ผลของการใช้สารช่วยย่อยชนิดรวมในน้ำดื่มต่อค่าการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในไก่เนื้อ อายุ 3 สัปดาห์

ผู้แต่ง

  • ภัทราพร ภุมรินทร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • เชิดพงษ์ ขีระจิตต์ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ดาวรุ่ง ศิลาอ่อน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ไก่เนื้อ, สารช่วยย่อยและค่าการใช้ประโยชน์ได้

บทคัดย่อ

การทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารช่วยย่อย (เซลลูเลส 250,000 ยูนิต ไซลาเนส 200,000 ยูนิต เบต้า-กลูคาเนส 100,000 ยูนิต โพรทีเอส 500,000 ยูนิต อะไมเลส 500,000 ยูนิต และสารเสริมชีวนะ ได้แก่ บาซิลลัส ซับทิลิส 1.0x1011ซี.เอฟ.ยู/กรัม บาซิลลัส ไลเคนิเฟอร์มิส 1.0x1011ซี.เอฟ.ยู/กรัม) เสริมในน้ำดื่มที่ระดับต่างๆ ต่อการย่อยได้ของโภชนะไก่เนื้อคละเพศสายพันธุ์ Ross 308® อายุ 14 วันจำนวน 80 ตัวจัดเป็น 4 กลุ่มการทดลองกลุ่มละ 5 ซ้ำๆ ละ 4 ตัว/กรงโดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมโดยไม่เสริมสารช่วยย่อยกลุ่มที่ 2 เสริมสารช่วยย่อยที่ระดับ 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร กลุ่มที่ 3 เสริมสารช่วยย่อยที่ระดับ 2,000 มิลลิกรัม/ลิตร และกลุ่มที่ 4 เสริมสารช่วยย่อยที่ระดับ 5,000 มิลลิกรัม/ลิตร ทำการปรับสภาพสัตว์ทดลอง 3 วันและเก็บเป็นเวลา 5 วัน จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่เสริมสารช่วยย่อยทั้ง 4 ระดับ ส่งผลต่อค่าการใช้ประโยชน์ได้แบบปรากฎของโปรตีน สิ่งแห้ง เยื่อใยหยาบ และฟอสฟอรัส ไม่แตกต่างกัน (P>0.05)

References

กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจการปศุสัตว์ 2563. ใน รายงานสถานการณ์การผลิต และการตลาดไก่เนื้อ ประจำเดือน มิถุนายน 2563 กรมปสุสัตว์.

เกศรา อำพาภรณ์, เฉลิมพล เยื้องกลาง, ไกรสิทธิ วสุเพ็ญ, เสมอใจ บุรีนอก และ ทันสมัย วรพิมพ์.2555. ผลของเอนไซม์

ย่อยเยื่อใยต่อประสิทธิภาพการผลิตและการย่อยได้ของไก่เนื้อ. แก่นเกษตร 40(2) : 236-238

เยาวมาลย์ ค้าเจริญ. 2546. ภาพรวมและแนวโน้มในอนาคตในการเลือกใช้วัตถุที่เติมในอาหาร ใน หนังสือที่ระลึกงานแสดงมุทิตาจิต เนื่องในวาระเกษีญณอายุราชการ รศ.ดร. เยาวมาลย์ ค้าเจริญ. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยาขอนแก่น.

วรรณพร ทะพิงค์แก. 2557.ทางเลือกในการทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตสำหรับปศุสัตว์. วารสารเกษตร 30(2): 201 – 212.

สาโรช ค้าเจริญ. 2547. อาหารและการให้อาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยาขอนแก่น.

AOAC. 1995. Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical Chemistry. 16th Ed, AOAC International, Washington, USA.,

Collington, G.K., D.S. Parker and D.G. Armstrong. 1990. The influence of inclusion of either an antibiotic or a probiotic in the diet on the development of digestive enzyme activity in the pig. British Journal of Nutrition, 64: 59–70

Karimi Torshizi, M.A. A. R., Moghaddam, Sh. Rahimi And N. Mojgani. 2010. Assessing the effect of administering probiotics in water or as a feed supplement on broiler performance and immune response, British Poultry Science 51 (2): 178 — 184.

Pourreza , J., A.H. Samie and E. Rowghani 2007. Effect of supplemental enzyme on nutrient digestibility and performance of broiler chicks fed on diets containing triticale. International Journal of Poultry Science 6 (2): 115-117.

Rutherfurd, S. M., T. K. Chung and P. J. Moughan. 2007.The effect of a commercial enzyme preparation on apparent metabolizable energy, the true ileal amino acid digestibility and endogenous ileal lysine losses in broiler chickens. Poultry Science, 86: 665–672.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ