ผลของการฉีดพ่นสารลดแรงตึงผิวประเภทเวตโคตติงซิลิโคนและสารลดแรงตึงผิวประเภท N70 ต่อประสิทธิภาพการให้ปุ๋ยทางใบของฝรั่งพันธุ์หวานพิรุณ

ผู้แต่ง

  • ธรรมธวัช แสงงาม ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ใยไหม ช่วยหนู ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อาณัติ เฮงเจริญ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ศิริสุดา บุตรเพชร ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

สารลดแรงตึงผิว, การให้ปุ๋ยทางใบ, ฝรั่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิวร่วมกับการให้ปุ๋ยทางใบของฝรั่งพันธุ์หวานพิรุณ โดยทำการทดสอบสารลดแรงตึงผิว 2 ชนิดคือ สารลดแรงตึงผิวประเภทเวตโคตติงซิลิโคน (S1) และสารลดแรงตึงผิวประเภทN70 (S2) วางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ จากผลการทดลองพบว่า สารลดแรงตึงผิว S1 มีค่าแรงตึงผิว 51.08 ดายน์ต่อเซนติเมตร ซึ่งมีค่าต่ำกว่าสารลดแรงตึงผิว S2 มีค่า 68.39 ดายน์ต่อซม. แสดงถึงประสิทธิภาพในการจับผิวใบได้ดี ส่วนลักษณะของหยดที่เกิดบนผิวใบพืชแต่ละชนิด พบว่า สารลดแรงตึงผิวS1 มีการแผ่กระจายตัวให้พื้นที่ทีมากกว่าน้ำและสารลดแรงตึงผิว S2 และในการการฉีดพ่นปุ๋ยแคลเซียมไนเทรตทางใบร่วมกับสารลดแรงตึงผิวในใบฝรั่งพบว่า ในใบฝรั่งที่ฉีดพ่นสารลดแรงตึงผิวกลุ่มเวตโคตติงซิลิโคน ให้การสะสมแคลเซียมสูงที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 20,709 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

References

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 66 หน้า.

ธีรศักดิ์ ชนิดนอก, พีระยศ แข็งขัน และ ฤชุอร วรรณะ. 2557. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบยูคาลิปตัส (Eucalyptus camaladulesis Dehnh) ต่อการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง (Phenacoccus manihoti Matile- Ferrero). วารสารแก่นเกษตร 42 ฉบับพิเศษ 1 : 505-511.

ประดับ เรียนประยูร และวรรธนะชัย ปฐมสิริวงศ์. 2563. คู่มือการผลิตสารจับใบพืชทางชีวภาพสำหรับการเกษตร. พิมพ์ ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์. 56 หน้า.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2546. ธาตุอาหารพืช (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า

ยงยุทธ โอสถสภา. 2549. การให้ปุ๋ยทางใบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 164 หน้า

วาสนา ยอดปรางค์. 2553. ผลของการให้ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุทางใบในรูปของคีเลต กรดอะมิโน ต่อการดูดใช้ธาตุ อาหารการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชา เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา. 72 หน้า

สุรัสวดี กังสนันท์. 2563. สารลดแรงตึงผิว. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์เทคโนโลยีการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 176 หน้า

อารีรัตน์ พยุงธรรม, วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ และบุญมี ศิริ. 2555. การให้ปุ๋ยอะมิโนคีเลตทางใบต่อการเจริญเติบโต และ คุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 156 หน้า

Chinmaya, K.S. 2020. Surface and Interfacial Phenomenon. Butterworths, London. 32 p.

Howard, D. D. and C.O. Gwathmey. 2008. Influence of surfactants on potassium uptake and yield response of cotton to foliar potassium nitrate. Journal of Plant Nutrition 18(12):2669-2680

Jones, B.J., Jr., B. Wolf, and H.A. Mill. 1991. Plant Analysis Handbook. Micro-Macro Publishing Inc, Georgia. 560 p.

Peirce, C. A. E., T. M. McBeath, C. Ptiest and M.J. McLaughin. 2019. The timing of application and inclusion of a surfactant are important for absorption and translocation of foliar phosphoric acid by wheat leaves. Journal of Plant Nutrition 10(1):1-11.

Swietlik, D. and M. Faust. 1984. Foliar nutrition of fruit crops. Horticultural reviews (USA). 6:287-355.

Torres, G. M. 2008. Foliar Phosphorus Fertilization and the Effect of Surfactants on Winter Wheat (Triticum aestivum L.). Bachelor of Science in Agronomy Faculdades de Ciencias Agronomicas Botucatu, Sao Paulo, Brazil. 66 p.

Trinchera, A. and B. Valentina. 2018. Use of a non-ionic water surfactant in lettuce fertigation for optimizing water use, improving nutrient use efficiency, and increasing crop quality. Water 10(5):1-15.

William S., J. Conway, B. George and A. E. Watada. 1996. Surfactants affect calcium uptake from postharvest treatment of ‘Golden Delicious’ apples. Journal of the American Society for Horticultural Science 121(6):1179–1184.

Xing-Zheng, F., F. Xing, L. Cao, C-P Chun, L-L. Ling, C-L. Jiang and L-Z. Peng. 2016. Effects of foliar application of various zinc fertilizers with organosilicone on correcting citrus zinc deficiency. Hort Science 51(4):422–426.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ