measuring potassium (K+) concentrations in Pak Choi (Brassica rapa Chinensis group). Commun. Soil. Sci. Plant Anal. 47: 2046-2052.
Hafsi, C., A. Debez, and C. Abdelly. 2014. Potassium deficiency in plants: effects and signaling cascades. Acta Physiologiae Plantarum 36(5): 1055-1070.
Nieves-Cordones M., F.R. Al Shiblawi and H. Sentenac. 2016. Roles and transport of sodium and potassium in plants.291-234 In Sigel A., H. Sigel and R. Sigel (eds) The Alkali Metal Ions: Their Role for Life. Metal Ions in Life Sciences, vol 16. Springer, Chom.
Prajapati, K and H.A. Modi. 2012 The importance of potassium in plant growth – A review. Indian Journal of Plant Sciences 1:177-186.
Römheld, V. and E.A. Kirkby. 2010. Research on potassium in agriculture: needs and prospects. Plant and Soil volume 335:155–180.