การประเมินความผันแปรทางพันธุกรรมของเชื้อรา Sarocladium oryzae สาเหตุโรคกาบใบเน่าสายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยด้วยเครื่องหมาย ISSR

ผู้แต่ง

  • ชนม์นิภา ดีวงษ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วนิดา ธรรมธุระสาร ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
  • จินตนา อันอาตม์งาม ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ข้าว, โรคกาบใบเน่า, Sarocladium oryzae, ISSR

บทคัดย่อ

เชื้อรา Sarocladium oryzae เป็นสาเหตุโรคกาบใบเน่า และโรคเมล็ดด่างของข้าวเป็นโรคที่มีความสำคัญในการผลิตข้าวของประเทศ ซึ่งทำให้ปริมาณ และคุณภาพของผลผลิตข้าวในประเทศลดลง การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมของเชื้อรา S. oryzae สายพันธุ์ ต่าง ๆ ที่ระบาดในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของเชื้อราด้วยเครื่องหมาย inter simple sequence repeat (ISSR) จากการสำรวจ และเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวที่เป็นโรคกาบใบเน่าจากแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สามารถแยกเชื้อจากตัวอย่างที่เก็บจากธรรมชาติได้ 257 ไอโซเลต จากทั้งหมด 186 แปลง ใน 16 จังหวัด และทำการจำแนกชนิดของเชื้อราด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา จากนั้นเลือกตัวแทนเชื้อรา S. oryzae 40 ไอโซเลต จากแหล่งต่าง ๆ มาวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิค ISSR โดยใช้ไพรเมอร์จำนวน 5 ไพรเมอร์ ได้แก่ P7: GTT(TCG)5, (AGG)5, (GTC)5, (GTG)5 และ(CAG)5 วิเคราะห์ และจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA และจำแนกความแตกต่างของจีโนไทป์ พบว่ามีความผันแปรทางพันธุกรรม ในบางพื้นที่พบมากกว่า 1 จีโนไทป์ และมีบางจีโนไทป์พบเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนย้ายประชากรของเชื้อรา S. oryzae จากแหล่งเพาะปลูกข้าวในภูมิภาคที่แตกต่างกันของประเทศไทย เกิดความหลากหลายภายในประชากร แต่มีเชื้อราบางสายพันธุ์ที่มีความจำเพาะต่อพื้นที่ ผลการทดลองนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาการเลือกเชื้อราสาเหตุไปใช้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีความต้านทานต่อโรคกาบใบเน่า

References

กวินธรรพ์ บุบผา เทิดศักดิ์ สวัสดิ์สุข รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ ศิริพร กออินทร์ศักดิ์ และ จินตนา อันอาตม์งาม.

การสำรวจโรคเมล็ดด่างข้าวที่เกิดจาก เชื้อราและการพัฒนาวิธีการประเมินโรคในสภาพโรงเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 47(3): 339-349.

ทิภาพร นวลเนตร. 2561. การศึกษาความต้านทานต่อโรคเมล็ดด่างข้าวที่เกิดจากเชื้อรา Curvularia

lunata. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 161 หน้า.

วนิดา ธรรมธุระสาร 2561. การศึกษาการก่อโรคของเชื้อรา Sarocladium oryzae สาเหตุโรคกาบใบ

เน่า และโรคเมล็ดด่างข้าว และการคัดเลือกแหล่งความต้านทานโรค วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 125 หน้า.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. 2563. สถิติส่งออกข้าว. แหล่งที่มา: http://www.thairiceexporters.or.th,

ตุลาคม 2563.

Ayyadurai N., S. Kirubakaran., S. Srisha, N. Sakthivel (2005). Biological and molecular variability of Sarocladium oryzae, the sheath rot pathogen of rice (Oryza sativa L.). Curr. Microbiol. 50 319–323. 10.1007/s00284-005-4509-6.

Bigirimana Vde, P., Hua, G. K., Nyamangyoku, O. I., & Hofte, M. (2015). Rice Sheath Rot: An

Emerging Ubiquitous Destructive Disease Complex. Front Plant Sci, 6, 1066. doi:10.3389/fpls.2015.01066.

Gams, W. and D.L. Hawksworth. 1975. Identity of Acrocylindrium oryzae Sawada and a similar fungus causing sheath-rot of rice. Kavaka 3: 57-61.

Giraldo, A., J. Gené, D.A. Sutton, H. Madrid, G.S. de Hoog, J. Cano, C. Decock, P.W. Crous and J. Guarro. 2015. Phylogeny of Sarocladium (Hypocreales). Persoonia: Molecular Phylogeny and Evolution of Fungi 34: 10-24.

Lanoiselet, V., M. P. You, Y. P. Li, C. P. Wang, R. G. Shivas and M. J. Barbetti. 2012. First

report of Sarocladium oryzae causing sheath rot on rice (Oryza sativa) in

Western Australia. Plant Disease 96(9): 1382.

Mew, T. W., H. Leung, S. Savary, C. M. Vera Cruz and J. E. Leach. 2004. Looking ahead in

rice disease research and management. Critical Reviews in Plant Sciences 23(2):

-127.

Rohlf, F.J. 1993. NTSYS-pc Numerical Taxonomy and Multivariate Analysis system.Exeter Software, New York. 206 p.

Williams, J.G.K., A.R. Kubelik, K.L. Livak, J.A. Rafalski and S.V. Tingey. 1990. DNA Polymorphism amplified by arbitrary primers are useful as genetic marker. Nucl. Acids Res. 18: 6231- 6235.

Yap, I. and R.J. Neison. 1996. Winboot: A Program for Performing Bootstrap Analysis of Binary Data to Determine the Confidence Limits of UPGMA-Based Dendrograms. IRRI Discussion Paper Series 14. International Rice Research Institute, Manila, Philippines.

Zimand, G., L. Valinsky, Y. Elad, I. Chet and S. Manulis. 1994. Use of the RAPD procedure

for the identification of Trichoderma strains. Mycological Research 98: 531-534.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ