การส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ผลิตส้มโอ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ธนาภิวัฒน์ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จรรยา สิงห์คำ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน, อำเภอนครชัยศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) ความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (3) ความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และ (4)ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ ในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2564 จำนวน 205 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.81 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกส้มโอ เฉลี่ย 8.76 ปี มีแรงงานในการผลิตส้มโอ เฉลี่ย 2.03 คน พื้นที่การปลูกส้มโอ เฉลี่ย 4.49 ไร่/ราย มีรายได้จากการปลูกส้มโอต่อปีเฉลี่ย 225,712.50 บาท (2) เกษตรกรมีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานเรื่องการใช้สารธรรมชาติมากที่สุด และขาดความรู้เรื่องการใช้วิธีฟิสิกส์มากที่สุด เกษตรกรมีการปฏิบัติการใช้วิธีเขตกรรมมากที่สุด และการใช้วิธีฟิสิกส์น้อยที่สุด (3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนมากที่สุด (4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ควรลงไปติดตามแปลงปลูกส้มโอ และจัดกิจกรรมให้มีการสำรวจแปลงเพื่อศึกษาโรคและแมลง 

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2562. ส้มโอ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.agriinfo.doae.go.th/year63/plant/rortor/fruit/pomelo (20 เมษายน 2565).

กรมวิชาการเกษตร. 2558. การบริหารศัตรูส้มโอแบบผสมผสาน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=906 (20 เมษายน 2565).

กรมวิชาการเกษตร. 2565. กรมวิชาการเกษตร ลุ้น 15 ปี ส้มโอไทยได้ผงาดลุยตลาดอเมริกา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/th/?p=36137 (20 เมษายน 2565).

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. 2560. รอบรู้เศรษฐกิจ ตามติดตลาดโลก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.ditp.go.th/ contents_attach/160401/160401.pdf (20 เมษายน 2565).

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2548. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ipthailand.go.th/th/gi-011/item/02-สช-48100002-ส้มโอนครชัยศรี-2.html (20 เมษายน 2565).

จีรนันท์ ตันหล้า. 2562. การส่งเสริมการจัดการศัตรูส้มเขียวหวานโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 111 หน้า.

วาสนา พลายสา. 2559. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 102 หน้า.

สุนทร วันหมื่น. 2562. การส่งเสริมการจัดการศัตรูด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 106 หน้า.

สุภาวดี บัวเพ็ง. 2562. การยอมรับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 132 หน้า.

สำนักงานเกษตรอำเภอนครชัยศรี. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรอำเภอนครชัยศรี 5 ปี (2561-2565 ฉบับทบทวน) นครปฐม.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ