การทดสอบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเชื้อรา Phellinus sp.

ผู้แต่ง

  • พีรดนย์ พักตร์เพียงจันทร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวผลิตภัณฑ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อาร์ม อันอาตม์งาม ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวผลิตภัณฑ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จินตนา อันอาตม์งาม ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

เห็ดกระถินพิมาน, Phellinus sp., สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

บทคัดย่อ

เห็ดกระถินพิมาน (Phellinus sp.) ได้รับการบันทึกไว้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยด้วยสปีชีส์และชื่อสามัญต่างๆ  อย่างไรก็ตาม การจำแนกชนิดของเห็ดสกุลนี้ยังมีความคลุมเคลือดังนั้นจึงทำให้ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเห็ดชนิดนี้ไปใช้เป็นยา หรือการสร้างสารสำคัญทางชีวภาพ  งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสารออกฤทธิ์ต้าน Bacillus subtilis และ Streptococcus aureus ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเห็ด Phellinus sp. ที่สกัดด้วยเอทิลอะซิเตทสามารถยับยั้ง B. subtilis และ S. aureus บางสายพันธุ์ได้   Phellinus linteus สร้างสารยับยั้งได้สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสเตรบโตมัยซิน ที่ 400 ppm  นอกจากนี้การแยกตัวของสารปฏิชีวนะด้วยวิธี HPLC และ bioautography  พบว่าสัดส่วนของ chloroform : methanol : acetic acid : H2O มีค่าการมีขั้วที่ 0.436  โดย Phellinus ทุกสปีชีส์สร้างสารปฏิชีวนะที่มีขั้วต่ำ ด้วยอัตราการเคลื่อนที่ (Rf value) เท่ากับ 0.79 และพบว่า P. noxius ไอโซเลต PKD644 สร้างสารปฏิชีวนะที่แยกเป็น 2 กลุ่มได้อย่างชัดเจน โดยสร้างสารปฏิชีวนะอยู่ระหว่างร้อยละ 7 ถึง 36 จากสารประกอบทางชีวภาพที่แยกได้ จากผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ไอโซเลต PKD644 สร้างสารปฏิชีวนะต่อหน่วยมากที่สุดโดยการแยกด้วยวิธี โครมาโทกราฟีแบบกระดาษชนิด 2 มิติ (2D TLC) และพบว่าเป็นสารออกฤทธิ์เชิงเดี่ยวและสามารถมีปฏิริยาร่วมกันได้

References

กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. 2554. เห็ดเป็นยาเพื่อสุขภาพ

ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน. สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ

ชลดา จัดประกอบ, พรพรรณ เหล่าวชิระสุสรรณ และ เมธิน ผดุงกิจ. 2556. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการก่อ

กลายพันธุ์ของสารสกัดเห็ดหิ้งเกือกม้า. The 5th Annual Northeast Phamacy Research Conference of 2013, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, จังหวัดมหาสารคาม. (ประเทศไทย)

Bell, S. M., B. J. Gatus, J. N. Pham and D. L. Rafferty. 2006. Antibiotic susceptibility testing by the CDS

method. A manual for medical and veterinary laboratories. South Eastern Area Laboratory Services. 112 p.

Blagodatski, A., M. Yatsunskaya, V. Mikhailova, V. Tiasto, A. Kagansky and V.L. Katanaev. 2018.

Medicinal mushrooms as an attractive new source of natural compounds for future cancer therapy. Oncotarget 9(49): 29259-29274.

Jeon, T.I., C.H. Jung, J.Y. Cho, D.K. Park and J.H. Moon. 2013. Identification of an anticancer compound

against HT-29 cells from Phellinus linteus grown on germinated brown rice. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine 3(10): 785-789.

Kim, S.H., J.M. Sung and T. C. Harrington. 1999. Identification of Phellinus linteus by morphological

characteristics and molecular analysis. Korean Journal of Mycology 27:337-340.

Mosmann, T. 1983. Rapid colorimetric assay for cellular growth and survival: Application to proliferation

and cytotoxicity assays. J Immunol Methods. 65(2): 55-63.

Rizzo, D.M., P.T. Gieser and H.H. Burdsall. 2003. Phellinus coronadensis: a new species from southern

Arizona, USA. Mycologia 95(1): 74–79.

Shahverdi, A.R., F. Abdolpour, H.R. Monsef-Esfahani and H. Farsam. 2007. A TLC bioautographic assay for

the detection of nitrofurantoin resistance reversal compound. Journal of Chromatography B 850

(1-2) : 528–530.

Sonawane, H., S. Bhosle, and S. Garad. 2012. Antimicrobial activity of some species of Phellinus and

Ganoderma sample from western Ghats of India. International Journal of Pharmaceutical Sciences and Research 3(6): 1795-1799.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ