การจัดการปุ๋ยโพแทสเซียมสำหรับการผลิตข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยามในดินที่มีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้สูง

ผู้แต่ง

  • วิภาวรรณ ท้ายเมือง ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พรลัดดา น้อยห่วง ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ปุ๋ยโพแทสเซียม, ข้าวโพดหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมที่ระยะเวลาต่างๆ กันต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยามที่ปลูกในดินที่มีโพแทเสซียมที่แลกเปลี่ยนได้สูง โดยใช้ชุดดินกำแพงแสนเป็นดินทดสอบ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล๊อก (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ตำรับการทดลองประกอบด้วยตำรับควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม) และตำรับที่ใส่ปุ๋ยอัตรา 5 กิโลกรัม K2O/ไร่ มี 4 ตำรับ คือ เมื่อข้าวโพดอายุ 15, 25, 35 และ 45 วันหลังปลูก ผลการทดลอง พบว่า ความสูงของต้นข้าวโพดไม่มีความแตกต่างกันที่อายุ 30 และ 60 วัน  การไม่ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมหรือใส่ปุ๋ยโพแทสซียมอัตรา 5 กิโลกรัม K2O/ไร่ ที่เวลาต่าง ๆ ไม่มีผลต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต โดยผลผลิตน้ำหนักสดทั้งเปลือก 323-353 กรัม/ฝัก (2,756-3,012 กิโลกรัม/ไร่) เส้นผ่านศูนย์กลางฝักปอกเปลือก 4.61-4.87 เซนติเมตร/ฝัก ความยาวฝักปอกเปลือก 18.3-18.8 เซนติเมตร และความหวาน 17.2-18.0 องศาบริกซ์ มีน้ำหนักต้นสด 0.43-0.52 กิโลกรัม/ต้น และมีธาตุอาหารสะสมโดยน้ำหนักแห้งโดยมีไนโตรเจน 1.37-2.55% ฟอสฟอรัส 0.18-0.25% และโพแทสเซียม 2.34-2.61% การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในดินที่มีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้สูง ระยะเวลาต่าง ๆ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตข้าวโพดหวานแดงราชินีทับทิมสยาม

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการลำดับที่ 001/2553, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. 2564. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับพืชไร่เศรษฐกิจ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชูชาติ สันธทรัพย์. 2553. การจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพันธุ์ข้าวโพดอาหารเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ภาคเหนือ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการ การวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประภัสสร เจริญไทย และชูชาติ สันธทรัพย์. 2561. ผลของปุ๋ยโพแทสเซียมต่อคุณภาพและผลผลิตข้าวโพดหวานที่ปลูกในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง. วารสารเกษตร 34(1): 29-40

ฝ่ายปุ๋ยเคมี. 2564. สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (https://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH) (17 มีนาคม 2565)

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ

ราเชนทร์ ถิรพร. 2539. ข้าวโพด. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. ตารางแสดงรายละเอียดข้าวโพดหวาน: เนื้อที่เพาะปลูก เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ระดับประเทศ ภาค และจังหวัด ปี 2563. (https://www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดข้าวโพดหวาน/TH-TH) (วันที่ 24 มีนาคม 2565)

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (https://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH) (วันที่ 17 มีนาคม 2565)

Botha, P and P, Imvula. 2019. Fertilizer requirements for optimal maize production.https://www.grainsa.co.za/fertiliser-requirements-for-optimal-maize-production (วันที่ 30 มีนาคม 2565)

Bray R.H. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science 59: 39-45.

Hart, J.M., D.M. Sullivan, J.R. Myers, and R.E. Peachey. 2010. Sweet corn; nutrient management guide. Extension Service, Oregon State University.

Havlin, J.L., S.L. Tisdale, J.D. Beaton and W.L. Nelson. 2005. Soil fertility and fertilizers: an introduction to nutrient management. 7th ed. Pearson/Prentice-Hall, Upper Saddle River, New Jersey.

Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Dept. of Land Development, Min. of Agri. and Coop., Bangkok.

Sawyer, J. 2000. Potassium deficiency symptoms in corn. Iowa State University Extension and Outreach. https://crops.extension.iastate.edu/encyclopedia/potassium-deficiency-symptoms-corn (วันที่ 26 มีนาคม 2565)

Thomas, G.W. 1982. Exchangeable cations, pp. 159-165. In A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney, eds. Methods of Soil Analysis: Part 2 Chemical and Microbiological Properties, 2nd eds. American Society of Agronomy–Soil Science Society of America, Madison, USA.

Walkley, A. and I.A. Black. 1934. An examination of the Degtjareff method, for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science 37: 29–38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ