การประเมินความทนร้อนของพริกกะเหรี่ยงโดยวิธี Membrane Thermal Stabilit

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ สุขเจริญ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วิมลสิริ ฟื้นชมภู ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อัญมณี อาวุชานนท์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

Membrane thermal stability, การประเมินพันธุ์, อุณหภูมิสูง

บทคัดย่อ

การประเมินความทนร้อนของพริกกะเหรี่ยงโดยการปลูกทดสอบต้องใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง การทดลองนี้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของเทคนิค Membrane Thermal Stability (MTS) เพื่อประเมินความทนร้อนของพริกกะเหรี่ยง 33 สายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ CRD ปลูกพริกกะเหรี่ยงในกระถางขนาด 10 นิ้ว โดยมีวัสดุปลูก คือ ดินร่วน ขุยมะพร้าว แกลบ และ ปุ๋ยคอก (1:1:1:1) เมื่อต้นพริกมีอายุครบ 2 เดือนหลังย้ายกล้า ย้ายต้นพริกไปไว้ในโรงเรือนอุณหภูมิปกติ (36.0/24.7±2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยกลางวัน/กลางคืน) และในโรงเรือนอุณหภูมิสูง (42.0/26.0±2 องศาเซลเซียส) ประเมินความทนทานต่ออุณหภูมิสูงในสัปดาห์ที่ 16 หลังจากย้ายกล้า โดยการให้คะแนน 1-4 จากอ่อนแอถึงทนทาน และประเมินค่าเปอร์เซ็นต์ MTS ที่อุณหภูมิ 50 และ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที จากคะแนนความทนร้อนสามารถแยกพริกกะเหรี่ยงเป็น  4 กลุ่ม คือ กลุ่มทนทาน (14 สายพันธุ์) กลุ่มค่อนข้างทนทาน (14 สายพันธุ์) กลุ่มค่อนข้างอ่อนแอ (3 สายพันธุ์) และกลุ่มอ่อนแอ (2 สายพันธุ์) และพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด (R-square) ระหว่างคะแนนความทนร้อนและค่าเปอร์เซ็นต์ MTS ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที มีค่าเท่ากับ 0.6741 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันสูง จึงสามารถใช้ประเมินความทนร้อนของพริกกะเหรี่ยงได้

References

กิตติราช ทองทิพย์. 2554. การประเมินความทนทานต่ออุณหภูมิสูงของฟักทองโดยวิธี Cell Membrane Thermostability.ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

น.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2552. การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต. ศูนย์ภูมิอากาศกองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา. 129 น.

จานุลักษณ์ ขนบดี, กนกกาญจน์ รักษาศักดิ์ และ สาวิตร มีจุ้ย. 2557. เสถียรภาพผลผลิตของพันธุ์พริกกะเหรี่ยงพันธุ์คีรีราษฎร์. วารสารแก่นเกษตร 42(3): 725-729.

จานุลักษณ์ ขนบดี, สาวิตรี มีจุ้ย และ จินันทนา จอมดวง. 2559. คู่มือการปลูกพริกกะเหรี่ยงแบบปลอดภัย.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพมหานคร. 32 น.

ช่อแก้ว อนิลบล. 2562. การตอบสนองของสารประกอบฟีนอลในพืชภายใต้สภาวะแล้ง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37(4): 729-734.

ธำรงค์ เครือชุมพล. 2552. พริก. เกษตรสยามบุ๊คส์, กรุงเทพมหานคร. 120 น.

พัชราภรณ์ โรจนวรวัฒน์. 2564. ข้อมูลทรัพยากร : ข้อมูลปริมาณและมูลค่า การส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุม (รายชนิด). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://data.go.th/dataset/exportplantitem (19 ธันวาคม 2565)

มนนภา เทพสุด. 2562. ภาวะโลกร้อน: ผลลัพท์เชิงลบในโลกยุคอุตสาหกรรม, น. 1-10. ใน: รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.

วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ. 2558. วิจัยและพัฒนาพริก. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพมหานคร. 88 น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2556. พริกกะเหรี่ยง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : https://web2012.hrdi.or.th/media/detail/1865/การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์พริกกะเหรี่ยง/ (21 ตุลาคม 2563)

สมพร อิศวิลานนท์. 2560. อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทย:สถานภาพและความท้าทาย. การบรรยายพิเศษ น.45-51 ใน:การประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

วิทยาเขตชุมพร, ชุมพร.

Agarie, S., N. Hanaoka, F. Kubota, W. Agata and P. B. Kaufman. 1995. Measurement of cell membrane stability evaluated by electrolyte leakage as a drought and heat tolerance test in rice (Oryza sativa L.). Journal-Faculty of Agriculture Kyushu University 40(2): 233-240.

Anderson, J., G. McCollum and W. Roberts. 1990. High temperature acclimation in pepper leaves. HortScience 25(10): 1272–1274.

Erickson, A.N. and A.H. Markhart. 2002. Flower developmental stage and organ sensitivity of bell pepper (Capsicum annuum L.) to elevated temperature. Plant , Cell and Environment 25(1): 123–130.

Gajanayake, B., B.W. Trader, K.R. Reddy and R.L. Harkess. 2011. Screening ornamental pepper cultivars for temperature tolerance using pollen and physiological parameters. HortScience 46(6): 878-884.

Ibrahim, A. M. H. and J. S. Quick. 2001. Genetic control of high temperature tolerance in wheat as measured by membrane thermal stability. Crop Science 41(5): 1405-1407.

Pagamas, P. and E. Nawata. 2007. Effect of high temperature during the seed development on quality and chemical composition of chili pepper seed. Japanese Journal of Tropical Agriculture 51(1): 22-29.

Usman, M.G., M.Y. Rafil, M.R. Ismail, M.A. Marek and M.A. Latif. 2015. Expression of target gene Hsp70 and membrane stability determine heat tolerance in chili pepper. Journal of the American Society for Horticultural Science 140(2): 144-150.

Wilhelm, E.P., Mullen, R.E., Keeling, P.L. and G.W. Singletary. 1999. Heat stress during grain filling in maize : effect on kernel growth and metabolism. Crop Science 39: 1733-1741.

WMO. 2020. State of the Global Climate 2020 Provisional Report. World Meteorological Organization, Geneva, 38 p.

Yeh, D.M. and H.F. Lin. 2003. Thermostability of cell membranes as a measure of heat tolerance and relationship to flowering delay in chrysanthemum. Journal of the American Society for Horticultural Science 128(5): 656-600.

Yildirim, M., B. Bahar, M. Koc and C. Barutcular. 2009. Membrane thermal stability at different developmental stages of spring wheat genotypes and their diallel cross populations. Tarim Bilimleri Dergisi 15(4):293-300.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ