การปรับตัวของเกษตรกรต่อปัญหาอุทกภัย กรณีศึกษา พื้นที่ตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ษฬาร พานิชเจริญนาม ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ปัญหาอุทกภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรที่เกี่ยวกับปัญหาอุทกภัย 2) สาเหตุและผลกระทบของปัญหาอุทกภัย และ 3) การปรับตัวของเกษตรกรต่อปัญหาอุทกภัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรในเขตพื้นที่ตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักของปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ คือ สภาพภูมิประเทศของที่อยู่อาศัยและสภาพพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ต่ำ ทำให้ประสบกับปัญหาอุทกภัย โดยเกษตรกรได้รับผลกระทบในเรื่องของสินค้าเกษตรและผลผลิตได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ผลการศึกษาแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนการเกิดอุทกภัย คือ การป้องกันทรัพย์สินของมีค่า 2) การปรับตัวของเกษตรกรระหว่างการเกิดอุทกภัย คือ การย้ายที่อยู่อาศัยชั่วคราว และ 3) การปรับตัวหลังการเกิดภัย คือ การจัดการดูแลบ้านและพื้นที่ทำการเกษตร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ